SEO

Broken Links คืออะไร? มีผลยังไงกับการจัดอันดับใน Google

Fast To Read

หลายคนอาจเคยเจอปัญหาคลิกลิงก์แล้วพบกับหน้า “404 Not Found” ซึ่งนั่นแสดงถึงว่าหน้าเว็บนั้นเป็น “Broken Link” หรือ “ลิงก์เสีย” เนื่องจากใช้งานไม่ได้แล้วหรืออาจถูกลบออกไป แน่นอนว่าจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของเว็บไซต์และความน่าเชื่อถือ รวมถึงการจัดอันดับใน Google ด้วยเช่นกัน

ปัญหาข้างต้น หลาย ๆ คนที่ทำ SEO อาจมองข้ามไป จริง ๆ แล้วส่งผลต่ออันดับ SEO อย่างมาก ซึ่งบทความนี้จะอธิบายว่า Broken Links คืออะไร? มีผลกระทบอย่างไรต่อการจัดอันดับใน Google และวิธีการตรวจสอบลิงก์เสีย เพื่อให้เว็บไซต์ถูกจัดไว้เป็นอันดับต้น ๆ ของ Google หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลยค่ะ

Broken Links คืออะไร?

“Broken Links” หรือที่เรียกกันว่า “ลิงก์เสีย” คือลิงก์ที่ไม่สามารถนำผู้ใช้งานไปยังหน้าที่ต้องการได้ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ลิงก์ปลายทางถูกลบ หรือเปลี่ยน URL โดยไม่มีการเปลี่ยนเส้นทาง (Redirect) และเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์นั้นมีปัญหา เป็นต้น

เมื่อผู้ใช้งานคลิกลิงก์เสียเข้าไป จะพบกับข้อความแสดงข้อผิดพลาด เช่น 404 Not Found ซึ่งอาจสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ใช้งาน และทำให้พวกเขาเสียความเชื่อมั่นในเว็บไซต์ของเราได้ อีกทั้ง เว็บไซต์ก็จะดูไม่เป็นมืออาชีพในสายตาผู้ใช้งาน ทำให้ไม่อยากคลิกเข้าเว็บไซต์ของเราอีก

ในแง่มุมของ SEO เมื่อเกิดลิงก์เสียภายในเว็บไซต์ แน่นอนค่ะว่าจะส่งผลต่อการจัดอันดับใน Google เพราะ Google Bot ไม่สามารถเข้าลิงก์ไปเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ได้ ซึ่งอาจทำให้อัลกอริทึมของ Google มองว่าเว็บไซต์ไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้การจัดอันดับเว็บไซต์ลดลงตามไปด้วย

ผลกระทบของ Broken Links ต่อการจัดอันดับใน Google

การมี Broken Links บนเว็บไซต์ไม่ได้ส่งผลแค่กับผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อ SEO และการจัดอันดับใน Google ด้วยค่ะ มาดูกันว่า Broken Links ส่งผลกระทบยังไงบ้าง 

  • ประสบการณ์ผู้ใช้งานไม่ดี

การมีลิงก์เสียจำนวนมากบนเว็บไซต์ อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกไม่มั่นใจและเลือกที่จะออกจากเว็บไซต์เร็วขึ้น (ซึ่งเรียกว่า Bounce Rate สูง) สิ่งนี้ส่งผลเสียต่อการจัดอันดับของเว็บไซต์ใน Google เพราะ Google ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก

  • ลดความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์

เว็บไซต์ที่มีลิงก์เสียอาจดูไม่เป็นมืออาชีพ ซึ่งอาจทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือและไม่มีคุณภาพต่อผู้ใช้งาน ทำให้อันดับเว็บไซต์ลดลงอย่างรวดเร็ว

  • Googlebot อาจไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ครบ

เมื่อเว็บไซต์มี Broken Links ส่งผลทำให้ Googlebot หรือตัวรวบรวมข้อมูลของ Google ไม่สามารถเข้ามาเก็บข้อมูลภายในหน้าเว็บของเราได้ ทำให้บางหน้าบนเว็บไซต์ของเราไม่ถูกจัดอันดับนั่นเอง

  • การเชื่อมโยง Interlink ไม่มีคุณภาพ

นอกจากนี้ การมี Broken links จะทำให้การเชื่อมโยง Interlink ภายในเว็บไซต์ไม่มีคุณภาพ ซึ่งปกติ Google จะใช้ลิงก์ภายในในการทำความเข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์ หากมีลิงก์เสียเยอะ จะทำให้การจัดอันดับเว็บไซต์แย่ลงอย่างชัดเจนนั่นเอง

วิธีตรวจสอบและแก้ไข Broken Links

สำหรับการทำ Broken Link Checker เพื่อแก้ไขลิงก์เสียเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก หากต้องการให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างราบรื่นและมีอันดับที่ดีใน Google นั้นมาดูวิธีง่าย ๆ กันค่ะ

1. ใช้เครื่องมือ Broken Link Checker

หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจสอบลิงก์เสียก็คือการใช้เครื่องมือ Broken Link Checker ซึ่งเป็นเครื่องมือหรือเว็บตรวจสอบลิงก์ที่ช่วยให้เราสามารถค้นหาลิงก์เสียในเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว

  • Ahrefs: เครื่องมือนี้ช่วยให้เราตรวจสอบลิงก์เสียทั้งภายในและภายนอก พร้อมคำแนะนำในการแก้ไข
  • Screaming Frog: โปรแกรมนี้สามารถสแกนเว็บไซต์เพื่อค้นหาลิงก์เสียได้อย่างรวดเร็ว
  • Google Search Console: นอกจากจะช่วยเรื่อง SEO แล้ว ยังสามารถแจ้งเตือนเมื่อมีลิงก์เสียในเว็บไซต์

2. แก้ไขลิงก์เสีย

เมื่อพบลิงก์เสียแล้ว วิธีการแก้ไข Broken Links มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
  • แก้ไข URL ที่ไม่ถูกต้อง: ตรวจสอบและแก้ไข URL ที่พิมพ์ผิดหรือมีลิงก์ที่ใช้งานไม่ได้
  • ตั้งค่า Redirect 301: หากเราลบหน้าหรือเปลี่ยน URL ให้ตั้งค่า Redirect 301 เพื่อนำผู้ใช้งานไปยังหน้าที่ถูกต้อง
  • ลบลิงก์ที่ไม่จำเป็น: หากไม่สามารถแก้ไขได้หรือไม่มีหน้าปลายทางที่เกี่ยวข้อง ควรลบลิงก์นั้นออกจากหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

3. ตรวจสอบลิงก์เสียด้วยตัวเอง

อีกวิธีในการตรวจสอบลิงก์เสีย คือ การตรวจเช็คด้วยตัวเองผ่านการคลิกและสำรวจลิงก์ภายในเว็บไซต์ โดยวิธีนี้จะเหมาะสำหรับเว็บที่มีจำนวนหน้าไม่มาก

  • คลิกลิงก์แต่ละหน้า: เข้าไปที่หน้าเว็บแต่ละหน้า จากนั้นคลิกลิงก์ทั้งหมดเพื่อดูว่าลิงก์ไหนไม่ทำงานหรือแสดงข้อผิดพลาด
  • ตรวจสอบข้อความแสดงข้อผิดพลาด: หากพบหน้าที่แสดงข้อความ “404 Not Found” หรือหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ นั่นคือเราเจอลิงก์เสียแล้ว
  • จดบันทึกลิงก์เสีย: บันทึก URL ของลิงก์เสียและหน้าเว็บที่พบลิงก์เหล่านั้น เพื่อนำไปแก้ไขให้เว็บไซต์กลับมามีคุณภาพอีกครั้ง

แม้ว่าวิธีนี้จะใช้เวลามากกว่าวิธีอื่น ๆ แต่ก็เป็นวิธีที่ช่วยให้เราตรวจสอบลิงก์ได้อย่างละเอียดและเข้าใจปัญหาของเว็บไซต์ได้ชัดเจนขึ้นค่ะ เมื่อทุกคนเข้าใจแล้วว่า Broken Links หรือ ลิงก์เสีย คือ ลิงก์ที่ไม่สามารถนำผู้ใช้งานไปยังหน้าที่ต้องการได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อการจัดอันดับใน Google ดังนั้น หากต้องการรักษาคุณภาพเว็บไซต์ ลองใช้บริการจาก Search Studio ที่พร้อมช่วยตรวจสอบและแก้ไขลิงก์เสียอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อทีมงานเพื่อปรึกษาเบื้องต้นได้เลย

Written By

ด้วยใจรักในการพบเจอสิ่งใหม่และความสนใจในด้านการตลาด จึงกระโดดมาเข้าสายงาน SEO และพบว่า SEO เป็นเรื่องสนุกและมีสิ่งใหม่ให้ทำความเข้าใจอยู่เสมอ ทั้งกลยุทธ์การพิชิตอันดับบน Search Engine ความรู้ใหม่ๆ ที่ต้องคอยอัปเดต รวมถึง Tools ที่ช่วยในการทำงานอย่างน่าทึ่ง แต่ชีวิตก็ยังรายล้อมไปด้วยท้องฟ้าหลากสี ซีรีส์น่าติดตาม เพลงสุดโปรด และความน่ารักของสัตว์โลกที่เต็มหน้าฟีด ขอให้ทุกคนได้พบสิ่งฮีลใจในทุกเช้า :)
Views
Related Article

รับคำปรึกษา
SEO ฟรี!

ตรวจสถานะ SEO ของเว็บไซต์ของคุณ ฟรี พร้อมคำแนะนำจาก SEO Specialist ของเรา มูลค่า 35,000 บาท

มีจำนวนจำกัด เท่านั้น ติดต่อเราเลย

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.