SEO

การทำ SEO (Search Engine Optimisation) คืออะไร และทำอย่างไร

Fast To Read

การทำSEO คืออะไร

SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimisation ซึ่งหมายถึงการใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มอันดับของเว็บไซต์ในเสริชเอนจิ้น (Google) หรือที่เราชอบเรียกกันว่าทำให้เว็บไซต์ขึ้นหน้าแรกของ Google และเพื่อที่จะเพิ่ม Organic Traffic ของเว็บไซต์ทั้งในส่วนของคุณภาพของ traffic และปริมาณของ traffic เว็บไซต์ของเราจะเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น 

การทำ SEO นั้นก็สามารถทำผ่านเทคนิคและวิธีการต่างๆ หลากหลายรูปแบบ ในภาพรวมสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้คือ

On-page SEO – คือการปรับปรุงเนื้อหาและการปรับเปลี่ยนในรูปแบบอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจำกัดภายในตัวเว็บไซต์ ทั้งหมดเพื่อเป้าหมายคือให้ Google สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น

Off-page SEO – คือการทำให้เว็บไซต์ของเราถูกอ้างอิงถึง และเป็นที่รู้จักมากขึ้นในโลกออนไลน์ โดยมากอาจเน้นการสร้างลิงก์ (Link Building) ที่มีคุณภาพกลับมาเว็บไซต์ของเรา โดยเว็บไซต์ต้นทางที่เราไปสร้างลิงก์กลับมาหาเว็บไซต์ของเราควรเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพเช่นกัน การสร้างลิงก์จึงจะได้ผลที่ดี

Technical SEO – การออกแบบหรือปรับแต่งเว็บไซต์ให้ Google เข้าถึงและเข้าใจเนื้อหาบนเว็บไซต์ของเราได้ดีขึ้น เป็นเว็บไซต์เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน เช่นมีการโหลดที่เร็ว เป็นต้น

การวางกลยุทธ์ SEO (SEO Strategy)

ก่อนที่จะเริ่มใช้เทคนิคต่างๆ ในการทำ SEO นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดอันดับแรกที่เราต้องทำก็คือ การตั้งเป้าหมายทางธุรกิจ (business goal) ของเว็บไซต์ที่เราจะทำให้ 

ตัวอย่างเช่น หากคุณมีธุรกิจโรงแรมเล็กๆ ริมหาด บนเกาะสมุย เป้าหมายทางธุรกิจของคุณก็อาจจะเป็น การหาลูกค้ามาพักที่โรงแรมของคุณผ่านการจองทางเว็บไซต์ หากคุณมีเว็บ ecommerce เป้าหมายของคุณก็อาจจะเป็นการขายสินค้าบนเว็บไซต์ให้ได้ปริมาณที่เพิ่มขึ้น

เมื่อรู้เป้าหมายของธุรกิจแล้ว ก็มาดูที่เป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจต่อว่าตอนนี้เป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจเรามีอะไรบ้าง อาจจะเป็นการสร้าง brand awareness การพยายามดึงคนให้เข้ามาเจอเว็บไซต์ของคุณเยอะๆ หรือพยายามดึงดูดกลุ่มคนใช้อินเตอร์เน็ตที่พร้อมที่จะซื้อสินค้าหรือบริการแล้ว

เมื่อเรารู้เป้าหมายหลักและเป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจแล้ว เราจึงจะสามารถเริ่มต้นวางแผนและตั้งเป้าหมายย่อยอื่นๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นในการวางแผนการทำ SEO ของเราได้อย่างเหมาะสม เช่น

    • ทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับให้กับกลุ่ม keywords ยาวๆ ที่อาจมีคนเสริชไม่เยอะ แต่คนที่เสริชคำเหล่านี้พร้อมที่จะซื้อสินค้าและบริการอยู่แล้ว เมื่อพูดถึงการเลือก keywords ในการทำ SEO หลายๆคนยังคงยึดติดกับความเชื่อว่าต้องเลือก keywords หลักๆที่มีคนเสริชเยอะๆ ทั้งๆที่การเลือกเช่นนั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณเลยก็เป็นไปได้หากเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ใหม่ที่ไม่เคยผ่านการทำ SEO มาก่อน และคู่แข่งสำหรับ keywords หลักๆสั้นๆเหล่านั้นเป็นคู่แข่งที่มีเว็บไซต์ที่มี Domain Authority สูง โอกาสที่เว็บคุณจะขึ้นไปติดอันดับนำเว็บเหล่านี้ก็จะยากขึ้น ดังนั้น บางครั้งการเลือก keywords ยาวๆที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ และคุณมีโอกาสขึ้นหน้าแรกได้ภายในเวลาไม่นานนักจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
    • ทำให้คนเข้ามาที่เว็บไซต์มากขึ้นผ่านกลุ่ม keywords ที่อาจไม่ใช่ keywords ที่เป็นการขายสินค้าหรือบริการของเราโดยตรง (เป็นการใช้ประโยชน์จากกลุ่มคำที่มีคนเสริชหาข้อมูลเหล่านี้เยอะ เพื่อให้มีปริมาณคนเข้าเว็บไซต์เรามากขึ้น)
    • สร้างเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้มีคุณภาพสูง เพื่อที่เราจะได้ติดอันดับที่สูงขึ้นใน Google ผ่านเนื้อหานั้นๆ และเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของเรา ผลพลอยได้ก็คือเว็บไซต์อื่นๆ อาจจะเล็งเห็นว่าเนื้อหาของเรานั้นมีประโยชน์ และอ้างอิงกลับมาหาเว็บไซต์ของเรา

เมื่อเราได้สร้างเป้าหมายทาง SEO แล้ว อีกสิ่งนึงที่สำคัญในการทำ SEO คือเราต้องรู้ว่า SEO ทำอะไรได้บ้าง และมีอะไรที่ SEO ไม่สามารถทำได้บ้าง 

ตัวอย่างของสิ่งที่ SEO ไม่สามารถทำได้ก็เช่น

    • เห็นผลทันทีทันใจ การทำ SEO นั้นคือการการลงทุนระยะยาว อย่างน้อยที่สุดก็ 3-6 เดือนถึงจะเห็นผลพอที่จะประเมินและปรับแผน SEO ใหม่ได้ บางกลุ่มธุรกิจที่มีคู่แข่งเยอะอาจจะต้องใช้เวลายาวนานถึง 24 เดือนเลยด้วย ดังนั้นหากคุณเป็นธุรกิจที่ต้องการลูกค้าทันทีการลงทุนใน SEO อย่างเดียวอาจจะไม่เหมาะกับคุณ คุณอาจจะต้องทำ Google Ads หรือ Social Media ads ควบคู่ไปด้วย ระหว่างที่ทำ SEO เพื่อที่ธุรกิจของคุณสามารถเริ่มสร้างรายได้ได้ทันที
    • เพิ่มความต้องการของคำเสริชต่างๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณให้มีคนเสริชคำเหล่านั้นมากขึ้น การทำ SEO คือการทำงานให้สอดคล้องกับ trends จริงที่เกิดขึ้น เราทำงานกับข้อมูลการเสริชที่เกิดขึ้นจริงจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต
    • ทำให้เกิดการซื้อขายโดยตรง การทำ SEO จะเห็นผลในขั้นต้นก็คือเห็นอันดับที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ Organic Traffic สูงขึ้น มีคนเข้าเว็บไซต์มากขึ้น แต่ไม่ได้เป็นผลโดยตรงให้เกิดการซื้อขายแบบทันทีทันใจ

แล้วอะไรคือสิ่งที่ SEO สามารถทำให้เกิดขึ้นได้บ้าง?

    • SEO สามารถดึงดูดคนที่กำลังเสริชหาข้อมูล สินค้า หรือบริการที่คุณมีอยู่บนเว็บไซต์ของให้มาเจอเว็บไซต์ของคุณได้
    • ควบคุมการแสดงผลของเว็บไซต์ของคุณบน Search Engine อย่าง Google ได้ ลองดูตัวอย่างด้านล่างนี้ ทุกคนคงคุ้นเคยดี เพราะเวลาเสริชหาข้อมูลอะไรในกูเกิลก็จะเจอช่องรูปร่างหน้าตาประมาณนี้ที่ประกอบด้วยไปด้วยแถวที่เป็น Title แถวที่เป็น URL และแถวที่เรียก Meta เหล่านี้คือสิ่งที่ SEO สามารถช่วยควบคุมการแสดงผลได

 

seo-serp-results
หน้าตาของ search results ซึ่งเอเจนซี่ SEO จะช่วยคุณปรับปรุงในส่วนนี้ได้

หากคุณเป็นเว็บไซต์ที่ไม่เคยทำ SEO มาเลย จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเริ่มทำ SEO

โดยทั่วไปหากเป็นเว็บไซต์ใหม่ที่ไม่เคยทำ SEO มาเลย ภายใน 3-6 เดือนแรก อาจสามารถที่จะติดอันดับใน Google ให้ keywords ที่เรียกว่ากลุ่ม long-tailed keywords ได้ จากนั้นระยะเวลา 6-9 เดือน อาจสามารถที่จะติดอันดับให้ keywords หลักๆ บางคำ หลังจาก 12 เดือนขึ้นไปจะเริ่มสามารถติดอันดับให้กับ keywords ที่มีคู่แข่งสูงได้มากขึ้น

เมื่อเข้าใจธรรมชาติของ SEO ในเบื้องต้นแล้ว สิ่งที่เราต้องทำในขั้นต่อไปคือ การคัดเลือกคีย์เวิร์ด (Keyword Research) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา 

Keyword Research คืออะไร

การคัดเลือกคีย์เวิร์ด (Keyword Research) เป็นการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อเข้าถึงข้อมูลการเสริชจริงของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบน Google แน่นอนว่าข้อมูล Keywords เหล่านั้นมีมากมายมหาศาล ต่อให้เราพยายามจำกัดขอบเขตให้แคบลง เราก็ยังต้องมาเลือกสรรให้ดีว่าจะใช้ Keywords แบบไหนและอย่างไรบ้าง ที่จะตรงกับเป้าหมายการทำ SEO ของธุรกิจเรา 

ทำไมเราถึงต้องทำ Keyword Research?

เราจะนำผลการคัดเลือกคีย์เวิร์ดที่ได้จากการทำ Keyword Research ไปประกอบการสร้างหรือปรับปรุงเนื้อหาคอนเทนต์บนเว็บไซต์ของเรา จุดประสงค์ก็คือจะทำให้ง่ายที่ผู้ที่เสริชหาข้อมูลด้วย Keywords กลุ่มนั้นๆ มาเจอกับคอนเทนต์จากผลการค้นหา แต่ในขณะเดียวกันเราเองก็ต้องสร้างคอนเทนต์ที่มีความสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ที่เสริชหาข้อมูลที่พวกเขากำลังมองหาด้วย 

จะเห็นว่าการทำ Keyword Research นั้นเปรียบได้กับการช่วยพากลุ่มเป้าหมายที่อาจสนใจสินค้าหรือบริการของเราให้เข้ามาดูคอนเทนต์ แต่คุณภาพของคอนเทนต์เราจะเป็นตัวชี้วัดอีกทีว่ากลุ่มเป้าหมายอยากจะศึกษาเว็บไซต์และบริการของเราต่อ หรือกด X ออกไป

แล้วการค้นหา Keywords ที่เหมาะสมนั้น ต้องเริ่มอย่างไร?

การพยายามสร้างเพจหรือคอนเทนต์บนเว็บไซต์ของเราให้ติดอันดับให้ด้วยกลุ่ม keywords กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น เราจะต้องเริ่มตั้งแต่การตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า เนื้อหาที่เราจะนำเสนอนั้นจะสามารถตอบคำถามหรือตอบสนองความต้องการของผู้ที่เสริชหาด้วย keyword คำนั้นได้มากน้อยแค่ไหน กล่าวคือ สิ่งที่สำคัญที่เราต้องคำนึงถึงอย่างแรกเลยก็คือ มุมมองของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 

สรุป

เราจะต้องเชื่อมโยง Keyword Research + การทำคอนเทนต์ + สิ่งที่ผู้เสริช Keywords เหล่านั้นต้องการ รวมเข้าไว้ด้วยกัน

นอกเหนือจากคุณภาพเนื้อหา ก็ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่จะทำให้การทำ Keyword Research เพื่อสร้างคอนเทนต์ของเรานั้นได้ผลที่ดียิ่งขึ้นไปอีกก็คือ

      • เพจหรือเนื้อหาบนเว็บไซต์ของเราจะต้องสามารถตอบคำถามหลักที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการคำถามได้อย่างครอบคลุมและดูน่าเชื่อถือ

      • ตัวเว็บไซต์ของเราก็ต้องมีดีไซด์ที่ดี ใช้ง่าย โหลดเร็ว 

      • ทำยังไงก็ได้ให้ที่จะสร้าง content หน้าเพจที่เมื่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ต click เข้ามาแล้ว เขาได้สิ่งที่เขาต้องการหาอยู่โดยที่เขาไม่จำเป็นต้อง click ย้อนกลับไปเพื่อไปหาตัวเลือกอื่นๆ จาก Google อีกรอบ

    อ่านต่อ: 8 โปรแกรมหา Keyword ที่ดีที่สุดสำหรับ SEO

    On-page SEO คืออะไร สำคัญอย่างไร?

    อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้วข้างต้นว่า On-page SEO คือการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงเว็บไซต์ให้เป็นมิตรมากขึ้นทั้งต่อตัว search engine bot และผู้ใช้เว็บทั่วไป โดยจะมีทั้งในส่วนที่เป็น technical และส่วนของเนื้อหาบนเว็บไซต์ โดยในหัวข้อย่อยนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องการจัดการเนื้อหาในเว็บเพจเป็นหลัก ตามหัวข้อย่อยดังต่อไปนี้

    เนื้อหาบนเว็บไซต์ 

    แต่ละเพจในเว็บของเราควรมีเนื้อหาที่ unique ที่ไม่ซ้ำกับเพจอื่นบนเว็บไซต์ ในกรณีที่มีเพจอื่นที่มีเนื้อหาคล้ายๆ กันที่สื่อสารหรือนำเสนอสิ่งเดียวกัน ก็ให้ทำการรวมให้เหลือเพจเดียว และเนื้อหาบนเว็บไซต์ก็ควรมีคุณภาพ น่าอ่าน

    ปรับเปลี่ยนและสร้างเนื้อหาบนเว็บเพจให้ตอบโจทย์เจตนาของคนเสริชและการแสดงผลของ SERP

    เราต้องตรวจสอบว่ากลุ่มคีย์เวิร์ดที่เราต้องการจะดันให้ติดอันดับใน Google หรือ Search Engine ตัวอื่นๆ นั้น มีการแสดงผลยังไงใน SERP (Search Engine Result Page) เช่น มีการแสดงผลเป็น Featured Snippet หรือแสดงผลเป็นรูปหรือเปล่า เป็นต้น 

    นอกเหนือจากนั้นเรายังสามารถใช้ข้อมูลจาก PPC (Pay Per Click) มาใช้เป็นข้อมูลประกอบในการปรับเปลี่ยนเนื้อหาของเรา โดยดูว่ากลุ่มคำหรือเนื้อหาบนเว็บเพจประเภทไหนสามารถดึงดูดผู้ใช้เว็บทั่วไปให้เป็นลูกค้าผู้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเว็บเราได้

    Title tags และ meta-descriptions

    Title tags คือส่วนของหน้าเว็บเพจที่เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการติดอันดับหน้าแรก ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเลือกใช้ keywords ที่เหมาะสมใน title tag และ meta-description โดยทั้งสองส่วนคือส่วนที่แสดงผลอยู่หน้าแสดงผลการค้นหา ที่จะทำให้คนเสริชตัดสินใจว่าจะคลิกเข้ามาที่เว็บของเราหรือไม่ การเขียน meta-description ให้น่าสนใจและเชิญชวนให้คนอยากคลิกเข้ามาที่เว็บของเราจึงเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน

    HTML tags

    มีการใช้ HTML tags ที่เหมาะสม เช่น H1, H2 และ H3 tags เพื่อจัดลำดับโครงสร้างของเนื้อหาก็ค่อนข้างจะมีความสำคัญเช่นกัน

    html-tags-headers-seo-onsite

     

    รูปนี้แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างของ tags ของ Header ประเภทต่างๆ ที่ต้องมีการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการจัด Format ของบทความ ไม่ใช่แค่เพื่อความสวยงาม แต่เพื่อให้ Google เข้าใจเพจนั้นได้ด้วย

    Image Optimisation

    รูปที่ใช้ในเว็บไซต์ที่ควรมีการใช้ alt tag และชื่อไฟล์ของรูปที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม

    เนื้อหาที่มีความทันต่อเหตุการณ์ อัปเดตสม่ำเสมอ

    ควรมีการ update ให้เนื้อหาบนเว็บไซต์มีความทันสมัยต่อเวลาและเหตุการณ์อยู่เสมอ โดยเฉพาะเนื้อหาบนเว็บเพจที่มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก

    Technical SEO คืออะไร ทำยังไงได้บ้าง?

    Technical SEO จะมีหลายส่วนมาก มีหลายเรื่องที่เราจะสามารถทำเพื่อช่วยทำให้เว็บไวต์ของเราติดอันดับได้ดีขึ้น หรือทำให้เมื่อคนคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์แล้วไม่ได้รู้สึกว่าอยากคลิกออกไปใช้เว็บไซต์อื่น เพราะเว็บไซต์ของเรานั้นใช้ยากหรือโหลดช้าไป ปัจจัยทางด้าน technical SEO ที่ฝนจะกล่าวถึงนี้จะเป็นแค่ส่วนนึงเท่านั้นนะคะ และก็เหมือนหัวข้ออื่นๆ คือฝนจะแตะในแต่ละเรื่องอย่างคร่าวๆ แล้วเดี๋ยวเราค่อยมาลงรายละเอียกลึกๆ กันต่อในบทความต่อๆ ไป

    Domain

    สิ่งแรกเลยที่เราต้องเช็คก็คือ เช็คดูว่าเว็บไซต์ของเรามีโดเมนเดียวหรือเปล่า

    ตัวอย่างเช่น 

    https://noria.co.th
    https://www.noria.co.th
    http://noria.co.th
    http://www.noria.co.th

    ในกรณีอย่างนี้เราต้องเลือกมาโดเมนเดียวเท่านั้น และทำการ redirect โดเมนอื่นๆไปหาโดเมนที่เราใช้ค่ะ

    และเมื่อเราเลือกโดเมนที่เราจะใช้ได้แล้ว ในกรณีที่เราจะทำใช้เว็บไซต์ของเรานั้นมี section ต่างๆ เพิ่มขึ้นมาก็ควรที่จะใช้ subfolders แทนการใช้ sub-domains ค่ะ

    ตัวอย่างเช่น ฝนอยากใช้ section นึงของเว็บไซต์ของ Noria มีเนื้อหาเกี่ยวกับ SEO เท่านั้น แทนที่ฝนจะสร้าง sub-domain ขึ้นมาเป็น https://seo.noria.co.th ฝนก็สร้างเป็น https://noria.co.th/seo/ แทนค่ะ

    Meta robots tag และ Robots.txt

    ต้องตั้งค่าให้ Seach Engine Robots เข้ามา crawl เว็บไซต์ของเราได้ ฝนเคยเจอลูกค้าที่เข้ามาปรึกษาเพราะเขามีเว็บไซต์ และใช้บริการ SEO กับที่อื่นมาได้ซักพัก แต่เว็บไซต์ของตัวเองไม่ติดอันดับหน้าแรกให้คีย์เวิร์ดอะไรเลยซักคำ พอเข้าไปเช็คดูก็เจอว่าใน WordPress ของเขาตั้งค่า disallow search engine robots ไว้ไม่ให้ crawl เว็บไซต์ค่ะ เป็นอะไรที่พื้นฐานมาก แต่บางครั้งเราก็แอบมองข้ามไป ถ้า robots โดน block ไม่ให้ crawl เว็บไซต์ ถึงเราจะไปสร้าง backlinks เข้ามาเยอะแค่ไหน เว็บไซต์ของเราก็ไม่สามารถติดอันดับใน Google ได้ค่ะ

    Sitemap

    Sitemap คือลิสต์ของเว็บเพจต่างๆ บนเว็บไซต์ของเราค่ะ โดยปกติเราก็จะใส่เพจต่างๆ ที่เราต้องการใน search engine เข้ามา crawl ไว้ใน sitemap ถ้าเป็น Google เราก็จะเอา sitemap ไป submit ใน Google Console หลังจากที่เราได้สร้าง sitemap บนเว็บไซต์ของเราเสร็จแล้วค่ะ โดยปกติเราก็จะเช็คด้วยว่าเราไม่มี เพจ 301 และเพจ 404 อยู่ใน sitemap ค่ะ

    Structured Data และ Schema Markup

    Structured Data คือระบบข้อมูลที่ระบุประเภทของเนื้อหาในเพจหนึ่งๆ โดยใช้ tag พิเศษที่เรียกว่า Schema Markup แทรกเข้าไปใน HTML เพื่อให้ Search Engine รับรู้ว่าได้เพจนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรและเป็นเนื้อหาประเภทไหน

    Internal Linking

    การลิงก์ภายในเว็บไซต์ของตัวเอง ด้วย anchor text ที่เหมาะสม จะสามารถส่งผลดีต่อการติดอันดับของหน้าเว็บเพจที่เราต้องการที่ดันให้ติดอันดับเช่นกัน

    Responsive web design

    responsive-web-design

     

    การออกแบบเว็บไซต์หรือแอพลิเคชันต้องคำนึงถึงการใช้งานบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในแบบต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป

    เว็บไซต์ควรมีการออกแบบให้เป็น responsive สามารถแสดงผลได้เร็วในทุกๆ เครื่องมือไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือมือถือ 

    CTA ที่ชัดเจน

    seo-website-call-to-action

     

    แล้วแต่ก็จัดตำแหน่งของนักออกแบบเว็บไซต์หรือ UX Designer แต่ CTA มักจะเป็นปุ่มที่โดดเด่นกว่าเพื่อนบนเมนู อาจอยู่มุมบนขวาสุด

    CTA ย่อมาจาก Call to Action คือส่วนของหน้าเว็บเพจที่เชิญชวนให้ผู้ที่มาเข้าชมเว็บกระทำบางสิ่งบางอย่างบนเว็บไซต์ เช่น คลิกที่หมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมลล์ ส่งข้อความติดต่อผ่านแบบฟอร์ม แอดไลน์ เป็นต้น ปุ่มต่างๆ เหล่านี้ควรอยู่ที่ตำแหน่งที่เหมาะสม และเห็นได้ชัดเจน

    Page Speed

    seo-server-cdns

     

    เมื่อมีการขอโหลดข้อมูลแทนที่จะส่งคำร้องไปยังเซิฟเวอร์ต้นทางที่อยู่ใกล้ออกไป บริการ CDNs จะช่วยให้เราสามารถส่งคำร้องไปยังเซิฟเวอร์ที่อยู่ใกล้ที่สุดเพื่อย่นเวลาในการส่งข้อมูลและการโหลด

    หน้าเว็บเพจควรโหลดเร็วในทุกๆ device ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้ CDNs หรือ Content Delivery Network ทำรูปให้เล็กลง และใช้ Web Hosting ที่เชื่อถือได้

    Multimedia

    คำเสริชบางคำมีการแสดงผลผ่าน media ที่แตกต่างกันบน SERP (Search Engine Result Page) ดังนั้นการใช้ media ที่เหมาะสม ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ

    Site Structure 

    ควรออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ให้สามารถโชว์เนื้อหาที่สำคัญๆ ของเว็บไซต์ได้ภายในการคลิกไม่เกิน 3 คลิกจากหน้า Homepage

    Status Code

    ควรมีการใช้ status code ที่ถูกต้องให้กับเพจต่างๆ บนเว็บไซต์ code หลักที่เรามักจะใช้กันก็มี 301 สำหรับ permanent redirects, 404 สำหรับเพจที่เราไม่ต้องการแล้ว ลบทิ้งไปแล้ว, 503 สำหรับเพจที่ temporaly unavailable และ 200 สำหรับเพจที่ใช้งานได้ปกติอยู่

    Https

    This image has an empty alt attribute; its file name is SSL_Certificate_Info_Box_In_Firefox-1.png

     

    รูปตัวล็อคสีเขียวคือสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์ของเราปลอดภัย และในส่วนนี้มีผลกับการทำ SEO เช่นกัน เพราะ Google จะรู้สึกเชื่อใจเว็บที่มีเจ้านี้มากกว่าเว็บที่ไม่มี

    ในปัจจุบัน เมื่อเราเข้าไปที่เว็บไซต์ที่ไม่ได้มีการใช้ SSL Certificate เราก็จะเห็นข้อความเตือนว่า not secure บน tab ก่อนหน้าชื่อโดเมน ในกรณีอย่างนี้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวเว็บไซต์หรือผู้ใช้งานเว็บไซต์ของเราอาจจะไม่ปลอดภัยจากการแฮ็ก นอกจากนี้ Google ยังได้ออกประกาศออกมาแล้วว่า https เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ Google นำมาพิจารณาผลการจัดอันดับ

    Social Media

    เพิ่มปุ่มให้ผู้ใช้เว็บสามารถกดแชร์เนื้อหาจากเว็บไซต์ของเราไปยัง Social Media ต่างๆ ได้ง่าย

    Local SEO คืออะไร

    Local SEO คือการทำให้เว็บไซต์หรือบริการของคุณติดอันดับใน Google เมื่อมีคนค้นหาโดยใช้ keyword ที่เป็น Location-Focused Keywords ตัวอย่างเช่น hotels chaing mai 

    ในปัจจุบันกลยุทธ์หลักๆ ที่มีความสำคัญสำหรับ Local SEO ได้แก่

    Google Business Profile

    interface-gmb

     

    หน้าตาของ Google Business Profile ตัวช่วยที่ทำให้ลูกค้าเจอข้อมูลของธุรกิจง่ายขึ้น

    Google Business Profile หรือการมีโปรไฟล์ของธุรกิจของเราอยู่ใน Google Map นั่นเอง ซึ่งเราสามารถเข้าไปสร้างโปรไฟล์ของเราเองได้ง่ายๆ ใน https://www.google.com/business/ 

    This image has an empty alt attribute; its file name is Screen-Shot-2562-12-09-at-10.42.56-AM.png

     

    สามารถใส่ข้อมูลและอัปเดตอะไรได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Social Media ต่างๆ หรือ Content ใหม่ๆ ของเว็บไซต์

        • การใส่ข้อมูลต่างๆ ในโปรไฟล์ Google Business Profile ของเราให้ครบ ไม่ว่าจะเป็น ที่อยู่ เบอร์โทร รูป เวลาให้บริการ การเลือกหมวดหมู่ของธุรกิจที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่สำคัญต่อ Local SEO 

        • การมีคนเข้ามารีวิวในหน้าโปรไฟล์ของเราก็มีส่วนช่วยในการติดอันดับในการโชว์ผลของ Google Map เช่นกัน 

        • นอกจากนั้นในปัจจุบันเรายังสามารถโพสโปรโมทอีเว้นท์ โปรโมชัน หรือข้อมูลผลิตภัณฑ์ของเราผ่านโปรไฟล์ Google Business Profile ของเราได้เช่นกันโดยการโพสผ่าน Google Post

      Local Citations

      Citation คือการที่ธุรกิจของเราได้รับการกล่าวถึงในเว็บไซต์อื่นๆ ในส่วนของ NAP (Name, Address และ Phone Number) หลักๆ เราสามารถทำได้โดยการ submit ข้อมูลของธุรกิจของเราเว็บ Directories หรือ Press Release

      Website

      ในส่วนของเว็บไซต์ของเรา เราก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นการง่ายต่อ search engine bot ในการเข้าใจว่าธุรกิจหรือร้านของเราอยู่ที่ไหน โดยการใส่ที่อยู่ไว้ในเว็บไซต์

      Content 

      หน้า Homepage ของเว็บเราไม่สามารถที่จะติดอันดับให้คีย์เวิร์ดที่เราต้องการบนหน้าแรกของ Google หรือ Search Engine ตัวอื่นๆ ได้ทั้งหมด 

      แต่มีหนึ่งวิธีที่เราสามารถทำได้เพื่อที่จะให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับคีย์เวิร์ดในพื้นที่ที่เราให้บริการธุรกิจของเรา ก็คือ การเขียนเนื้อหาในบล็อกให้เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เป็น Location-Based ค่ะ 

      การสร้าง Backlinks หรือ Link Building คืออะไร 

      หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า backlink คืออะไร backlinks คือ links ที่เว็บไซต์อื่นๆ ส่งกลับมาหาเว็บของเราค่ะ การได้ backlinks จากเว็บอื่นก็คล้ายๆ กับการที่เรามีคนบอกต่อหรือแนะนำเกี่ยวกับธุรกิจของเรา แต่ไม่ใช่ว่าทุก backlinks จะมีประโยชน์ต่อเว็บไซต์ของเรานะคะ บาง links สามารถทำให้เว็บไต์ของเราโดน Google แบนได้เช่นกันค่ะ 

      ในช่วงแรกๆ ของวงการ SEO นั้น link building เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการที่จะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับ แต่ในปี 2019 นี้ backlinks อาจจะไม่ได้มีน้ำหนักเท่าเมื่อก่อน เนื่องจาก Google ได้เพิ่มปัจจัยอื่นๆ เข้ามาพิจารณาด้วย เช่น คุณภาพและความเกี่ยวข้องกันของเนื้อหา 

      แต่ backlinks ก็ยังคงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญหลักที่จะช่วยดันให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับใน Google อยู่ดีค่ะ

      ทีนี้เราลองมาดูกันว่า Google นั้นเขาวัดคุณค่าของ links ยังไง

          • เว็บไซต์ที่เราไปได้ backlinks มานั้น powerful หรือเปล่า

          • ความหลากหลายของ domain ที่ links กลับมาหาเว็บไซต์ของเรา

          • ต้องเป็น HTML links ที่มี anchor text ที่มีความสัมพันธ์กับ keywords ที่เราพยายามดันให้ติดอันดับ

        หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า อ้าว แล้วเราจะสร้าง backlinks ได้ยังไงบ้าง การสร้าง backlinks เป็นส่วนงานที่ใช้เวลามากที่สุดจากบรรดางานด้านต่างๆของ SEO ค่ะ บาง backlinks อาจจะใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะได้มา โดยเฉพาะ backlinks จากเว็บไซต์ดังๆ ทั้งหลาย วิธีการที่เราจะสามารถได้ backlinks ก็มีหลายวิธีค่ะ เช่น

            • ลองเสริชดูว่ามีคนเอ่ยถึงชื่อเว็บไซต์หรือธุรกิจของเรา

            • ติดต่อ webmaster ของเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อเสนอเขียนเนื้อหาที่มีคุณภาพให้เว็บของพวกเขาโดยแลกกับการที่เขากล่าวถึงหรือส่ง backlink กลับมาให้ที่เว็บไซต์ของเรา

            • เข้าร่วมงาน หรือสปอนเซอร์กิจกรรมหรือหน่วยงานบางอย่าง และขอเขาส่ง backlinks กลับมาให

          สนใจบริการ Link building คลิกเลย!

          บริการ SEO ของ Search Studio

          Search Studio ให้บริการรับทำ SEO เพื่อช่วยเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยเน้นคุณภาพและประสิทธิพลในระยะยาวเป็นที่ตั้ง ด้วยกลยุทธ์ที่ออกแบบให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ ตั้งแต่การ research เพื่อหากลุ่มของ keywords ที่จำเพาะกับกลุ่มเป้าหมาย ให้คำปรึกษาในการตกแต่งเว็บไซต์และการเผยแพร่บทความที่จะช่วยทั้งในเรื่องของอันดับใน Google และช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์ด้วยเครื่องมือขั้นสูง โดยมีการติดตามผลลัพธ์การทำงานและวัดผลอย่างต่อเนื่อง

          วิธีการทำ SEO ขั้นพื้นฐาน เริ่มยังไง? ทำตามได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

          หลายคนเพิ่งจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองครั้งแรก แล้วก็ได้มารู้จักกับการทำ SEO เป็นครั้งแรกอีกเช่นเดียวกัน อยากให้เว็บไซต์ของตัวเองติดอันดับเร็วๆ รู้ว่าต้องเริ่มทำ SEO แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูเช็ตลิสท์ขั้นพื้นฐานสำหรับคนที่จะเริ่มทำ SEO ว่าต้องเริ่มที่ตรงไหนก่อนบ้าง เราจะแอบกระซิบบอกให้ว่าถ้าทุกคนซื้อแพ็คเกจ SEO กับเหล่าเอเจนซี่ต่างๆ ร้อยทั้งร้อยทุกคนก็จะเริ่มต้นแคมเปญให้คุณจากเรื่องพื้นฐานเหล่านี้แหละค่ะ

          เข้าใจประเภทของการทำ SEO แบบคร่าวๆ

          การทำ SEO นั้นมีหลายประเภทนะคะ เบื้องต้นสามารถจัดกลุ่มได้ 3 ประเภท คือ

          ซึ่งเช็คลิสท์พื้นฐานแต่ละข้อที่เราทำมาฝากกันก็มาจากเทคนิคเบสิคจาก 2 ใน 3 ประเภทของการทำ SEO ทั้งสามแบบนั้นแหละค่ะ นอกจากนี้ยังมีเช็คลิสท์ที่เริ่มตั้งแต่การ Setup แคมเปญอีกด้วย มีอะไรบ้างลองดูภาพรวมกันหน่อย ก่อนจะไปดูคำอธิบายของแต่ละข้อ

          1. ติดตั้ง Google Tag Manager

          Google Tag Manager คือ ระบบจัดการแท็กฟรีจากกูเกิลที่ช่วยให้เราอัปเดตโค้ดติดตามและโค้ดย่อยต่างๆ บนเว็บของเรา พูดถึงคำว่าโค้ดหลายคนอาจจะส่ายหน้า ไม่อยากยุ่ง ไม่เกี่ยวกับเรา เป็นเรื่องของโปรแกรมเมอร์หรือเปล่า แต่หน้าตาของ Google Tag Manager หรือ GTM นั้นใช้งานได้ง่ายมากจริงๆ ไม่ต้องมีพื้นฐาน ไม่จำเป็นต้องเขียนเว็บเป็นก็พอที่จะสามารถติดตั้งโค้ดบางอย่างเองได้ง่ายๆ เช่น แท็ก Google Analytics แท็ก Google Ads หรือ แท็ก Facebook Pixel

          เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เป็นพื้นฐานมากๆ หากจะเริ่มทำอะไรสักอย่างกับเว็บไซต์ก็ต้องเริ่มด้วยสิ่งนี้ก่อน ถ้ามีเอเจนซี่ที่คอยดูแลเรื่องเหล่านี้ให้อยู่แล้ว ไม่ต้องทำเองก็ดีไป แต่อย่างน้อยตอนนี้เราก็เข้าใจมากขึ้นว่าเวลาที่คนพูดถึงการติดตั้ง GTM เค้าติดตั้งกันไปทำไม ทำไปเพื่ออะไร ทุกอย่างนั่นก็เพื่อความสะดวกสบายในการประสานงาน ลดขั้นตอน ประหยัดเวลานั่นเอง

          2. ติดตั้ง Google Analytics

          รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ในโลกการทำการตลาดออนไลน์ก็เช่นกัน การติดตั้ง Google Analytics จะช่วยให้เราสามารถ “รู้เรา” ได้อย่างรอบด้าน เพราะการติดตั้ง Google Analytics จะทำให้ข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับเว็บไซต์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นจำนวนของคนที่เข้าเว็บของเราในแต่ละวัน ดูได้อีกด้วยว่าเข้าเว็บเราผ่านอุปกรณ์อะไร เข้ามาจากช่องทางไหน และยังช่วยตรวจสอบพฤติกรรมผู้ใช้งานด้วยว่าทำอะไรบ้างบนเว็บของเรา

          เอาเป็นว่า Google Analytics เป็นอีกหนึ่งบริการฟรีจากกูเกิลที่ยังไงก็ควรติดตั้ง ไม่งั้นเหมือนเราเสียโอกาสไปเยอะมาก เพราะข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเว็บไซต์ของเรา รวมทั้งพฤติกรรมของผู้ใช้งานเว็บไซต์เรา จะมีส่วนช่วยให้เรากำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม นำมาวิเคราะห์และปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้นั่นเอง

          คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีติดตั้ง Google Analytics แบบละเอียดกันเลยค่ะ

          3. ติดตั้ง Yoast SEO

          สำหรับใครที่ใช้ WordPress จะเห็นว่ามีปลั๊กอินมากมายให้เลือกใช้งาน ถ้าพูดถึงปลั๊กอินสำหรับ SEO ที่ได้รับความนิยมที่สุดตลอดการก็หนีไม่พ้น Yoast SEO ที่ไม่ว่าผ่านไปกี่ปีๆ ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นปลั๊กอินที่ดีที่สุดสำหรับการทำ SEO บน WordPress

          ปลั๊กอินตัวนี้เรียกได้ว่าเหมือนเป็น interactive checklist ให้เราก็ว่าได้ เมื่อติดตั้งแล้วตัวปลั๊กอินจะช่วยเตือนเราเป็นข้อๆ ว่าเรายังขาดเหลือ หรือต้องลดเพิ่มอะไรบ้าง เพื่อช่วยเราปรับปรุงให้คอนเทนต์ในหน้านั้นให้เป็นคอนเทนต์ที่ SEO-friendly เพิ่มโอกาสที่จะติดอันดับดีๆ บนกูเกิลให้เรา

          คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีติดตั้ง Yoast SEO รวมทั้งวิธีใช้งานแบบละเอียดกันเลยค่ะ

          4. ทำให้เว็บไซต์ Mobile Friendly

          ข้อนี้เป็นข้อที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีความสำคัญอย่างมาก ลองดูจากการเก็บข้อมูลทางสถิติจากเว็บ statista.com ที่แสดงให้เราจะเห็นว่า ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา มากกว่า 50% ของ traffic ที่เข้าสู่เว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลกนั้นเป็น traffic ที่มาจากอุปกรณ์มือถือ (Mobile Device) แทบทั้งนั้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ

          การทำให้เว็บไซต์ของเราเป็น Mobile Friendly จึงมีความสำคัญเป็นอันดับแรกเลย เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นว่าเราเสีย traffic ที่มาจากอุปกรณ์มือถือ ผลกระทบทางตรงก็คือผู้ใช้งานจะออกจากเว็บของเราไปเพราะการใช้งานที่ไม่สะดวก ส่วนผลกระทบทางอ้อมก็คือทำให้ภาพลักษณ์ของธุรกิจหรือเว็บไซต์ของเราดูล้าสมัยไปถนัดใจ

          นอกจากนี้การที่เว็บไซต์ของเราเป็นเว็บไซต์ที่เป็น Responsive Design หรือมีดีไซน์ที่สามารถแสดงผลได้ดีบนขนาดของหน้าจอต่างๆ ไม่ว่าจะมือถือ ไอแพด หรือแท็บเล็ตอื่นๆ ยังส่งผลต่ออันดับในกูเกิลของเราอีกด้วย เพราะแน่นอนว่ายิ่งเว็บของเรา friendly และแสดงผลได้ดีกับผู้ใช้บนทุกอุปกรณ์ กูเกิลก็จะให้คะแนนเว็บไซต์ของเราในส่วนนี้ ช่วยชี้วัดได้ว่าเราเป็นเว็บไซต์ที่ใส่ใจกับประสบการณ์บนเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน

          วิธีง่ายๆ ที่ทำให้เว็บเป็น Mobile Friendly

          •  เลือกใช้ธีม WordPress ที่เป็น Responsive Design อย่าเห็นแก่ของถูก ของฟรี เลือกธีมที่มั่นใจว่าจะแสดงผลได้ดีบนขนาดหน้าจอทุกรูปแบบ

          •  หมั่นทำ Mobile-friendly test สม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าเว็บของเราอยู่ในเกณฑ์คะแนนที่ดี

          •  หลีกเลี่ยงการใช้ Flash และ Pop-ups ในการแสดงผล

          5. ทำ HTTPS ให้เว็บไซต์

          เว็บไซต์ก็เหมือนบ้านหลังหนึ่งที่เราเช่าไว้เป็นร้านขายของ เราจะอยู่อย่างปลอดภัยได้ก็ต้องมีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัย ความปลอดภัยที่ว่าก็คือ ทั้งความปลอดภัยของเราและความปลอดภัยลูกค้าที่มาเยือนหรือมาซื้อของ ซึ่งทางหนึ่งที่จะทำให้เว็บไซต์ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ และผู้ประกอบการไม่ควรที่จะมองข้ามเพียงเพราะกลัวจะยุ่งยาก ก็คือ การติดตั้ง HTTPS หรือ SSL นั่นเอง

          HTTPS หรือ SSL คือ เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต  ให้เราปลอดภัยจากการถูกแฮกด้วยนั่นเอง ฟังดูเหมือนซับซ้อน แต่การติดตั้งนั้นไม่ยากเลย เพราะ SSL มีให้เลือก 3 แบบ ซึ่งแบบที่ง่ายและรวดเร็วที่สุดใช้เวลาเพียงไม่กี่คลิกก็ได้มาแล้ว แต่เพียงไม่กี่คลิกก็ช่วยทำให้เว็บของเราปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ลูกค้าจะซื้อของหรือใช้บริการจากเราก็สามารถซื้อได้อย่างวางใจ

          6. ปรับปรุงสปีดของเว็บไซต์ให้โหลดเร็ว

          สปีดของเว็บเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่ต้องไปดูที่ไหนไกล ดูพฤติกรรมของตัวเราเองในการใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต ถ้าเราเจอเว็บอืดๆ ก็กดออกแบบไม่ลังเลเลย เพราะทนรอกันไม่ได้ ดังนั้นเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิทัลที่มาเร็วเคลมเร็วแบบนี้ สปีดของเว็บไซต์เราจะต้องห้ามตกเด็ดขาด จำไว้ว่ายิ่งเว็บเราช้า คนยิ่งจะกดออกเยอะ ยิ่งคนกดออกเยอะ กูเกิลยิ่งไม่ชอบ ทำให้อันดับเราร่วงลงเอาง่ายๆ หรือไม่ติดอันดับ

          วิธีง่ายๆ ที่จะคอยดูแลสปีดของเว็บไซต์ของเรา

          •  เลือกโฮสติ้งที่ดี มีคุณภาพ อย่าเห็นแก่ของถูก เลือกให้เหมาะสมกับขนาดของเว็บไซต์ของเรา

          •  ติดตั้งปลั๊กอินเท่าที่จำเป็น บีบอัดรูปภาพก่อนนำมาใช้งานบนเว็บ

          •  หมั่นทำ Speed test สม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสปีดของเว็บเราอยู่ในเกณฑ์คะแนนที่ดี

          •  ติดตั้งปลั๊กสำหรับเก็บ Cache เช่น WP Super Cache และปลั๊กอินที่ช่วยจัดการลบข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น WP Optimize

          7. เข้าใจหลักการของคีย์เวิร์ดและทำคีย์เวิร์ดรีเสริช

          คีย์เวิร์ดถือเป็นหัวใจของการทำ SEO หากจะให้เปรียบก็เปรียบเหมือนการเลือกทำเลให้เข้ากับประเภทธุรกิจ อยากขายของดี ทำเลที่ดีคือเรื่องสำคัญ ในโลกออนไลน์ก็เหมือนกัน ต้องรู้จักพาตัวเองไปอยู่ในทำเลที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นสำคัญมากที่ผู้ประกอบการต้องเข้าใจว่าคีย์เวิร์ดคืออะไร

          คีย์เวิร์ด (Keyword) คือ คำหรือวลีที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้ตอนค้นหาข้อมูลในกูเกิล ซึ่งตรงนี้นี่เองทำให้การทำความเข้าใจคีย์เวิร์ดสำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการ เพื่อที่จะได้เลือกใช้คีย์เวิร์ดบนเว็บไซต์ให้สัมพันธ์กับสินค้าและบริการของเรามากที่สุด ต้องมีการทำคีย์เวิร์ดรีเสริช (Keyword Research)  โดยผู้เชี่ยวชาญ เพราะนั่นแปลว่าสินค้าและบริการของเรามีโอกาสที่จะเข้าใกล้กลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น และลงท้ายที่การมียอดขายเพิ่มขึ้นได้นั่นเอง

          8. ใช้คีย์เวิร์ดให้ถูกที่และใช้อย่างเป็นธรรมชาติ

          เมื่อเข้าใจแล้วว่าคีย์เวิร์ดคืออะไร สำคัญกับ SEO ตรงไหนไปแล้ว ก็มาดูหลักการใช้คีย์เวิร์ดที่ทำตามกันได้แบบง่ายๆ กัน 

          การใช้คีย์เวิร์ดไม่ใช่การสักแต่ว่าจะยัด จะต้องใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เราต้องการจะนำเสนอ หรือสารที่เราต้องการส่งไปยังคนอ่าน

          หลักการง่ายๆ สำหรับมือใหม่ก็คือ

          1) ใช้คีย์เวิร์ดที่ต้องการใน URL 

          2) ใช้คีย์เวิร์ดที่ต้องการใน Title Tag และ 

          3) ใช้คีย์เวิร์ดที่ต้องการใน Meta Description 

          สามจุดนี้คือจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ

          A/N: ทีนี้เราลองย้อนกลับไปเช็คลิสต์ข้อที่ 3 ที่พูดถึง Yoast SEO หรือการใช้ปลั๊กอินที่ช่วยเตือนว่าเราควรจะปรับปรุงคอนเทนต์เรายังไงบ้าง ถ้าเราติดตั้งปลั๊กอินนี้ไปแล้วล่ะก็หายห่วงเรื่องนี้ไปได้เลย เพราะปลั๊กอินจะคอยเตือนให้เราใช้คีย์เวิร์ดที่เราต้องการโฟกัสตามจุดต่างๆ เหล่านี้นั่นเอง

          9. สร้างคอนเทนต์ที่มีประโยชน์และอ่านง่าย

          หลายคนอาจเคยได้ยินประโยคที่พูดกันว่า Content is King กันมาก่อน ซึ่งไม่ว่าผ่านไปกี่ปีๆ ก็ยังใช้ได้อยู่ เพราะการเขียนคอนเทนต์ที่มีคุณภาพที่คำนึงถึงคนอ่านว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากเรา อีกทั้งยังมีการจัดฟอร์แมตให้อ่านง่ายมีความสำคัญไม่เคยเปลี่ยนแปลง ใครจะอยากอ่านคอนเทนต์ของเรา ถ้าผู้อ่านไม่ได้ประโยชน์หรือได้ข้อมูลที่ต้องการจากการอ่าน

          หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาก่อนว่ากูเกิลชอบคอนเทนต์ที่ยาวๆ แต่การเขียนคอนเทนต์ที่ดีไม่จำเป็นว่าต้องยาวมากเสมอไป ที่ดูเหมือนว่ากูเกิลจะชอบคอนเทนต์ที่ยาวก็เป็นเพราะปกติคอนเทนต์ที่ยาวจะแทรกสาระและความรู้ได้มากกว่าคอนเทนต์สั้นๆ แต่จริงๆ เราไม่ต้องเน้นปริมาณก็ได้ ลองเขียนคอนเทนต์ที่ความยาวพอดีๆ เน้นที่คุณภาพและสื่อสารในสิ่งที่ต้องการได้ครบถ้วนดีกว่าค่ะ

          A/N: ขอย้อนกลับไปที่เช็คลิสต์ข้อที่ 3 อีกรอบ ที่เราพูดถึง Yoast SEO ไป นอกจากจะคอยช่วยเรื่อง SEO แล้ว เจ้าปลั๊กอินที่ว่ายังมีการให้คะแนน Readibility Score เพื่อให้เราค่อยเช็คคอนเทนต์ในขณะที่กำลังเขียนไปด้วยว่าน่าอ่านแค่ไหน SEO-friendly หรือยัง ถึงได้บอกว่าการติดตั้งปลั๊กอินตัวนี้ก็จะเหมือนเรามีผู้ช่วยในการทำ SEO ที่ คอยสะกิดเตือนเราได้ทุกเรื่องจริงๆ

          10. อย่าใช้ URL ที่ยาวเกินไป

          พอได้รู้ว่าควรใส่คีย์เวิร์ดใน URL ด้วยเพื่อช่วยเรื่องอันดับ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องกระหน่ำใส่คีย์เวิร์ดเยอะๆ ควรใส่แค่เฉพาะคีย์เวิร์ดที่เราต้องการโฟกัสสำหรับเพจนั้นๆ ก็พอ

          มีการเก็บข้อมูลมาแล้วว่า URL สั้นๆ จะติดอันดับได้ดีกว่า URL ยาวๆ เพราะ URL สั้นๆ จะช่วยให้กูเกิลเข้าใจได้ง่ายกว่าว่าเพจหน้านั้นเกี่ยวกับอะไร การมี URL ที่ใส่คีย์เวิร์ดยาวจนเกินไปและมีส่วนประกอบอื่นๆ เพิ่มเข้ามามากเกินไปอาจจะยิ่งทำให้สับสนมากกว่าจะเป็นผลดี

          ได้เวลาลงมือทำ

          จบกันไปแล้วกับเช็คลิสท์ทั้ง 10 ข้อที่เราคัดสรรมาอย่างดีว่าจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่เริ่มทำ SEO ที่ต้องรู้ เครื่องมืออะไรบ้างที่ต้องมีและต้องติดตั้ง ที่สำคัญที่สุดต้องเริ่มต้องทำตั้งแต่ตอนนี้ 

          เช็คลิสท์ที่เรานำมาฝากวันนี้ยังเป็นแค่น้ำจิ้มเบาๆ นะคะ อย่าลืมกดติดตามเว็บไซต์ของเรานะคะ เพราะเราจะนำวิธีทำ SEO ที่เข้มข้นกว่านี้ ละเอียดกว่านี้มาฝากอีกแน่นอนค่ะ

          Written By

          ฝนทำ SEO มามากกว่าสิบปีและยังคงหลงใหลในงานนี้มาก ฝนเป็นคนที่มีนิสัยรักการวางแผน ดังนั้น SEO จึงเข้ากับบุคลิกของฝนได้เป็นอย่างดี ฝนให้ความสำคัญกับการเติบโตที่ค่อยเป็นค่อยไป ความอดทน และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับงาน SEO นอกจากความเชี่ยวชาญในวิชาชีพแล้ว ฝนยังเป็นนักอ่านและนักเขียนตัวยง มักจะแบ่งปันมุมมองในเรื่องต่างๆ ในเวลาว่าง ฝนชอบทดลองทำอาหารใหม่ๆ ติดตามฝนได้บน LinkedIn
          Views
          Related Article

          รับคำปรึกษา
          SEO ฟรี!

          ตรวจสถานะ SEO ของเว็บไซต์ของคุณ ฟรี พร้อมคำแนะนำจาก SEO Specialist ของเรา มูลค่า 35,000 บาท

          มีจำนวนจำกัด เท่านั้น ติดต่อเราเลย

          Let’s talk

          Got an idea in your mind? Pop your info into our form
          and we will get back to you shortly.