SEO

E-E-A-T คืออะไร? หลักการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ติดหน้าแรก

Patthanin Yuayai | กันยายน 19, 2024

Fast To Read

หลายธุรกิจพยายามทำทุกวิถีทางให้เว็บไซต์ของตัวเองขึ้นไปอยู่หน้าแรกของ Google เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า แต่บางเว็บไซต์ก็เน้นผลิตเนื้อหามากๆ ใส่คีย์เวิร์ดเข้าไปเยอะๆ โดยไม่ได้สนใจว่าข้อมูลที่นำเสนอไปจะถูกต้อง หรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านมากน้อยแค่ไหน

ปลายปี 2023 ที่ผ่านมา Google จึงปรับแผน เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า SGE หรือ Search Generative Experience โดยนำ AI เข้ามาช่วยค้นหาข้อมูล และตอบคำถามที่ต้องการ โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องกดเข้าไปในหน้าเว็บเลย อีกทั้งยังมีการปรับหลักเกณฑ์ในการจัดอันดับเว็บไซต์ใหม่ จาก “E-A-T” เป็น “E-E-A-T” เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลการค้นหา การทำ SEO ด้วยวิธีการเดิมๆ จึงอาจไม่ได้ผลอีกต่อไป บทความนี้จะพาไปหาคำตอบว่า E-E-A-T คืออะไร ? และจะทำอย่างไรให้เว็บไซต์ของคุณยังถูกเลือกมาแสดงผลในหน้าแรก

E-E-A-T คืออะไร?

what-is-google-e-e-a-t

E-E-A-T คือ หลักเกณฑ์ที่ Google ใช้ประเมินคุณภาพของเนื้อหาบนเว็บไซต์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออันดับในหน้าค้นหา เพราะเว็บไซต์ที่ Google มองว่าเนื้อหามีคุณภาพ และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะได้ไปอยู่ในหน้าแรก ซึ่งจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ เพิ่มยอดขาย และดึงดูดให้คนเข้ามาใช้งานเว็บไซต์มากขึ้น

E-E-A-T ย่อมาจากอะไร?

E-E-A-T ย่อมาจาก Expertise, Experience, Authoritativeness และ Trustworthiness ตามลำดับ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • Expertise (ความเชี่ยวชาญ) 

เว็บไซต์และเนื้อหาต้องแสดงถึงความเชี่ยวชาญ รู้ลึกรู้จริงในหัวข้อนั้นๆ ผู้เขียนจึงควรจะเป็นคนที่มีความรู้ ความชำนาญ ในเรื่องที่เขียน สามารถนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ด้วยภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย เช่น เนื้อหาที่เกี่ยวกับสุขภาพ หากแพทย์เป็นผู้เขียน ก็จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าคนทั่วไป

  • Experience (ประสบการณ์)

ก่อนจะเป็น E-E-A-T เคยมี Google E-A-T มาก่อน ซึ่งตอนนั้นมีแค่ E-Expertise แต่ยังไม่มี E-Experience สาเหตุที่เพิ่มเข้ามาก็เพราะ Google มองว่า ประสบการณ์จริง เป็นสิ่งที่แสดงว่าผู้เขียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง ทำให้บทความน่าเชื่อถือมากขึ้น และมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน 

  • Authoritativeness (ความมีอิทธิพล) 

เว็บไซต์ หรือผู้เขียน มีอิทธิพลในวงการ อาจจะเป็นที่รู้จัก หรือมีความเชี่ยวชาญจนเป็นที่ยอมรับ โดย Google จะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ผู้เขียนเป็นคนมีชื่อเสียง บทความถูกกดแชร์ในโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก มีการอ้างอิง ถูกพูดถึง หรือทำ Backlink จากเว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้อง

  • Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ)

เว็บไซต์ต้องมีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย ไม่มีลิงก์ที่เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ไม่พึงประสงค์ ไม่มีการแฝงมัลแวร์หรือไวรัสที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์ เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย และใช้คีย์เวิร์ดที่สอดคล้องกับเนื้อหา เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว

ทำอย่างไรให้เนื้อหาเข้าเกณฑ์ E-E-A-T

Google E-E-A-T-2
  • เว็บไซต์และเนื้อหาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

เนื้อหาที่นำเสนอควรสอดคล้องกับเว็บไซต์ เพื่อแสดงถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น อย่าลงเนื้อหาสะเปะสะปะ เช่น เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการเดินทาง อาจจะนำเสนอเรื่องของที่พัก ร้านอาหาร ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว แต่ไม่ควรนำเสนอเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น การดูแลสุขภาพ 

  • ไม่คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่น

หาก Google มองว่าเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณซ้ำซ้อน เหมือนของเว็บอื่น หรือมีคนไปร้องเรียนว่าคุณก๊อบปี้เนื้อหาของเขา จะทำให้เว็บไซต์ถูกจัดอันดับลดลง หรืออาจถูกลบออกจากผลการค้นหาไปเลย เพราะฉะนั้นควรเขียนเนื้อหาใหม่ อัปเดตเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่เสมอ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย

  • เพิ่มความน่าเชื่อถือด้วยประวัติ

ใส่ประวัติของตัวเอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร เช่น ประสบการณ์ ผลงาน รางวัลที่เคยได้รับ หรือหากมีผู้เขียนหลายคน อาจจะใส่ประวัติย่อๆ ไว้ในหน้าบทความนั้นด้วย จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเนื้อหาที่นำเสนอ

  • แหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้

ถึงคุณจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่เป็นไร เพราะการนำเสนอข้อเท็จจริง พร้อมใส่เครดิตแหล่งที่มา และอ้างอิงข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น สถิติ รายงาน ผลการวิจัย ผลการสำรวจ รวมถึงใส่ Backlink เชื่อมไปยังแหล่งอ้างอิงนั้นๆ Google จะมองว่าคุณได้ค้นคว้าข้อมูลมาอย่างดี ใส่ใจในความถูกต้อง และบทความของคุณก็จะดูน่าเชื่อถือไม่แพ้บทความจากผู้เชี่ยวชาญเลยค่ะ

  • สร้างเนื้อหาแบบ People-First 

หลีกเลี่ยงการทำ SEO แบบ Search Engine First เพื่อให้ถูกใจอัลกอริทึมของ Google และหันมาใส่ใจคุณภาพของเนื้อหาให้มากขึ้น สำรวจว่าผู้อ่านต้องการอะไร และสร้างบทความที่ตอบโจทย์ความสนใจ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อ่านมาเป็นอันดับแรก

  • แชร์ประสบการณ์จริง

เมื่อ E-E-A-T SEO อย่างเดียวไม่เพียงพอ ก็ต้องเพิ่ม E-Experience หรือเนื้อหาที่เล่าผ่านประสบการณ์จริงเข้าไปด้วย โดยอาจจะมีการแสดงความคิดเห็นถึงสิ่งที่พบเจอ ผลลัพธ์ที่ได้ทำ ใส่รูปภาพหรือวิดีโอที่ถ่ายเอง เมื่อผู้อ่านเห็นว่าคุณเคยมีประสบการณ์ตรง ก็จะเชื่อในสิ่งที่คุณเขียนมากขึ้น และอย่าลืมใส่คีย์เวิร์ดที่สื่อถึงประสบการณ์ไว้ในหัวข้อและเนื้อหาด้วย เช่น ลองแล้ว, พิสูจน์แล้ว, ใช้จริง, ทดลองจริง, รีวิว, ผลลัพธ์ เป็นต้น

  • อ่านง่าย เป็นธรรมชาติ

เนื้อหาต้องกระชับ ตรงประเด็น ใช้ภาษาอ่านง่าย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ใส่คีย์เวิร์ดให้เป็นธรรมชาติ และใช้โครงสร้าง SEO ให้เป็นประโยชน์ แบ่งเนื้อหาเป็นส่วนๆ ให้ง่ายต่อการอ่าน หรืออาจจะปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ร่วมด้วย เช่น ทำให้เว็บโหลดเร็วขึ้น หรือมีหน้าเว็บสำหรับมือถือ จะช่วยให้ผู้อ่านอยู่ในหน้าเว็บไซต์นานขึ้น

สรุป

แม้ว่าฟีเจอร์ SGE จะแสดงคำตอบในหน้าค้นหาได้ทันที แต่การทำ SEO ก็ไม่ได้หมดความสำคัญลงไปเสียทีเดียวค่ะ เพราะ SGE ให้คำตอบแบบสรุปเท่านั้น หากผู้ใช้งานต้องการข้อมูลเชิงลึก หรือเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายแหล่ง ก็ยังต้องเลื่อนลงมาหาอ่านในเว็บไซต์เหมือนเดิม ดังนั้นจึงเว็บไซต์ต่างๆ จึงต้องปรับกลยุทธ์การทำ SEO  ให้มีคุณภาพ และมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน จะช่วยรักษาอันดับในหน้าผลการค้นหาให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน 

สำหรับใครที่ต้องการให้เว็บไซต์ติดอันดับหน้าค้นหาตามหลัก E-E-A-T หรือกำลังมองหา SEO Agency ที่ให้บริการรับทำ SEO เพื่อปรับปรุงอันดับเว็บไซต์ ที่ Search Studio เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญการทำ SEO หลากหลายธุรกิจ สามารถกรอกฟอร์มติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาฟรีได้เลย

Written By

Patthanin Yuayai
แทมเริ่มเข้าสู่สายงาน SEO ได้ไม่นานนัก มีความเชื่อที่ว่าทุกอย่างสามารถเรียนรู้ได้ SEO ก็เช่นกัน :) ชอบฟังเพลงนอกกระแส รักการขีดๆ เขียนๆ มีงานอดิเรกคือเขียนไดอารี่ จัดเพลย์ลิสต์เพลง อ่านนิยายรอมคอม และเสพติดการกินชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจ

Leave A Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Views

Get New Articles Monthly!

Recommend Article

Free SEO
Consultation

Claim your revenue growth strategy session valued at ฿35,000 – absolutely FREE!

Limited spots available !

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.