Internal Links หรือลิงก์ภายใน ทำหน้าที่เสมือนป้ายบอกทางผู้ใช้ภายในเว็บไซต์ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ให้มองเป็นเหมือนการแสดงเส้นทางไปยังห้องต่างๆ ในบ้าน ที่จะเชื่อมโยงแต่ละห้องหรือเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำ SEO ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการนำทางผู้ใช้เท่านั้น แต่การทำ Internal Links ยังช่วยให้ Google มองเห็นถึงคุณภาพ ความน่าสนใจ และเข้าใจเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น ยิ่งเส้นทางเหล่านี้ชัดเจนมากเท่าไร เครื่องมือค้นหาจะยิ่งแสดงเว็บไซต์ของคุณในผลการค้นหาได้ดีขึ้นเท่านั้น
ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ Internal Links คืออะไร ประเภทของ Internal Links ที่ควรรู้จัก เทคนิควิธีการทำ Internal Links รวมไปถึง Internal Links ส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อการทำ SEO ไปติดตามพร้อมๆ กันเลย
ทำไมการทำ Internal Links จึงมีความสำคัญ
การทำ Internal Links ต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ การเชื่อมโยงลิงก์ภายในที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการวิจัยคีย์เวิร์ด (Keyword Research) ที่เหมาะสมและเกี่ยวข้องกัน เพื่อให้ผู้ใช้อยู่ในเว็บไซต์ได้นานขึ้น เนื่องจากมีส่วนช่วยในการทำอันดับที่ดีหลายประการ ดังนี้
- บทบาทที่ชัดเจนที่สุดของ Internal Links คือการเชื่อมต่อเนื้อหา หรือจัดเตรียมเส้นทางที่สะดวกสำหรับผู้ใช้ในการเข้าถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และสามารถคลิกอ่านเนื้อหาหรือเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ในทันที
- สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้งาน ด้วยการวางลิงก์ ในตำแหน่งที่โดดเด่น สามารถรับข้อมูลเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างง่ายดาย ถือเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้สามารถคลิกไปยังข้อมูลถัดไปที่สนใจได้อย่างราบรื่น
- Internal Links จะช่วยจัดระเบียบ ความสัมพันธ์ของแต่ละหน้าของเว็บไซต์ได้อย่างสมเหตุสมผล โครงสร้างนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือผู้ใช้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เครื่องมือ Google Bot ที่เข้ามาเก็บข้อมูลเข้าใจลำดับชั้นและความเกี่ยวข้องของหน้าเว็บของคุณอีกด้วย
- ช่วยผลักดันเว็บไซต์ให้ติดหน้าแรกในผลการค้นหาด้วยวิธีธรรมชาติ โดย Bot จะใช้ลิงก์ภายในเพื่อรวบรวมข้อมูล และประเมินคะแนนของเว็บไซต์ หากลิงก์ภายในมีการวางโครงสร้างอย่างเหมาะสม แทรกไว้ภายในเนื้อหาอย่างเป็นธรรมชาติ ก็จะสามารถช่วยปรับปรุง SEO ให้ทุกหน้าในเว็บไซต์มีคุณภาพสูง และได้รับการจัดอันดับอยู่ในลำดับต้นๆ ได้
ประเภทของ Internal Links
Internal Links มีหลายรูปแบบ แต่ละลิงก์มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
- Navigation Links
ลิงก์เมนูหลัก ที่มักจะพบที่ด้านบนหรือด้านข้างของเว็บไซต์ เป็นเมนูหลักที่ช่วยในการเข้าถึงส่วนที่สำคัญที่สุด เช่น หน้าแรก เกี่ยวกับเรา บริการ และการติดต่อ
- Contextual Links
การลิงก์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ ซึ่งลิงก์เหล่านี้จะฝังอยู่ในเนื้อหาของหน้า และมีความเกี่ยวข้องกันตามบริบท ตัวอย่างเช่น ในบล็อกโพสต์เกี่ยวกับ การทำ SEO ทำไมต้องมี Internal Link ลิงก์ตามบริบทอาจนำไปสู่หน้า “Internal Link คืออะไร”
- Footer Links
ส่วนท้ายของเว็บไซต์ จะพบที่ด้านล่างของหน้าเว็บ ลิงก์ส่วนท้ายอาจมีลิงก์ที่สำคัญทั่วทั้งเว็บไซต์ เช่น นโยบายความเป็นส่วนตัว ข้อกำหนดในการให้บริการ ลิงก์ไปยังหน้าสำคัญ หรือแผนผังเว็บไซต์
- Breadcrumbs
ลิงก์การนำทาง โดยทั่วไปจะแสดงที่ด้านบนของหน้า เพื่ออธิบายเส้นทางของผู้ใช้ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจตำแหน่งปัจจุบันที่อยู่ตามลำดับชั้น ทำให้ย้อนกลับได้ง่าย มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ e-Commerce และเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน
- Related Posts
บทความที่สัมพันธ์กันกับบทความปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเห็นกันในตอนท้ายของบล็อกโพสต์ เนื้อหาเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ ได้ค้นหาบทความที่เกี่ยวข้องได้ง่าย และกระตุ้นให้พวกเขาอยู่บนเว็บไซต์นานมากขึ้น
เทคนิควิธีการทำ Internal Links ให้มีประสิทธิภาพ
ตอนนี้เราได้กล่าวถึงข้อมูล Internal Linking เบื้องต้นไปแล้ว เรามาเจาะลึกเทคนิควิธีการทำ Internal Links ให้มีประสิทธิภาพกัน
- ใช้ Anchor Text ที่สื่อความหมาย โดยข้อความที่ใช้สำหรับลิงก์ ควรเป็นคำอธิบายที่กระชับ ได้ใจความ ช่วยให้ทั้งผู้ใช้เข้าใจว่าจะพบอะไรเมื่อคลิกลิงก์ หลีกเลี่ยงคำที่คลุมเครือ เช่น “คลิกที่นี่” หรือ “อ่านเพิ่มเติม”
- ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ผู้ใช้ เป้าหมายหลักควรเป็นการปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้ วางลิงก์ภายในที่อยู่ในตำแหน่งที่ดีและเป็นธรรมชาติ มุ่งเน้นการสร้าง Internal Links ที่มีความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน สอดคล้องกับเป้าหมายการทำ SEO
- จัดระเบียบเนื้อหาบนเว็บไซต์ตามลำดับชั้นของการนำเสนอ มีการไล่เรียงลำดับขั้นของเนื้อหาจากส่วนที่สำคัญที่สุด ไปยังเนื้อหาที่มีความเฉพาะเจาะจงขึ้นเรื่อย ๆ และ Internal Links ควรเชื่อมโยงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันภายในหมวดหมู่หรือหัวข้อเดียวกัน
- ตรวจสอบและอัปเดต Internal Links เป็นประจำ เพื่อแก้ไขลิงก์ที่ใช้งานไม่ได้ ลิงก์ที่ใช้งานไม่ได้อาจทำให้ผู้ใช้หงุดหงิด และส่งผลเสียต่อ SEO โดยสามารถใช้เครื่องมือออนไลน์ค้นหา และแก้ไขลิงก์ที่เสียหายได้
- กระจายลิงก์ให้เกิดความสมดุล เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้อยู่บนเว็บไซต์ได้นานขึ้น รวมถึงกระจายอำนาจให้หน้าเพจอื่นๆ ที่สำคัญ หลีกเลี่ยงการใช้ลิงก์จำนวนมากเกินไปในหน้าเว็บเดียว เหมือนการสร้างรากฐานให้บ้านแข็งแรง ยิ่งแข็งแกร่ง และเชื่อมต่อกันดีเท่าไรก็ยิ่งไปได้สูง
- ตรวจสอบ Internal Links ให้มั่นใจว่าลิงก์ภายในนั้น ผู้ใช้สามารถเข้าถึงส่วนต่างๆ ได้อย่างง่ายดายทั้งบนอุปกรณ์มือถือ และแท็บเล็ต ลดอัตราตีกลับ (Bounce Rate)
Internal Links ส่งผลกระทบอย่างไรต่อ SEO
แท้จริงแล้ว Internal Linking เสมือนการสร้างแผนที่สำหรับเครื่องมือค้นหา (เช่น Google) เมื่อใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อ SEO ของเว็บไซต์ดังนี้
- Internal Links จะทำหน้าที่นำทาง Bot ไปยังหน้าต่างๆ บนเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยในการรวบรวมข้อมูล และการจัดทำดัชนีเนื้อหามีประสิทธิภาพ หากหน้าสำคัญขาด Internal Links บางหน้าอาจยังคงถูกซ่อนจากเครื่องมือค้นหา ส่งผลให้การมองเห็นในผลการค้นหาลดลง
- เมื่อใช้ข้อความที่คลิกได้ในลิงก์ภายใน หากใช้คีย์เวิร์ดที่มีการเชื่อมโยงกับเนื้อหา Bot จะส่งสัญญาณไปยังเครื่องมือค้นหาว่าคีย์เวิร์ดใดมีความสำคัญ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดอันดับ
- Internal Links สามารถกระจายอำนาจภายในเว็บไซต์ได้ ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างหน้าที่มีอำนาจสูงลิงก์ไปยังหน้าอื่น วิธีนี้จะช่วยให้หน้าเว็บเหล่านั้นปรากฏในผลการค้นหาที่สูงขึ้น
- ลดอัตราตีกลับ (ฺBounce Rate) เมื่อผู้ใช้พบลิงก์ภายในที่เกี่ยวข้อง พวกเขามีแนวโน้มที่จะคลิกต่อไปยังลิงก์หน้าเว็บอื่นๆ แทนที่จะออกไปเลย
บทสรุป
เป็นยังไงกันบ้าง สำหรับบทความ Internal Links ที่เรานำมาฝาก การทำ Internal Links เป็นกลยุทธ์ในการปรับปรุงอันดับของเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการจัดอันดับของหน้าเว็บ นำไปสู่การติดอันดับที่ดี และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ อย่างไรก็ตามต้องทำการวิเคราะห์อย่างรอบคอบเพื่อเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์มีอันดับที่ดีขึ้น
หากคุณกำลังมองหา SEO Agency หรือบริษัทรับทำ SEO Search Studio เรามีบริการรับทำ Link Building ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์และช่วยให้ธุรกิจของคุณติดอันดับในหน้าค้นหา สามารถติดต่อเราได้ที่ admin@searchstudio.co.th ได้เลยค่ะ