เรียกได้ว่าเว็บไซต์นั้นเปรียบเสมือนหัวใจหลักของธุรกิจเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นเหมือนตัวเชื่อมโยงระหว่างลูกค้าและธุรกิจบนโลกออนไลน์ได้ดีที่สุด การสร้างและพัฒนาให้เว็บไซต์ของธุรกิจมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะสามารถเปลี่ยนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ให้กลายเป็นลูกค้าได้ Subdomain เองก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจในการใช้จัดการเว็บไซต์ได้เป็นสัดส่วน และยังเพิ่มโอกาสในการขายให้กับคุณได้อีกด้วย
ในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักว่า Subdomain คืออะไร ตัวอย่างในการใช้งาน รูปแบบในการนำไปใช้ และประโยชน์ในการใช้งาน Subdomain คืออะไรบ้าง มาร่วมหาคำตอบไปด้วยกันได้เลยค่ะ
Subdomain คืออะไร?
Subdomain คือส่วนของโดเมนที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการจัดการคอนเทนต์และขยับขยายข้อเสนอทางธุรกิจของคุณให้ดีขึ้นผ่านการสร้างเพจหรือฟังก์ชัน เช่น ร้านค้าอีคอมเมิร์ชหรือบล็อกข้อความ เป็นต้น โครงสร้างของ Subdomain เป็นส่วนหนึ่งของลิงก์ URL ที่เริ่มด้วย http แล้วตามด้วย Subdomain ซึ่งจะทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ไปยังเบราเซอร์ของคุณเพื่อทำการโหลดเว็บไซต์
ต่อจาก Subdomain คือ SLD หรือ Second-Level Domain ซึ่งเป็นชื่อของธุรกิจและแบรนด์ และ TLD หรือ Top-Level Domain ซึ่งเป็นส่วนของนามสกุลเว็บไซต์ เช่น .com หรือ .co.th และลงท้ายด้วย Page Path และชื่อโดเมนคือส่วนของ SLD รวมกับ TLD
ตัวอย่าง Subdomain และข้อดีของการใช้ Subdomain
ชื่อโดเมนของ Google คือ Google.com อย่าง Subdomain ที่ Google ใช้คือ เช่น ads.google.com สำหรับเพจที่มีเนื้อหาสำหรับการโฆษณาใน Google โดยเฉพาะ
ซึ่งข้อดีของการใช้งาน Subdomain ก็คือการแยกเพจในเว็บไซต์ออกเป็นสัดส่วน โดยเฉพาะสำหรับแบรนด์ธุรกิจที่มีหลากหลายบริการให้เลือก การแยก Subdomain ออกเป็นสัดส่วนเช่นนี้จะช่วยให้ Search Engine เข้าใจถึงเนื้อหาในเว็บไซต์ สร้างเพจที่มีความแตกต่าง เปรียบเสมือนกับว่ามีเว็บไซต์ใหม่อีกหนึ่งเว็บไซต์ภายใต้เว็บไซต์หลักเดียวกัน
นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ในการป้องกันความสับสน Subdomain เป็นวิธีที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถออกแบบเพจที่มีดีไซน์แตกต่างกันสำหรับแค่ละผลิตภัณฑ์และบริการที่ธุรกิจมีได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ที่ได้จากการใช้งาน Subdomain
- สร้างบล็อก
หลายธุรกิจสร้าง Subdomain สำหรับบล็อกแยกออกมาเพื่อให้มีเว็บเพจสำหรับการใช้คีย์เวิร์ดที่แตกต่างจากหน้าเพจหลักโดยเฉพาะ นอกจากบริการหลักแล้ว หลายธุรกิจยังต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดผ่านการเขียนบล็อก หรือแจ้งข่าวสาร ทำให้ธุรกิจมี Subdomain ที่แยกออกมาจากเพจบริการหลักโดยตรง
- สร้างร้านค้าออนไลน์
คุณสามารถใช้ Subdomain ในการสร้างฟังก์ชันอีคอมเมิร์ชสำหรับเว็บไซต์เพื่อขายสินค้าหรือบริการโดยตรงจากเว็บหลักของคุณได้ และแยกออกมาเป็นสัดส่วน เช่น การใช้งาน Shopify หรือ WooCommerce เป็น Subdomain แยกออกมาจากเว็บไซต์ WordPress ของคุณ
- เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานมือถือ
Subdomain สามารถสร้างขึ้นเพื่อให้มีฟังก์ชันในการใช้งานบนมือถือได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับผู้ใช้งานโทรศัพท์โดยเฉพาะ โดยที่ไม่ต้องปรับทั้งเว็บไซต์หลัก
- วางเป้าหมายใหม่กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง
หลากธุรกิจของคุณมีไลน์ผลิตภัณฑ์หรือบริการสำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายใหม่ที่ต่างไปจากเดิม คุณสามารถสร้าง Subdomain ที่ตอบโจทย์สำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายนั้นโดยเฉพาะสำหรับเป็น Landing Page ได้
- สร้างส่วนสนับสนุนช่วยเหลือสำหรับเว็บไซต์ธุรกิจ
ส่วนสนับสนุนช่วยเหลือของธุรกิจเป็นอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญอย่างมาก เป็นอีกหนึ่งส่วนในการให้บริการลูกค้า และช่วยประหยัดเวลาได้ในระดับหนึ่งเมื่อลูกค้าสามารถค้นหาคำตอบที่ต้องการได้ด้วยตัวเองแทนการส่งอีเมลหรือโทรหา Call-Center ตลอดเวลา ส่วนของ FAQ เล็ก ๆ อาจไม่เพียงพอ ทำให้ต้องสร้างผ่าน Subdomain สำหรับ Subdomain โดยเฉพาะ
- สร้าง Subdomain สำหรับภาษาอื่น ๆ
หากธุรกิจของคุณขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ซึ่งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ การสร้าง Subdomain สำหรับแต่ละภาษาโดยเฉพาะ พร้อมกับการออกแบบรูปแบบและเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในแต่ละประเทศได้ดี และยังเป็นการประหยัดกว่าการซื้อโดเมนที่มีนามสกุลของประเทศนั้น ๆ กว่าเป็นอย่างมาก การใช้ Subdomain ช่วยให้คุณประหยัดต้นทุนไปได้มากเลยทีเดียวล่ะ
บทส่งท้าย
เราได้รู้จักว่า Subdomain คืออะไร? รวมถึงประโยชน์ที่สามารถนำ Subdomain ไปปรับใช้ เพื่อเป้าหมายในการสร้างให้เว็บไซต์ของคุณมีความเป็นระเบียบ เป็นมิตรต่อการใช้งานของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ และสามารถเพิ่มโอกาสในการขายให้กับคุณได้โดยทางอ้อม โดย Subdomain เป็นเครื่องมือเล็ก ๆ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ง่าย ๆ นอกจากนั้นยังช่วยให้คุณประหยัดต้นทุนสำหรับธุรกิจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเว็บไซต์ไปในระยะยาวด้วย