เมื่อเราพูดถึงการทำ SEO หรือกลยุทธ์ที่ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับต้น ๆ บนหน้า Google หลาย ๆ คนคงนึกถึง ‘Keyword’ หรือ ‘Backlink’ ซึ่งแน่นอนว่าทั้ง 2 ปัจจัยนี้มีส่วนที่ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับต้น ๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีอีกหนึ่งสิ่งที่มักจะถูกมองข้ามหรือละเลยไป นั้นก็คือ “Sitemap” ซึ่งเป็นแผนผังที่ใช้แสดงโครงสร้างของเว็บไซต์ และยังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ Google ทราบถึงโครงสร้างภายในเว็บไซต์ว่ามีคุณภาพเพียงใด ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกันว่า Sitemap คืออะไร? มีความสำคัญในการทำ SEO อย่างไร? เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำเว็บให้ติดอันดับต้น ๆ ของ Google ได้ง่ายขึ้น เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา มาติดตามพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
ความหมายของ Sitemap คืออะไร?
Sitemap คือ แผนที่หรือแผนผังเว็บไซต์ โดยจะแสดงรายการ URL และเนื้อหาภายในเว็บว่าอยู่ในหน้า URL ไหนบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้งานหรือเครื่องมือค้นหาอย่าง Search Engine เข้าใจถึงโครงสร้างภายในเว็บไซต์ หากให้พูดแบบเข้าใจง่าย ๆ Sitemap ก็เปรียบเสมือน “หน้าสารบัญ” ในเอกสาร ทำให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดในเอกสารนั่นเอง
นอกจากนี้ Sitemap ยังเหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหามากหรือมีลิงก์ภายในที่ซับซ้อน เพราะจะช่วยให้ Search Engine สามารถดึงข้อมูลทั้งหมดมาแสดงผลในการค้นหาได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงเนื้อหาของคุณได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
ประโยชน์และความสำคัญของ Sitemap
Sitemap ถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมากในการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ต้องการเพิ่มโอกาสในการปรากฏหน้าค้นหาอันดับต้น ๆ ของ Google เพราะหากคุณจัดวาง Sitemap ได้ถูกต้องและมีคุณภาพ จะส่งเสริมให้ Search Engine หรือ Bot ของ Google เข้ามาสำรวจเนื้อหาภายในเว็บได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วนทุกหน้า และจัดอันดับให้กับเว็บไซต์บน Google ใน Keyword ต่าง ๆ ที่ใส่ลงไปในเนื้อหานั่นเอง อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานได้เช่นกัน เพราะพวกเขาสามารถดูภาพรวมของเว็บไซต์และค้นหาเนื้อหาที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
ประเภทของ Sitemap มีอะไรบ้าง
อย่างที่เราเข้าใจกันแล้วว่า Sitemap ทำหน้าที่เป็นแผนผังของเว็บไซต์เพื่อที่จะแนะนำเครื่องมือค้นหาไปยังเนื้อหาต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ได้เร็ว แต่คุณรู้หรือไม่ว่า Sitemap หลัก ๆ แล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. HTML Sitemap
HTML Sitemap คือ ประเภท Sitemap ที่เปรียบเสมือนเป็น ‘หน้าสารบัญ’ ให้กับเว็บไซต์ โดยมักจะแสดงอยู่บนหน้า Footer ของเว็บ เพื่อทำให้ผู้ใช้งานเลือกที่จะเข้าไปรับชมหน้าต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ในส่วน HTML จะมีผลกับ SEO ค่อนข้างน้อย เน้นให้ผู้ใช้งานใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ให้นานที่สุด เพื่อรับประสบการณ์ที่ดีจากการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา
2. XML Sitemap
XML Sitemap คือ Sitemap ที่ทำหน้าที่เป็นแผนผังเว็บไซต์อย่างแท้จริง ซึ่งแตกต่างกับ HTML Sitemap โดย XML Sitemap ออกแบบมาให้ Search Engine และ Bot โดยเฉพาะ เพื่อให้เหล่า Bot ของ Google เข้ามาสำรวจเว็บไซต์ XML Sitemap มีความเกี่ยวข้องกับ SEO สูงและจะส่งผลต่ออันดับบนหน้าค้นหาของ Google โดยตรง XML Sitemap แบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ๆ ที่จะส่งผลต่อการทำงานของ SEO ดังนี้
- Image Sitemap คือ Sitemap ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระบุถึงรูปภาพต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ ซึ่งก็คือ Alt Tags นั่นเอง Image Sitemap จะช่วยให้เวลามีคนค้นหาในช่อง Google Image Search จะเจอรูปภาพภายในเว็บไซต์ของคุณ
- Video Sitemap คือ Sitemap ที่ถูกสร้างสำหรับวิดีโอ โดยสามารถระบุชื่อวิดีโอและอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ได้ เพื่อเพิ่มการค้นหาในช่อง Google Video Search ทำให้เห็นเว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้น
- News Sitemap คือ Sitemap สำหรับบทความที่เป็นเนื้อหาข่าวโดยเฉพาะ ซึ่งจะนำไปแสดงอยู่บนหน้า Google News ยิ่งมี Keyword ที่เกี่ยวข้องกันมากเท่าไหร่ จะส่งผลทำให้ Bot เข้ามาสำรวจเว็บไซต์เราได้ถี่ขึ้น และทำให้เว็บติดอันดับต้น ๆ ของ Google ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
- Mobile Sitemap คือ Sitemap ที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับเว็บไซต์บนมือถือ แต่ในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมมากนัด เพราะด้วยการทำเว็บไซต์ในปัจจุบันจะมีรูปแบบ Responsive ซึ่งสามารถปรับตามขนาดหน้าจอของอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์เฉพาะสำหรับมือถือแยกต่างหาก
วิธีสร้าง Sitemap ต้องทำอย่างไรบ้าง?
หากคุณยังเป็นมือใหม่ที่ไม่มีความรู้ด้าน IT หรือ Coding ต่าง ๆ เลย การสร้าง Sitemap ให้กับเว็บไซต์นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยค่ะ ซึ่งเราจะมาเผยวิธีสร้าง Sitemap สำหรับมือใหม่ที่คุณสามารถไปทำตามกันได้ง่าย ๆ
1. ใช้เครื่องมือออนไลน์สำเร็จรูป
การสร้าง Sitemap ด้วยเครื่องมือออนไลน์สำเร็จรูปถือเป็นวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุด โดยให้เข้าไปที่ XML-Sitemaps.com แล้วกรอก URL ของเว็บไซต์ จากนั้นเครื่องมือจะสำรวจเว็บไซต์ให้อัตโนมัติ และเมื่อสำรวจเสร็จแล้ว ให้ดาวน์โหลดไฟล์ XML Sitemap มาใช้ได้เลยค่ะ
2. การใช้ Plugin
ใครที่ใช้ WordPress ในการทำเว็บไซต์ ให้เข้าไปดาวน์โหลด Plugin สำหรับสร้าง XML Sitemap ผ่านระบบหลังบ้านได้เลย โดยเฉพาะ Yoast SEO เพราะมีรูปแบบการใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน นอกจากนี้ Yoast SEO ยังรองรับการใช้งานเกี่ยวกับ SEO ด้วย ไม่ว่าจะเป็น On-Page SEO และ Technical SEO ทั้งยังบอกจุดแก้ไขของเว็บไซต์ได้ละเอียดอีกด้วย
3. การใช้เครื่องมือของ Google
Google Search Console เป็นเครื่องมือ Google ใช้งานฟรี และช่วยในการจัดการและตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์บน Google Search แต่ฟีเจอร์ที่สำคัญของ Google Search Console คือการยืนยันและส่ง Sitemap เพื่อช่วยในการแจ้งเตือนโครงสร้างเว็บไซต์และเนื้อหาที่อัปเดตใหม่ให้กับ Google โดยมีวิธีการยืนยันและส่ง Sitemap ดังนี้
- ไปที่ Google Search Console และเข้าสู่ระบบด้วยบัญชี Google ของคุณ
- เลือกเว็บไซต์ที่ต้องการส่ง Sitemap
- ในช่อง Add a New Sitemap ให้กรอก URL ที่เก็บ Sitemap ของคุณ เช่น https://www.example.com/sitemap.xml จากนั้นกด Submit
- หลังจากส่ง Sitemap แล้ว Google จะส่ง Bot เข้าไปตรวจสอบเว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบความคืบหน้าในหน้าเดียวกันนี้ได้เลย
- นอกจากนี้ใน Google Search Console ยังแสดงข้อมูลการค้นหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณ อาทิเช่น Keyword ที่นำไปสู่เว็บไซต์ของคุณ, จำนวนการแสดงผลบน Google Search และอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม การส่ง Sitemap ผ่าน Google Search Console นี้ จะช่วยให้ Google ได้รับรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณ อีกทั้งช่วยเพิ่มโอกาสในการติดอันดับต้น ๆ ของ Google ได้อีกด้วยค่ะ
บทสรุป
จบลงไปแล้วสำหรับเนื้อหา Sitemap คืออะไร? และมีความสำคัญอย่างไร? พร้อมวิธีการสร้าง Sitemap ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว Sitemap ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับต้น ๆ บนหน้า Google ทั้งหมดซะทีเดียว เพราะการทำ SEO จำเป็นต้องใช้ปัจจัยหลายอย่าง หากใครต้องการเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ ติดอันดับต้น ๆ บน Google แต่ไม่มีความรู้ด้าน IT หรือ Coding ขอแนะนำบริการจาก Search Studio ถือเป็น Agency SEO ที่มีคุณภาพ จัดทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับมาหลากหลายเว็บ ช่วยให้เว็บไซต์หรือธุรกิจของคุณสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างแน่นอนค่ะ