eCommerce

รู้จัก Payment Gateway ทางเลือกการจ่ายออนไลน์สำหรับธุรกิจยุคใหม่

Patthanin Yuayai | เมษายน 17, 2024

Fast To Read

ชั่วโมงนี้ คงปฏิเสธกันไม่ได้แล้วว่า การซื้อขายสินค้าผ่านตลาดออนไลน์กลายเป็นช่องทางธุรกิจที่สร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ มากกว่าการขายของหน้าร้านเสียอีก เพราะการตลาดออนไลน์เข้ามาแทนที่ด้วยข้อดีกับลูกค้ามากกว่าการขายสินค้าแบบเดิม ๆ ทั้งในเรื่องความสะดวกสบาย และประหยัดเวลา สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เองก็มี Payment Gateway เป็นตัวช่วยที่เข้ามาทำให้ระบบจัดการโอนเงิน และชำระค่าสินค้ามีความปลอดภัย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันว่า Payment Gateway คืออะไร หาคำตอบพร้อมกันได้ในบทความนี้

Payment Gateway คืออะไร

what is payment gateway

หากจะกล่าวให้เข้าใจโดยง่าย Payment Gateway ก็คือ “ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์” ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถชำระเงินได้สะดวก และปลอดภัยขึ้น ไม่ว่าจะผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือ PromptPay ซึ่งอีกด้านหนึ่งก็ช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้รับเงินอย่างปลอดภัยนั่นเอง

Payment Gateway มีอะไรบ้าง

payment gateway-1

คงสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะว่า Payment Gateway มีอะไรบ้าง  Payment Gateway แบ่งออกเป็น 2 ระบบ  คือ Payment Gateway Bank และ Online Payment Gateway (Non-bank)

Payment Gateway Bank คือ ระบบชำระเงินเชื่อมกับธนาคารโดยตรง ซึ่งระบบนี้มีข้อดี คือ ธนาคารจะเป็นผู้ให้บริการโดยตรง จึงความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และให้ความมั่นใจกับผู้ใช้งานได้มากกว่า มีค่าธรรมเนียมค่อนข้างต่ำ แต่มักจะมีเงื่อนไขในเรื่องเงินฝากค้ำประกันซึ่งค่อนข้างสูงเสียด้วยนะคะ ระบบนี้จึงมักจะเหมาะกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนจดทะเบียน 

Online Payment Gateway (Non-bank) คือ ระบบชำระเงินผ่านตัวกลางระหว่างผู้ค้ากับธนาคาร ซึ่งระบบนี้มีข้อดี คือ ไม่ต้องมีเงินฝากค้ำประกัน แต่มีค่าธรรมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มร้านค้าออนไลน์เพราะสมัครง่าย สะดวก และไม่ยุ่งยาก

เลือก Payment Gateway ในไทยเจ้าไหนดี?

payment gateway in Thailand

ปัจจุบันมี Payment Gateway ในไทยให้บริการอยู่หลายราย ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบ Payment Gateway Bank และ Online Payment Gateway (Non-bank) สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะใช้บริการชําระเงินออนไลน์ แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ และไม่รู้จะเลือก Payment Gateway เจ้าไหนดี วันนี้ เรามีตัวอย่าง Payment Gateway ในไทยพร้อมข้อมูลแบบย่อ ๆ มานำเสนอให้ผู้อ่านทราบกันค่ะ

Payment Gateway Bank

K-Payment Gateway

ระบบบริการชําระเงินออนไลน์ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งสามารถแปลงสกุลแบบอัตโนมัติ และรองรับสกุลเงินต่างประเทศได้มากถึง 35 ประเทศทั่วโลก รับชำระได้ทั้งบัตรเครดิต เช่น VISA, MasterCard, UnionPay และ JCB รวมทั้งบัตรเดบิตด้วย โดยไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปี แต่ต้องมีบัญชีเงินฝากค้ำประกัน 200,000 บาท และมีอัตราค่าธรรมเนียมต่อรายการประมาณ 3-5%

Merchant iPay

ระบบบริการชําระเงินออนไลน์ของธนาคารกรุงเทพ สามารถรองรับสกุลเงินต่างประเทศได้ถึง 27 ประเทศทั่วโลก รับชำระผ่านบัตรเครดิต เช่น MasterCard, VISA, UnionPay, JCB และ TPN รวมทั้งบัตรเดบิตด้วย โดยมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 1,500 บาท ค่าธรรมเนียมรายปี 1,000 บาท และค่าธรรมเนียมต่อรายการ 3–5% โดยต้องมีบัญชีเงินฝากค้ำประกัน 100,000 บาท

Online Payment Gateway (Non-bank)

PayPal

ระบบบริการชําระเงินออนไลน์ที่ได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วโลก มีระบบแปลงสกุลเงินโดยอัตโนมัติ และรองรับสกุลเงินได้มากกว่า 25 ประเทศทั่วโลก ยินดีรับบัตรเครดิต เช่น Visa, Mastercard, AMEX, Discover และ UnionPay รวมทั้งบัตรเดรบิตอีกด้วย โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชี PayPal และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า และรายปี ยกเว้นค่าธรรมเนียมต่อรายการ ประมาณ 4.4% เท่านั้นค่ะ

Omise

ระบบบริการชําระเงินออนไลน์ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลระบบชำระเงินจากลูกค้าชั้นนำอย่าง King Power, Mcdonald, True, และ Minor International รวมทั้งลูกค้ารายย่อยอีกเป็นจำนวนมาก สามารถรองรับ การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และระบบผ่อนชำระเงิน โดยไม่เสียค่าติดตั้ง ไม่มีค่าบริการรายเดือน ไม่มีค่าบริการอื่น ๆ และไม่มียอดการใช้งานขั้นต่ำ โดยมีค่าธรรมเนียมประมาณ 3.65% ค่ะ

2C2P

ระบบบริการชําระเงินออนไลน์ ความปลอดภัยสูงด้วยการเข้ารหัสในการชำระค่าบริการ และลูกค้าสามารถดูรายงานความเคลื่อนไหวเงินเข้าได้แบบเรียลไทม์ สามารถรองรับการชำระด้วยบัตรเครดิต เช่น American Express, Visa, Diners Club, MasterCard และ UnionPay รวมทั้งบัตรเดบิตด้วย ที่สำคัญ คือ ค่าธรรมเนียมถูกมากอยู่ที่ประมาณ 2.75% เท่านั้นค่ะ

Pay Solution

ระบบบริการชําระเงินออนไลน์ที่มีระบบความปลอดภัย SSL (Secure Socket Layer) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล ระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับ Website และ Application ที่กำลังใช้งาน เพื่อสร้างมั่นใจให้ผู้ใช้บริการ และเพิ่มความสะดวกด้วย Tokenizer ระบบจดจำบัตรเครดิต เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการกรอกข้อมูล รองรับบัตรเครดิต เช่น Visa, Mastercard, JCB, UnionPay และ AmericanExpress รวมทั้งบัตรเดบิตด้วย ส่วนค่าธรรมเนียมประมาณ 3.60%

บทส่งท้าย

เป็นยังไงกันบ้างสำหรับบทความ Payment Gateway ที่เรานำฝากผู้อ่านทุกท่าน เราได้รู้จักกับ Payment Gateway กันมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว Payment Gateway คือ เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยจัดการระบบการชำระเงินออนไลน์ ซึ่งจะเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้กับผู้ซื้อและผู้ขายได้มั่นใจ และไม่เสียโอกาสในการปิดการขายนั่นเอง

Written By

Patthanin Yuayai
แทมเริ่มเข้าสู่สายงาน SEO ได้ไม่นานนัก มีความเชื่อที่ว่าทุกอย่างสามารถเรียนรู้ได้ SEO ก็เช่นกัน :) ชอบฟังเพลงนอกกระแส รักการขีดๆ เขียนๆ มีงานอดิเรกคือเขียนไดอารี่ จัดเพลย์ลิสต์เพลง อ่านนิยายรอมคอม และเสพติดการกินชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจ

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Views

Get New Articles Monthly!

Recommend Article

Free SEO
Consultation

Claim your revenue growth strategy session valued at ฿35,000 – absolutely FREE!

Limited spots available !

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.