SEO

Internal Links คืออะไร? ควรใช้เมื่อใด ให้มีคะแนน SEO ที่ดี

Jutamas Lampech | กันยายน 20, 2023

Fast To Read

Internal Links หรือลิงก์ภายใน ทำหน้าที่เสมือนป้ายบอกทางผู้ใช้ภายในเว็บไซต์ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ให้มองเป็นเหมือนการแสดงเส้นทางไปยังห้องต่างๆ ในบ้าน ที่จะเชื่อมโยงแต่ละห้องหรือเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำ SEO ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการนำทางผู้ใช้เท่านั้น แต่การทำ Internal Links ยังช่วยให้ Google มองเห็นถึงคุณภาพ ความน่าสนใจ และเข้าใจเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น ยิ่งเส้นทางเหล่านี้ชัดเจนมากเท่าไร เครื่องมือค้นหาจะยิ่งแสดงเว็บไซต์ของคุณในผลการค้นหาได้ดีขึ้นเท่านั้น

ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ Internal Links คืออะไร ประเภทของ Internal Links ที่ควรรู้จัก เทคนิควิธีการทำ Internal Links รวมไปถึง Internal Links ส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อการทำ SEO ไปติดตามพร้อมๆ กันเลย

Internal Links คืออะไร

ทำไมการทำ Internal Links จึงมีความสำคัญ

การทำ Internal Links ต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ การเชื่อมโยงลิงก์ภายในที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการวิจัยคีย์เวิร์ด (Keyword Research) ที่เหมาะสมและเกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ผู้ใช้อยู่ในเว็บไซต์ได้นานขึ้น เนื่องจากมีส่วนช่วยในการทำอันดับที่ดีหลายประการ ดังนี้

  • บทบาทที่ชัดเจนที่สุดของ Internal Links คือการเชื่อมต่อเนื้อหา หรือจัดเตรียมเส้นทางที่สะดวกสำหรับผู้ใช้ในการเข้าถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และสามารถคลิกอ่านเนื้อหาหรือเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ในทันที
  • สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้งาน ด้วยการวางลิงก์ ในตำแหน่งที่โดดเด่น สามารถรับข้อมูลเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างง่ายดาย ถือเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้สามารถคลิกไปยังข้อมูลถัดไปที่สนใจได้อย่างราบรื่น
  • Internal Links จะช่วยจัดระเบียบ ความสัมพันธ์ของแต่ละหน้าของเว็บไซต์ได้อย่างสมเหตุสมผล โครงสร้างนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือผู้ใช้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เครื่องมือ Google Bot ที่เข้ามาเก็บข้อมูลเข้าใจลำดับชั้นและความเกี่ยวข้องของหน้าเว็บของคุณอีกด้วย
  • ช่วยผลักดันเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรกในผลการค้นหาด้วยวิธีธรรมชาติ โดย Bot จะใช้ลิงก์ภายในเพื่อรวบรวมข้อมูล และประเมินคะแนนของเว็บไซต์ หากลิงก์ภายในมีการวางโครงสร้างอย่างเหมาะสม แทรกไว้ภายในเนื้อหาอย่างเป็นธรรมชาติ ก็จะสามารถช่วยปรับปรุง SEO ให้ทุกหน้าในเว็บไซต์มีคุณภาพสูง และได้รับการจัดอันดับอยู่ในลำดับต้นๆ ได้
Internal Links คืออะไร

ประเภทของ Internal Links

Internal Links มีหลายรูปแบบ แต่ละลิงก์มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

- Navigation Links

ลิงก์เมนูหลัก ที่มักจะพบที่ด้านบนหรือด้านข้างของเว็บไซต์ เป็นเมนูหลักที่ช่วยในการเข้าถึงส่วนที่สำคัญที่สุด เช่น หน้าแรก เกี่ยวกับเรา บริการ และการติดต่อ

- Contextual Links

การลิงก์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ ซึ่งลิงก์เหล่านี้จะฝังอยู่ในเนื้อหาของหน้า และมีความเกี่ยวข้องกันตามบริบท ตัวอย่างเช่น ในบล็อกโพสต์เกี่ยวกับ การทำ SEO ทำไมต้องมี Internal Link ลิงก์ตามบริบทอาจนำไปสู่หน้า “Internal Link คืออะไร”

- Footer Links

ส่วนท้ายของเว็บไซต์ จะพบที่ด้านล่างของหน้าเว็บ ลิงก์ส่วนท้ายอาจมีลิงก์ที่สำคัญทั่วทั้งเว็บไซต์ เช่น นโยบายความเป็นส่วนตัว ข้อกำหนดในการให้บริการ ลิงก์ไปยังหน้าสำคัญ หรือแผนผังเว็บไซต์

- Breadcrumbs

ลิงก์การนำทาง โดยทั่วไปจะแสดงที่ด้านบนของหน้า เพื่ออธิบายเส้นทางของผู้ใช้ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจตำแหน่งปัจจุบันที่อยู่ตามลำดับชั้น ทำให้ย้อนกลับได้ง่าย มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ e-Commerce และเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน

- Related Posts

บทความที่สัมพันธ์กันกับบทความปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเห็นกันในตอนท้ายของบล็อกโพสต์ เนื้อหาเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ ได้ค้นหาบทความที่เกี่ยวข้องได้ง่าย และกระตุ้นให้พวกเขาอยู่บนเว็บไซต์นานมากขึ้น

เทคนิควิธีการทำ Internal Links ให้มีประสิทธิภาพ

Internal Links คืออะไร

ตอนนี้เราได้กล่าวถึงข้อมูล Internal Linking เบื้องต้นไปแล้ว เรามาเจาะลึกเทคนิควิธีการทำ Internal Links ให้มีประสิทธิภาพกัน

  • ใช้ Anchor Text ที่สื่อความหมาย โดยข้อความที่ใช้สำหรับลิงก์ ควรเป็นคำอธิบายที่กระชับ ได้ใจความ ช่วยให้ทั้งผู้ใช้เข้าใจว่าจะพบอะไรเมื่อคลิกลิงก์ หลีกเลี่ยงคำที่คลุมเครือ เช่น “คลิกที่นี่” หรือ “อ่านเพิ่มเติม”
  • ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ผู้ใช้ เป้าหมายหลักควรเป็นการปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้ วางลิงก์ภายในที่อยู่ในตำแหน่งที่ดีและเป็นธรรมชาติ มุ่งเน้นการสร้าง Internal Links ที่มีความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน สอดคล้องกับเป้าหมายการทำ SEO
  • จัดระเบียบเนื้อหาบนเว็บไซต์ตามลำดับชั้นของการนำเสนอ มีการไล่เรียงลำดับขั้นของเนื้อหาจากส่วนที่สำคัญที่สุด ไปยังเนื้อหาที่มีความเฉพาะเจาะจงขึ้นเรื่อย ๆ และ Internal Links ควรเชื่อมโยงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันภายในหมวดหมู่หรือหัวข้อเดียวกัน
  • ตรวจสอบและอัปเดต Internal Links เป็นประจำ เพื่อแก้ไขลิงก์ที่ใช้งานไม่ได้ ลิงก์ที่ใช้งานไม่ได้อาจทำให้ผู้ใช้หงุดหงิด และส่งผลเสียต่อ SEO โดยสามารถใช้เครื่องมือออนไลน์ค้นหา และแก้ไขลิงก์ที่เสียหายได้
  • กระจายลิงก์ให้เกิดความสมดุล เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้อยู่บนเว็บไซต์ได้นานขึ้น รวมถึงกระจายอำนาจให้หน้าเพจอื่นๆ ที่สำคัญ หลีกเลี่ยงการใช้ลิงก์จำนวนมากเกินไปในหน้าเว็บเดียว เหมือนการสร้างรากฐานให้บ้านแข็งแรง ยิ่งแข็งแกร่ง และเชื่อมต่อกันดีเท่าไรก็ยิ่งไปได้สูง
  • ตรวจสอบ Internal Links ให้มั่นใจว่าลิงก์ภายในนั้น ผู้ใช้สามารถเข้าถึงส่วนต่างๆ ได้อย่างง่ายดายทั้งบนอุปกรณ์มือถือ และแท็บเล็ต ลดอัตราตีกลับ (Bounce Rate)

Internal Links ส่งผลกระทบอย่างไรต่อ SEO

Internal Links คืออะไร

แท้จริงแล้ว Internal Linking เสมือนการสร้างแผนที่สำหรับเครื่องมือค้นหา (เช่น Google) เมื่อใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อ SEO ของเว็บไซต์ดังนี้

  • Internal Links จะทำหน้าที่นำทาง Bot ไปยังหน้าต่างๆ บนเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยในการรวบรวมข้อมูล และการจัดทำดัชนีเนื้อหามีประสิทธิภาพ หากหน้าสำคัญขาด Internal Links บางหน้าอาจยังคงถูกซ่อนจากเครื่องมือค้นหา ส่งผลให้การมองเห็นในผลการค้นหาลดลง
  • เมื่อใช้ข้อความที่คลิกได้ในลิงก์ภายใน หากใช้คีย์เวิร์ดที่มีการเชื่อมโยงกับเนื้อหา Bot จะส่งสัญญาณไปยังเครื่องมือค้นหาว่าคีย์เวิร์ดใดมีความสำคัญ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดอันดับ
  • Internal Links สามารถกระจายอำนาจภายในเว็บไซต์ได้ ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างหน้าที่มีอำนาจสูงลิงก์ไปยังหน้าอื่น วิธีนี้จะช่วยให้หน้าเว็บเหล่านั้นปรากฏในผลการค้นหาที่สูงขึ้น
  • ลดอัตราตีกลับ (ฺBounce Rate) เมื่อผู้ใช้พบลิงก์ภายในที่เกี่ยวข้อง พวกเขามีแนวโน้มที่จะคลิกต่อไปยังลิงก์หน้าเว็บอื่นๆ แทนที่จะออกไปเลย

บทสรุป

เป็นยังไงกันบ้าง สำหรับบทความ Internal Links ที่เรานำมาฝาก การทำ Internal Links เป็นกลยุทธ์ในการปรับปรุงอันดับของเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการจัดอันดับของหน้าเว็บ นำไปสู่การติดอันดับที่ดี และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ อย่างไรก็ตามต้องทำการวิเคราะห์อย่างรอบคอบเพื่อเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์มีอันดับที่ดีขึ้น

หากคุณกำลังมองหา SEO Agency หรือบริษัทรับทำ SEO Search Studio เรามีบริการรับทำ Link Building ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์และช่วยให้ธุรกิจของคุณติดอันดับในหน้าค้นหา สามารถติดต่อเราได้ที่ admin@searchstudio.co.th ได้เลยค่ะ

Written By

Jutamas Lampech
เมย์เริ่มงานสาย Online Marketing มาได้มาได้มากกว่า 3 ปีแล้ว และยังคงศึกษางาน SEO และ Online Marketing ต่อไป ด้วยเป็นเด็กสายวิทย์ที่ชอบการอ่านมากกว่าฟัง ชอบวิเคราะห์ มีความขี้สงสัยและต้องค้นหาเหตุผลให้เจอ ยังคงหลงใหลในศิลปะการทำอาหาร สุดท้ายแล้วขอให้แมวจรทุกตัวมีบ้านค่ะ

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Views

Get New Articles Monthly!

Recommend Article

Free SEO
Consultation

Claim your revenue growth strategy session valued at ฿35,000 – absolutely FREE!

Limited spots available !

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.