การทำธุรกิจในปัจจุบันส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ E-Commerce มากขึ้น และก็มีการพัฒนาจัดทำการตลาดหลายรูปแบบ ซึ่งคุณรู้หรือไม่ว่า? ปัจจุบันคนเรามักจะพบเจอคำว่า B2B B2C และ C2C Marketing อยู่บ่อยครั้ง และแน่นอนว่าอีกหลายๆ คน ก็ไม่รู้ว่าการตลาดแบบ B2B คืออะไร? และ B2C คืออะไร? รวมถึง C2C เช่นกัน ส่งผลให้หลายๆ คน หลายๆ ธุรกิจเกิดความสับสนอย่างแน่นอน
ดังนั้นภายในบทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ B2B & B2C Marketing คืออะไร? และอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ C2C พร้อมกับแนะนำกลยุทธ์การทำการตลาดออนไลน์ให้คุณทราบเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน ซึ่งเนื้อหาจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามพร้อมๆ กันเลยค่ะ
ความหมายของ B2B & B2C Marketing คืออะไรกันแน่?
B2B หรือ Business to Business คือ รูปแบบการตลาดหรือธุรกิจที่ติดต่อซื้อขายกับ “องค์กรธุรกิจ” ด้วยกันเอง ซึ่งตัวสินค้าหรือบริการ จะเน้นนำไปใช้ในการผลิตเป็นหลัก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณค่าในด้านธุรกิจ เช่น การจัดซื้อ ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการคลังสินค้า อุปกรณ์อุตสาหกรรม หรือแม้แต่การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการปรึกษาธุรกิจ เป็นต้น
1. ตัวอย่างธุรกิจ B2B (Business to Business)
ธุรกิจแบบ B2B หรือ B to B Marketing คือ สินค้าและบริการ โดยสินค้าจะครอบคลุมเกี่ยวกับ B2B ดังนี้
- ผู้ผลิตวัตถุดิบหรือสินค้า โดยจ้างผู้รับผลิตสินค้า
- ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น ระบบ CRM เป็นต้น
- ผู้ผลิตอุปกรณ์เพื่อการผลิตสินค้าจำพวกเครื่องจักรต่าง ๆ
ธุรกิจที่เกี่ยวกับการบริการ หรือ Agency ก็ถือเป็น B2B เช่นกัน ยกตัวอย่าง Search Studio มีบริการรับทำ SEO ให้กับผู้ที่ต้องการให้หน้าเว็บธุรกิจติดอันดับต้นๆ บนหน้า Google เป็นต้น
ส่วน B2C หรือ Business to Consumer คือ รูปแบบการตลาดที่เจ้าของธุรกิจต้องการตอบสนองความต้องการให้กับ “บุคคล” เป็นหลัก โดยมักจะเป็นรูปแบบ E-Commerce ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อโดยตรง เช่น อาหาร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า และอื่นๆ หรือแม้แต่บริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น สายการบิน โรงแรม เป็นต้น
2. ตัวอย่างธุรกิจ B2C (Business to Consumer)
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ก็นับเป็นธุรกิจ B2C เพราะจะมีความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค โดยมีตัวอย่างธุรกิจ B2C ในไทยอย่าง Apple เป็นบริษัทที่ขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ เช่น iPhone, iPad, MacBook เป็นต้น รวมถึง Netflix ที่มีบริการ Streaming ให้แก่ผู้จ่ายค่าบริการรายเดือนอีกด้วย เป็นต้น
นอกจากนี้ C2C หรือ Consumer to Consumer คือ รูปแบบการซื้อขายหรือการตลาดที่เกิดขึ้นระหว่าง “ผู้บริโภค” กับ “ผู้บริโภค” ไม่เหมือนกับ B2B และ B2C ที่จะมี ‘องค์กร’ หรือ ‘ธุรกิจ’ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้การตลาดแบบ C2C ผู้บริโภค สามารถซื้อ-ขายสินค้าและบริการด้วยกันเอง โดยไม่ต้องผ่านองค์กรหรือธุรกิจเป็นตัวกลาง
3. ตัวอย่างธุรกิจ C2C (Customer to Customer)
ธุรกิจ C2C ส่วนใหญ่จะอาศัยแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารและทำธุรกรรมระหว่างผู้บริโภค เช่น แอปฯ Airbnb ที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้บริการในการจองที่พักชั่วคราว โดยผู้บริโภคจะกลายมาเป็น ‘ผู้ขาย’ ซึ่งจะเปิดที่พักเป็นรูปแบบ อาคาร ห้องพัก เพื่อให้ผู้ที่สนใจเลือกจองที่พักได้ตามที่ต้องการ
แนะนำกลยุทธ์สำหรับ B2B & B2C Marketing
การทำการตลาดออนไลน์ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายและประเภทของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น B2B (Business to Business), B2C (Business to Consumer) หรือ C2C (Consumer to Consumer) ซึ่งแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยเราจะมาแนะนำกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ เพื่อให้คุณนำไปใช้ได้เหมาะสมกับธุรกิจ ดังนี้
1. กลยุทธ์ที่แนะนำสำหรับธุรกิจ B2B
ธุรกิจ B2B คือ เป็นการซื้อขายกันระหว่างผู้ประกอบการ เช่น การขายส่งสินค้าให้ตัวแทนรายย่อย เพื่อนำสินค้าไปจำหน่ายให้ผู้บริโภค หรือการค้าขายผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งกลยุทธ์ยอดนิยมสำหรับธุรกิจ B2B จะเน้นสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ โดยมีกลยุทธ์ดังนี้
- Content Marketing
การสร้างเนื้อหาที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจ ถือเครื่องมือที่สร้างความน่าเชื่อถือ และเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการรายอื่นตัดสินใจที่จะเลือกใช้บริการธุรกิจของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้น
- การจัดทำ SEO
การใช้เทคนิค SEO จะช่วยเพิ่มโอกาสให้หน้าเว็บไซต์ธุรกิจ ปรากฏอยู่ในอันดับต้นๆ ของเครื่องมือค้นหา และส่งผลให้หน้าเว็บถูกค้นพบโดยกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น
- Social Media Marketing
Social Media Marketing แม้แต่ในธุรกิจ B2B เองก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะสามารถดึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก และมีโอกาสที่เข้าถึงกลุ่มธุรกิจได้มากเช่นกัน
- Email Marketing
เป็นกลยุทธ์ในการจัดทำ Marketing เฉพาะเจาะจง โดยเป็นการส่งข้อเสนอของธุรกิจไปยังกลุ่มเป้าหมายผ่าน Email โดยเฉพาะ
2. กลยุทธ์ที่แนะนำสำหรับธุรกิจ B2C
ธุรกิจ B2C คือ ธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคโดยตรง มักจะตอบโจทย์แก่ผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งกลยุทธ์ยอดนิยมสำหรับธุรกิจ B2C จะเน้นสื่อ Social Media เป็นหลัก เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่าย โดยมีกลยุทธ์ดังนี้
- ต้องไม่พลาดเรื่อง SEO
เมื่อกลุ่มเป้าหมายของเราส่วนใหญ่ใช้ Social Media เป็นหลัก ดังนั้นการจัดทำ SEO ในทุกๆ Content ก็ช่วยเพิ่มโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสินค้าและบริการผ่านเครื่องมือค้นหา ถือเป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงได้หลายช่องทาง
- สร้าง Content อย่างสม่ำเสมอ
เนื่องจากผู้บริโภคของคุณมักจะอยู่ใน Social Media ดังนั้นควรจัดทำ Content ลงบนโลกออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คนเข้ามาติดตาม หรือมีโอกาสที่จะซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น
- ใช้สื่อ Social Media
เน้นใช้ Social Media เพื่อสร้างแบรนด์และส่งเสริมการขาย พร้อมทั้งเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter (X), TikTok และอื่นๆ
- การสร้าง Brand Awareness
แน่นอนว่าการที่แบรนด์ยังไม่เป็นที่รู้จัก อาจจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มาเป็นลูกค้าจริงได้ยาก ซึ่งการสร้าง Brand Awareness ผ่าน Influencer หรือโฆษณาต่าง ๆ จะช่วยให้แบรนด์ของคุณดูน่าเชื่อถือและเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
3. กลยุทธ์ที่แนะนำสำหรับธุรกิจ C2C
ธุรกิจ C2C คือ ธุรกิจที่ใช้ ‘สื่อกลาง’ ให้กับผู้บริโภคได้โดยตรงผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Lazada, Shopee, Kaidee และอื่น ๆ ซึ่งแพลตฟอร์มเป็นทั้งประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภคและผู้ขาย ทั้งนี้กลยุทธ์ยอดนิยมสำหรับธุรกิจ C2C มีกลยุทธ์ดังนี้
- สร้างความน่าเชื่อถือ
หากคุณเป็นผู้ขายสินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์ม ควรสร้างความน่าเชื่อถือผ่านบทความหรือรีวิว รวมถึงการให้คะแนนของผู้ขาย เพราะผู้ซื้อจะได้นำข้อมูลเหล่านี้มาตัดสินใจเลือกซื้อและบริการได้ง่ายขึ้น
- จัดทำโปรโมชันและส่วนลด
การทำโปรโมชันและสร้างส่วนลดตามแคมเปญหรือกิจกรรมต่างๆ จะสร้าง Engagement ให้ผู้ซื้อเข้ามามีส่วนร่วม อีกทั้งยังกระตุ้นการซื้อขายได้อีกด้วย
- ให้ความสำคัญกับ UX/UI
ถ้าหากคุณเป็นผู้ขายสินค้าและบริการโดยสร้างแพลตฟอร์มขึ้นมาเอง หรือผ่านเว็บไซต์ ควรให้ความสำคัญกับ UX/UI เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานให้ผู้แก่ซื้อ เพื่อผู้ซื้อจะได้รู้สึกใช้งานง่าย หรือเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน และมีโอกาสมาใช้บริการซ้ำนั่นเอง
บทสรุป
Search Studio หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับใครหลายๆ คน ซึ่งสามารถนำกลยุทธ์ของเราไปปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจแต่ละประเภทได้ ทั้งนี้หากใครที่ต้องการทำการตลาดออนไลน์อย่าง SEO หรือต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับหน้าค้นหา สามารถติดต่อทีม Search Studio ได้ที่ admin@searchstudio.co.th หรือที่นี่ได้เลยค่ะ