eCommerce

เริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ สอนวิธีการขายของออนไลน์ฉบับสมบูรณ์

Fast To Read

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าเหตุการณ์ Covid-19 ส่งผลกระทบในวงกว้างกับธุรกิจแทบจะทุกประเภทไม่มากก็น้อย แน่นอนว่าไม่ใช่คุณคนเดียวที่ประสบปัญหายอดขายลดลง ไม่ว่าจะธุรกิจที่มีหน้าร้าน หรือธุรกิจออนไลน์ต่างก็ประสบปัญหานี้ ร้านที่ขายออนไลน์อยู่แล้วก็ยังดีที่อาจจะสูญเสียโอกาสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ร้านที่ไม่มีช่องทางออนไลน์เลยนี่สิ จะหันมาขายออนไลน์บ้าง ก็ไม่รู้จะเริ่มยังไง

ไม่ต้องห่วงค่ะ เสิร์ชสตูดิโอได้รวบรวมคู่มือการเริ่มต้นขายของออนไลน์ไว้ในบทความนี้แล้ว อยากจะลองผันตัวเองมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์แล้ว ต้องเริ่มยังไงมาดูกัน

เลือกสินค้าที่จะขาย

ขายของออนไลน์

ถ้าคุณมีสินค้าที่จะขายอยู่แล้ว แล้วก็เข้าใจในสินค้าของตัวเองดี ก็สบายไปเปลาะหนึ่งเลย สามารถข้ามขั้นตอนว่าจะหาสินค้าอะไรมาขายไปได้ แต่ถ้าคุณยังไม่รู้เลยว่าจะขายอะไรก็ไม่เป็นไรค่ะ ยังมีคนอีกมากที่อยากเริ่ม แต่ไม่มีไอเดียเลยว่าตัวเองอยากขายอะไร 

ขายของออนไลน์ ขายอะไรดี?

คำถามที่ว่าเราควรขายอะไร อะไรจะฟังดูไม่ยาก แต่เป็นคำถามสำคัญที่จะส่งผลต่อการวางแผนในขั้นตอนต่อๆ ไป เพราะสินค้าที่แตกต่างกันก็จะมีตลาดที่แตกต่างกัน วิธีการขายก็แตกต่างกันไปด้วย

เสิร์ชสตูดิโอลองแบ่งวิธีการเลือกสินค้ามาขายง่ายๆ กันเป็น 5 ประเภทดังนี้ค่ะ

สินค้าที่ตอบโจทย์ในชีวิตประจำวัน

สินค้าหรือบริการที่จะสามารถมาตอบปัญหาที่เรามีในชีวิตประจำวันนั้นไม่จำเป็นต้องซับซ้อน อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ ก็ได้ ลองสังเกตดูว่าในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปมันนั้นมีช่องวางตรงไหนที่คุณเข้าไปเติมได้ แล้วทำให้ลูกค้ารู้สึกสะดวกสบายและประหยัดเวลามากขึ้น 

แม้แต่การขายสินค้าอุปโภคบริโภคที่คนใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่แล้วเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

สินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนั้น

อย่างที่บอกไปค่ะว่าเราไม่จำเป็นต้องทำอะไรที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนก็ได้ การขายของหรือให้บริการอะไรที่มีคนทำกับแพร่หลายอย่างมากก็ไม่ได้ผิดอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งที่เราคิดจะขายกำลังเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากก็เป็นไอเดียที่ดีเช่นกัน 

สินค้าที่คุณชอบและมีความรู้เกี่ยวกับมัน

ข้อนี้จริงๆ อาจจะคาบเกี่ยวกับข้ออื่นด้วย ตรงที่ไม่ว่าเราจะขายสินค้าประเภทไหน หรือให้บริการอะไร เราก็ควรจะชอบมัน และก็ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการนั้นเอาไว้ให้มากๆ ไม่ใช่ทำเพื่อให้ขายได้ไปวันๆ เพราะการประกอบกิจการใดๆ ก็ตาม ถ้ามีความรักและการดูแลเอาใจใส่ รวมทั้งการหาความรู้ใหม่ๆ ประกอบไปด้วยอย่างไม่หยุดหย่อน จะทำให้ธุรกิจเราไปได้ไกลกว่าการทำเพื่อเพียงพอผ่านนะคะ

สินค้าที่คุณทำขึ้นเอง

สินค้าที่ทำขึ้นเอง หรือสินค้า handmade นั้น เรียกได้ว่าเป็นสินค้าที่มีจุดขายตรงที่สินค้าชิ้นนั้นไม่มีใครเหมือน เป็นการ made to order หรือทำเพื่อลูกค้าคนนั้นคนเดียว เช่น การทำของขวัญสกรีนลายต่างๆ กำไลหินสี วาดรูปตามออเดอร์แล้วเอาเข้ากรอบ หรือการทำพวกพวงกุญแจอะคริลิคตามสั่ง เป็นต้น 

ซึ่งแน่นอนว่าการจะทำสินค้างานฝีมือเหล่านี้ได้ก็ต้องมีทั้งเวลาและใจรักร่วมด้วย

สินค้าประเภทพรีออเดอร์ 

ถ้าเป็นคนที่รู้ช่องทางที่จะพรีออเดอร์ขอมาได้ในราคาถูกจำนวนมาก แล้วรู้แหล่งขายก็จะง่ายมาก คนที่สั่งสินค้าพรีออเดอร์มักจะโอเคกับการบวกราคากำไรจากเราอยู่แล้ว เพราะลูกค้าจะรู้ว่าง่ายกว่าการที่ลูกค้าต้องสั่งเองนั่นเอง

คิดเรื่องเงินทุนและต้นทุนต่างๆ

ขายของออนไลน์

เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าคุณอยากขายอะไร คำถามต่อไปก็คือ คุณจะหาแหล่งเงินทุนจากไหน ออกทุนของตัวเอง ชวนเพื่อนหรือครอบครัวมาลงทุนด้วย กู้เงินจากธนาคาร  คุณต้องวางแผนให้ดีว่าด้วยเงินทุนที่คุณมีอยู่ คุณน่าจะสร้างกำไรได้เท่าไหร่ ต้องเอาปัจจัยต่างๆ ทั้งหมดมาคิดคำนวณตั้งแต่ขั้นตอนแรก ทั้งค่าต้นทุนสินค้า ค่าเสียเวลาของคุณเอง ค่าส่งของ ค่าโฆษณาโปรโมทสินค้า 

วิเคราะห์และวางแผนการตลาด

การรู้จักวิเคราะห์ตลาดและวางแผนการตลาดเบื้องต้นเป็น เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ร้านขายของของคุณสามารถทำยอดขายที่ดีได้ เพราะจะมีสินค้าที่ขายในราคาถูก ลดแลกแจกแถม แต่ถ้าไม่มีใครรู้จักร้านของคุณ หรือพาตัวเองไปไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายก็จบ

ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องวางแผนให้ดีว่าจะโปรโมทร้านค้าออนไลน์ รวมทั้งรู้วิธีดึงดูดลูกค้าอย่างไร เพื่อให้ร้านของคุณที่เพิ่งเปิดใหม่สามารถตามร้านอื่นๆ ที่เปิดมาก่อนได้ โดยสามารถเริ่มจากถามคำถามต่อไปนี้กับตัวเองดู

  • ของที่คุณขายเหมือนหรือต่างกับของร้านอื่นไหม อย่างไร
  • เป้าหมายของคุณคืออะไรในระยะสั้น และระยะยาว
  • อยากให้ร้านของคุณเป็นแบบนั้น
  • ลูกค้าที่จะซื้อสินค้าเหล่านี้ของคุณเป็นใคร

หลังจากนั้นจึงเริ่มต้นวางแผนอย่างชัดเจนไปที่ละขั้นตอน

ขายของออนไลน์

มีชื่อร้าน/แบรนด์

ชื่อร้านหรือแบรนด์ควรจำง่าย ไม่ซ้ำกับคนอื่น สะท้อนถึงตัวตนของร้านหรือแบรนด์ของคุณ ถ้าคุณอยากจะคิดให้ครอบคลุมไปถึงโลโก้ และสีประจำ ลักษณะการดีไซต์กราฟิกที่จะใช้ในแบรนด์ด้วยเลยก็ได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม: Corporate Identity (CI) คืออะไร? จะสร้าง Brand ทำไมต้องมี

รู้จุดยืนของตัวเอง เสริมจุดแข็ง เติมเต็มจุดอ่อน

ในการทำมาค้าขาย กฎข้อหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไปตามกาลเวลาเลยก็คือ การรู้เขารู้เรา ต้องเข้าใจคู่แข่ง รวมทั้งเข้าใจตัวคุณเอง รู้ว่าตัวเองจะมีจุดแข็งใดที่เด่นกว่าคนอื่น หรือจุดอ่อนได้ที่ต้องการการเติมเต็ม

หากลุ่มเป้าหมายให้เจอ

ถ้าคุณมีฐานลูกค้าจากร้านออฟไลน์อยู่แล้ว ให้ลองดูว่าจะสามารถเข้าถึงลูกค้าฐานเดิมที่เป็นลูกค้าออฟไลน์เหล่านี้ได้จากนั้น รวมทั้งลองนั่งวิเคราะห์ปัจจัยต่อไปนี้ด้วย

  • อายุ
  • เพศ
  • ถิ่นที่อยู่อาศัย
  • ระดับการศึกษา
  • ระดับรายได้
  • อาชีพ
  • ไลฟ์สไตล์
  • ความสนใจ

คิดโปรโมชั่น

ถือเป็นส่วนที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องคิดไว้ตายตัว เราจะคิดโปรโมชั่นอะไรออกมานั่น จะต้องพิจารณาร่วมกับช่องทางการขายว่าขายในไหน รวมทั้งกลุ่มลูกค้าว่าเป็นใครด้วย

สร้าง Loyalty Program

แน่นอนว่าเพื่อให้ร้านค้าออนไลน์ของเราดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงไม่ติดขัด เราย่อมต้องอยากที่จะเห็นลูกค้าที่เคยใช้บริการหรือซื้อสินค้าไปแล้วกลับมาหาเราอีกเรื่อยๆ นี่จึงเป็นที่มาของ Royalty Program ว่าเราจะวิธีการอย่างไรที่จะดึงดูดลูกค้าให้กลับมาเราเรื่อยๆ ได้

หาช่องทางการขายที่เหมาะสมกับคุณ

การหาช่องทางการขายของออนไลน์อาจไม่ได้จำเป็นว่าต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง คุณอาจจะสามารถใช้หลายๆ แพลตฟอร์มร่วมกันไปด้วยได้ เช่น ใช้ IG ร่วมกับ LINE@, Line AO เป็นต้น หรือจะมีทั้งร้านใน Shopee มีทั้งเพจ Facebook มีทั้ง LINE@ ทุกอย่างอาจขึ้นอยู่กับว่าคุณดูแลได้ทั่วถึงไหม

แต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ถ้าไม่รู้จะเริ่มใช้แพลตฟอร์มไหน ก็ให้ลองดูตัวอย่างจากคู่แข่งก็ได้ว่าคู่แข่งของคุณเค้ามีช่องทางไหนบ้างในการเปิดร้าน ต่อไปเราจะขอพูดถึงแต่ละช่องทางแบบพอสังเขป

ขายของออนไลน์

Facebook Page

เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็มี Facebook กันทั้งนั้น โดยเฉพาะคนไทย แต่คนที่ไม่มีรวมทั้งไม่เล่นเลยก็มีนะเออ นักเขียนเองบทความฉบับนี้เองก็ไม่มี Facebook เช่นกัน เมื่อคนคิดถึงการขายของออนไลน์ก็จะคิดถึงการขายผ่าน Facebook เพราะเป็นที่นิยมในกลุ่มหลากเพศและวัย เรียกได้ว่ามีฐานลูกค้าที่กว้างว่า Instagram ที่อาจจะเน้นกลุ่มวัยรุ่นและวันทำงานมากกว่า

นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นตรงความเป็นทางการที่มีมากกว่าโซเชียลมีเดียอื่นๆ รูปแบบของแอปช่วยให้คุณสามารถพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้มากกว่า ลูกค้าสามารถให้รีวิวได้ สามารถจัดกิจกรรม หรือเล่นเกมลุ้นรางวัลเพื่อโปรโมทร้านได้สะดวกและง่ายดายมาก 

อ่านเพิ่มเติม: วิธีสร้างแฟนเพจ Facebook ด้วยตัวเองง่ายและฟรี ฉบับอัปเดต 2020

Instagram (IG)

อีกหนึ่งช่องทางในการขายของออนไลน์ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะ Instagram นั้นเข้าถึงคนกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานได้สะดวกง่ายดายมาก มีจุดเด่นตรงแอปพลิเคชันใช้งานสะดวก มีสีสันมากกว่า สามารถทำให้ร้านค้าดึงดูดลูกค้าได้ด้วยรูปภาพที่สวยงาม ซึ่งเข้ากันมากกับร้านขายของที่สินค้าเยอะ และอยากจะเน้นการนำเสนอที่สนุกสนานผ่านรูปภาพ ไอจีสตอรี่ หรือการ Live

LINE@

ปัจจุบันนี้ Line แทบจะเข้ามาเป็นช่องทางสื่อสารผ่านข้อความหลักของคนไทยแล้ว ด้วยความที่ใช้งานฟรีและสามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย ส่งต่อข้อความได้ทันใจ สร้างกรุ๊ป Open Chat รวมกลุ่มคนที่มีความสนใจตรงกันได้อีกต่างหาก มีอะไรใหม่ๆ ให้ลองเล่นเสมอ และก็มีพัฒนาการที่น่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ อยู่ตลอด

ในส่วนของ Line@ นั้นก็ถูกพัฒนามาเพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขายของให้ร้านค้าโดยเฉพาะเลยล่ะ Line@ มีลูกเล่นต่างๆ ให้เล่นมากมาย ทั้งช่วยให้ลูกค้าสามารถสะสมแต้ม แจกคูปองแลกรางวัล แถมยังสามารถบรอดแคส (Broadcast) ข้อความโปรโมทสินค้าและข่าวสารจากเราไปสู่ลูกค้าพร้อมกันอย่างฉับไวด้วย ทำให้เหมาะกับการนำไปประกอบการสร้าง Royalty Program มากทีเดียวเชียว

Shopee / Lazada

นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก Shopee หรือ Lazada เพราะเป็นเว็บอีคอมเมิร์ซ หรือก็คือแหล่งรวบรวมร้านช้อปปิ้งออนไลน์ที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรสุดๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา ถ้าจะเทียบก็เหมือน Amazon ของอเมริกา หรือ JD.com ของจีน (ที่ตอนนี้ก็เข้ามามีส่วนแบ่งตลาดในไทยแล้ว) ในหลายปีให้หลังมานี้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างมากในภูมิภาคนี้ ทำให้ยิ่งเป็นเรื่องยากที่เราจะข้ามเว็บอีคอมเมิร์ซเหล่านี้ไป 

อาจจะมีลูกค้าหลายคนที่อยากเปรียบเทียบราคา และสินค้าหลายๆ แบบในที่เดียว หรือบางทีก็มีที่ระแวงที่ต้องจายเงินโดยตรง กลัวโดนโกง อยากที่จะจ่ายเงินผ่านตัวกลางเพื่อให้แน่ใจในความปลอดภัยและคุณภาพ ก็จะเลือกเข้าเว็บหรือแอปเหล่านี้มากกว่าจะเข้าไปดูในโซเชียลมีเดียอื่นๆ

แต่แน่นอนว่าการเปิดร้านในเว็บอีคอมเมิร์ซเหล่านี้ก็จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าการเปิดเพจ Facebook เปิด Instagram โดยตรงเองอยู่แล้ว อิสระในการสร้างคอนเทนต์เพื่อดึงดูดลูกค้าก็น้อยกว่าการมีเพจ Facebook หรือโซเชียลมีเดียเป็นของตัวเอง

อ่านเพิ่มเติม: 3 ขั้นตอนสมัครขายของในลาซาด้า (Lazada) ง่ายๆ ใน 5 นาที

GrabFood / Wongnai / Foodpanda / LINE MAN / GET

ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าสามารถขายอาหารออนไลน์ โดยการเป็นพาร์ทเนอร์กับเหล่าแอปสั่งอาหารต่างๆ ที่มีการให้บริการมากมายในไทย ไม่ว่าจะเป็น GrabFood, FoodPanda, Wongnai, LINE MAN หรือ GET ที่จะทำให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารจากร้านผ่านตัวแอปตัวได้เลยทันที เพียงแต่คุณอาจจะเสีย % ให้กับคนกลางไปบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพราะว่าสะดวกกับลูกค้าและตัวคุณด้วยเช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม: 8 วิธีโปรโมทและโฆษณาร้านอาหารออนไลน์ สำหรับปี 2020

eBay/Etsy

eBay กับ Etsy เป็นเว็บไซต์คนกลางที่เรียกได้ว่าเป็น Marketplace ที่มีชื่อเสียงพอสมควรสำหรับการขายของให้ชาวต่างชาติ โดยที่ของที่ขายก็ต้องเป็นของที่จำเพาะจริงๆ ก็คือเป็นตลาดอีกแบบ เช่น พวกของ handmade งานฝีมือ งานศิลปะ ถือว่าเป็นแหล่งที่ดีที่ให้เราสามารถไปเปิดขายของและอาจทำรายได้ดี แต่ต้องแน่ใจว่าตลาดของสินค้าที่เราขายมีลักษณะตรงกันกับกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่ในเว็บเหล่านี้

Website

การเริ่มต้นขายของผ่านเว็บไซต์ของตัวเองนั้นใช้งานมหาศาล เพราะการสร้างเว็บที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานนั้นต้องการทั้งต้นทุนที่เป็นเงินและเวลาที่ค่อนข้างมาก ไหนจะต้องมาคอยดูแลเว็บไซต์และอัปเดตอยู่ตลอดเวลา ในประเทศไทยเองก็ไม่ได้นิยมการสร้างเว็บเพื่อขายของเท่าต่างประเทศ 

ตลาดในไทยนั้นเน้นการซื้อขายผ่านโซเชียลมีเดียเอง เพราะสะดวกมากกว่าและได้ผลดี 

แต่แน่นอนว่าถ้าอยากจะยกระดับแบรนด์ อยากให้ธุรกิจดูมีพื้นที่ที่ดูเป็นทางการมากขึ้น รวมทั้งพร้อมที่จะดูแลเว็บไซต์ การสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แล้วทำโฆษณาผ่าน Google Ads ควบคู่ไปกับการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ไปปรากฏอยู่ในเสริชเอนจิ้น ก็เป็นหนทางที่จะอีกหนึ่งช่องทางการขายสินค้า รวมทั้งพื้นที่ในการแสดงความเป็นตัวตนของแบรนด์ของคุณเองในโลกออนไลน์

มีช่องทางการชำระเงินที่สะดวก

ขายของออนไลน์

ช่องทางการชำระเงินเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรมีขั้นตอนที่ชัดเจน ยุ่งยากให้น้อยที่สุด สร้างความสะดวกและความรู้สึกสบายใจกับลูกค้าให้มากที่สุด ควรเปิดบัญชีสำหรับร้านของคุณกับธนาคารที่คนส่วนใหญ่ใช้บริการ 

สำหรับใครที่วางแผนจะขายสินค้าให้กับลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ คุณก็ควรมีบัญชีที่สามารถรองรับการโอนเงินจากต่างประเทศ รวมทั้งเปิดบัญชี Paypal ซึ่งนับว่าเป็นตัวช่วยที่มีมาตรฐานและใช้กันทั่วโลก เพื่อให้การทำธุรกรรมข้ามประเทศเป็นเรื่องที่ปลอดภัย สะดวก และง่าย

นำเสนอสินค้าให้ดูดีมี คุณภาพ และเหมาะสมกับสินค้าที่จะขาย

อย่าลืมว่าการนำเสนอสินค้าให้ออกมาดูดี รวมทั้งมีการนำเสนอที่น่าสนใจ ก็จะยิ่งสามารถดึงดูดลูกค้าได้ ใครๆ ก็ชอบเห็นของสวยๆ งาม เพราะฉะนั้นขั้นตอนนี้ต้องมีการลงทุนและวางแผนอย่างจริงจัง จะถ่ายรูปออกมายังไงให้สินค้าดูน่าซื้อ ต้องใช้นางแบบมาช่วยพรีเซนต์ใหม่ ถ่ายขายของในไอจีต้องคุมโทนหรือเปล่า เหล่านี้ล้วนลองนั่งคิดวางแผนให้ดี ในพาร์ทนี้เสิร์ชสตูดิโอขอแบ่งหัวข้อย่อยออกเป็น 2 เรื่องคร่าวๆ ต่อไปนี้

ขายของออนไลน์

การถ่ายรูป

สิ่งสำคัญเริ่มแรกของการทำทุกอย่างคือต้องคิดวางแผน ถามตัวเองว่าเราอยากให้รูปออกมาเป็น Concept ไหน แล้วมันเข้ากับแบรนด์ของเราไหม ถ้าคิดอะไรไม่ออกอาจเริ่มต้นด้วยการถ่ายกับอะไรที่เป็นสีพื้น เช่น โต๊ะไม้ พื้นหลังสีขาว พอเริ่มชำนาญอาจจะใช้พร็อบมาประกอบมากขึ้น ใช้แสงจากธรรมชาติผ่านหน้าต่างช่วย แล้วลองฝึกแต่งสีภาพแต่พอประมาณ อย่าหนักมือเกินไปเพราะสีอาจจะเพี้ยนไปจากสีจริงของสินค้าได้

การสร้างคอนเทนต์

สร้างคอนเทนต์หรือเนื้อหาที่มุ่งเน้นการให้ความรู้ลูกค้า หรือมุ่งตอบคำถามลูกค้า นับเป็นการนำเสนอสินค้าทางอ้อม เป็นการตลาดแบบดึงดูดให้ลูกค้ามาให้ความสนใจมากกว่าจะเป็นการขายตรงๆ ซึ่งการสร้างคอนเทนต์ในลักษณะค่อนข้างเป็นที่นิยมในปัจจุบัน หรือถ้าไม่สร้างคอนเทนต์เอง ก็อาจจะเน้นการแชร์ในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า แสดงความใส่ใจที่เรามีต่อลูกค้าเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ไม่ใช่เอาแต่ขายของอย่างเดียว

อ่านเพิ่มเติม: Content Marketing คืออะไร ทำไมแบรนด์ยุคนี้ต้องเน้นเรื่องคอนเทนต์

คิดเรื่องการจัดส่งสินค้า

ขายของออนไลน์

แน่นอนว่าจะขายของออนไลน์ เรื่องนี้ก็จะลืมเรื่องนี้ไปไม่ได้เด็ดขาด ต้องพิจารณาเรื่องนี้ตั้งแต่แรกว่าจะใช้บริการขนส่งแบบไหน เอกชนหรือไปรษณีย์ไทย จะมีการวางระบบของรอบของการไปส่งสินค้ายังไง จะมีระบบแจ้ง Tracking No. ให้ลูกค้าทราบได้ยังไง ต้นทุนมีอะไรบ้าง เป็นต้น

ต้นทุนในการแพ็คสินค้า

นอกจากเรื่องพื้นฐานอย่างการคำนวณต้นทุนของการแพ็คสินค้าให้รัดกุมปลอดภัย ค่าบริการขนส่งแล้ว อย่าลืมว่าต้องแพ็คให้เกิดความประทับใจกับลูกค้าด้วยนะว่าเราใส่ใจในสินค้า ความประทับใจที่ดีตะส่งผลให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อของกับเราอีกครั้งค่ะ

ระยะเวลาในการขนส่ง

ต้องทำความเข้าใจกับรอบของการส่งสินค้ากับลูกค้า เพื่อที่ลูกค้าจะได้รู้ว่าจะได้ของประมาณวันไหน และอย่าลืมที่จะแจ้ง Tracking No. ให้ลูกค้าทราบด้วย ซึ่งวิธีแจ้งและพูดคุยกับลูกค้าอาจมีวิธีที่แตกต่างกันออกไปตาม Platform ที่เราคุยกับลูกค้า

อย่าลืมติดตามข่าวสาร Covid-19

ช่วงนี้ (21 เมษายน 2562) เป็นช่วงที่มีการระบาดของ Covid-19 ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ อาจส่งผลทำให้ธุรกิจขนส่งทั้งรัฐและเอกชนอาจเจอกับสถานการณ์ที่ไม่ปกติเข้าเมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้นเราต้องติดตามสถานการณ์ข่าวสารอย่างใกล้ชิด หรือใครที่ขายของส่งไปต่างประเทศก็ยิ่งต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะถ้าหากของไปติดค้างอยู่กลางทางคงไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แน่

อดทนและให้เวลากับธุรกิจ

ขายของออนไลน์

ทุกคนย่อมเริ่มต้นขายของด้วยความหวังว่าอยากได้เงินเร็วๆ อยากได้เงินเยอะๆ หวังให้การลงทุนผลิตผลกำไรออกมาไม่ขาดสาย สร้างรายได้ที่มั่นคง อย่างไรก็ตาม การลงทุนทุกอย่างย่อมมีความเสี่ยงที่ผลจะไม่เป็นดั่งใจหวัง แต่เราสามารถลดความเสี่ยงที่จะขาดทุนได้ ด้วยการวางแผนให้รัดกุม ใส่ใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้มาก รวมทั้งต้องให้เวลาร้านออนไลน์ของเราค่อยๆ เติบโตด้วย จะให้ยอดขายพุ่งตั้งแต่เดือนแรก เงินทองไหลมาเทมาทันใดคงเป็นไปไม่ได้ 

อย่าลืมที่จะปรับเปลี่ยนและพัฒนาตัวเอง ลองผิดลองถูกดูว่าแบบไหนที่ได้ผลที่ดีในการเรียกลูกค้า และเมื่อเรียกลูกค้าได้แล้วก็อย่าลืมใส่ใจลูกค้าให้มากๆ นะคะ ความใส่ใจในลูกค้า ใส่ใจในสินค้าและบริการ รวมทั้งแสดงให้ลูกค้าเห็นถึงความจริงใจ เป็นการ Give and Take ในเวลาเดียวกัน ทำให้คุณรู้สึกมีความสุขกับการขายของขึ้นอีกเป็นกอง เชื่อสิ!

ฝากไว้อีกนิดกับการขายของท่ามกลาง Covid-19 

แค่เริ่มต้นขายของในภาวะปกติเราก็ต้องใช้ความอดทนอย่างมากแล้ว พอต้องมาขายของท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่ปกติแบบนี้ก็ยิ่งเข้าไปใหญ่ หลายคนอาจจะต้องเผชิญความเครียดว่าเราจะขายของยังไงในสถานการณ์แบบนี้ แต่อย่าลืมนะคะว่าในสถานการณ์ที่ยากลำบากแบบนี้เราไม่ได้เผชิญมันคนเดียว มีหลายคนที่ร่วมชะตากรรมเดียวกันกับเรา และในช่วงเวลาแบบนี้ก็มีหลายหน่วยงาน และพื้นที่ออนไลน์อีกมากมายที่พร้อมจะช่วยเหลือกันและกัน รวมทั้งเป็นกระบอกเสียงให้คุณ ไม่ว่าจะเป็นเอกชนรายใหญ่ที่ออกมาช่วยรายย่อย การฝากร้านตามชุมชนออนไลน์ต่างๆ 

อย่างในเดือนที่ผ่านมาเราเองก็เปิดแคมเปญเล็กๆ เป็นการช่วยโปรโมทหรือบูสท์โพสเพื่อให้ร้านอาหารในชุมชนชาวเชียงใหม่สามารถมาฝากร้านกัน แน่นอนว่าแคมเปญของเราไม่ได้ยิ่งใหญ่อะไร แต่เราอยากเป็นส่วนเล็กๆ ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเกื้อกูลกันเล็กๆ ในชุมชนนี่แหละค่ะ (แปะโพสไว้ให้ดูซะหน่อย)

บริการ SEO ของ Search Studio

Search Studio ให้บริการรับทำ SEO เพื่อช่วยเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยเน้นคุณภาพและประสิทธิพลในระยะยาวเป็นที่ตั้ง ด้วยกลยุทธ์ที่ออกแบบให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ ตั้งแต่การ research เพื่อหากลุ่มของ keywords ที่จำเพาะกับกลุ่มเป้าหมาย ให้คำปรึกษาในการตกแต่งเว็บไซต์และการเผยแพร่บทความที่จะช่วยทั้งในเรื่องของอันดับใน Google และช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์ด้วยเครื่องมือขั้นสูง โดยมีการติดตามผลลัพธ์การทำงานและวัดผลอย่างต่อเนื่อง

Written By

เริ่มเข้าสู่สายงานนี้จากการเป็น Link builder ตัวเล็กๆ ที่ร่างไม่เล็กนัก ผ่านมา 4 ปีแล้วจาก Day 1 ยังพยายามเพิ่มพูนทักษะในสายงาน Digital Marketing อยู่เสมอ ติดบ้านแบบแงะออกยาก ชอบอ่านหนังสือ แต่สะสมไฟล์ epub มากกว่าหนังสือจริง ชอบฟัง Podcast หลงใหลใน Pop culture และการเขียนเรื่องสั้น สนใจเรื่อง Productivity เพราะเชื่อว่าเมื่อเรา Productive การทำงานจะเป็นเรื่องสนุก พูดคุยกับ Gigi ที่ LinkedIn
Views
Recommend Article

รับคำปรึกษา
SEO ฟรี!

ตรวจสถานะ SEO ของเว็บไซต์ของคุณ ฟรี พร้อมคำแนะนำจาก SEO Specialist ของเรา มูลค่า 35,000 บาท

มีจำนวนจำกัด เท่านั้น ติดต่อเราเลย

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.