หากจะพูดถึงแหล่งรวมคลิปวีดีโอขนาดใหญ่ที่มีทุกอย่างให้ทุกเพศวัยเลือกดูแล้ว ไม่พูดถึง Youtube ก็เห็นจะไม่ได้ และยิ่งกระแสโลกในปัจจุบันที่ทุกคนไม่เพียงแต่เป็นผู้เสพย์สื่อเท่านั้น แต่หลายๆ คนก็เริ่มหันมาเป็นผู้สร้าง (Creator) ผันตัวมาเป็น Youtuber ผู้ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมกันเองก็เยอะขึ้น เพราะ Youtube มีค่าตอบแทนให้ยูทูปเบอร์ด้วยนั่นเอง เมื่อมีโฆษณามาลงในช่องด้วยก็ยิ่งรายได้ดีเข้าไปใหญ่
โฆษณาใน Youtube มาหลายแบบมาก ไม่ได้มีแต่แบบที่เราชอบกด Skip หรอกนะ ที่จะเรียกว่าโฆษณา รายละเอียดมันมีมากกว่านั้น แต่จะมีกี่แบบ แล้วถ้าเราสนใจจะใช้บริการ Youtube Ads อยากโปรโมทธุรกิจใน Youtube ต้องเลือกแบบไหนถึงจะคุ้ม เราจะเฉลยให้ฟัง!
ทำไมต้อง Youtube
อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้วว่า Youtube เนี่ยเป็นที่นิยมอยากมากในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเบื่อเหงาเศร้าซึมขนาดไหน แค่เปิด Youtube ขึ้นมาเราก็แฮปปี้ขึ้นมาได้ในทันใดแล้วนั่นเอง ได้เลือกดูในส่ิงที่เราสนใจ ทำให้ใครๆ ก็ใช้งาน Youtube ยิ่งในไทยยิ่งมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างมากเชียวหล่ะ
ซึ่งจากสถิติการเข้าชม YouTube ในปี 2019 ก็พบว่ามีคนเข้าใช้งานดูวีดีโอบน Youtube เฉลี่ย 40 นาที/ครั้ง เลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายถึง 62% เพราะชอบดูฟุตบอลและเกมเป็นหลัก ส่วนที่เหลือจะเป็นผู้หญิงที่ชอบดูพวกเหล่าบิวตี้บล็อกเกอร์นั่นเอง และมีแนวโน้มว่า Youtube จะเติบโตมากขึ้นอีกราวๆ 50% เลยทีเดียวในปี 2020 นี้
โฆษณายูทูป (Youtube Ads) มีกี่แบบ
Display ads
โฆษณารูปแบบนี้จะเป็นลักษณะ Banner ขนาด 300×250 pixel ในหน้าต่างๆ ของ YouTube (เว้นแต่หน้า Homepage) โดยจะปรากฏอยู่ข้างๆ วีดีโอและอยู่เหนือ Suggest Video นั่นเอง
อุปกรณ์ที่เห็น Ads: Desktop
ขนาดของ Ads: 300×250 หรือ 300×60
Overlay in-video ads
โฆษณาตัวนี้ก็คล้ายๆ กับตัว Banner รูปแบบแรกที่แสดงภาพหรือข้อความเท่านั้น แต่เป็นการแสดงซ้อนบนตัววีดีโอไปอีกที จะเห็นเมื่อเล่นวิดีโอไปถึงส่วนที่ตั้งค่าให้ใส่ Ads ตัวนี้ไว้
อุปกรณ์ที่เห็น Ads: Desktop
ขนาดของ Ads: 468×60 หรือ 728×90
TrueView in-streams ads
ตัวนี้ต้องบอกเลยว่าเป็นตัวที่น่าเบื่อของเหล่าผู้ชมทั้งหลาย เพราะคนดูจะสามารถกดข้ามได้หลังจากดูคลิปโฆษณาไปแล้ว 5 วินาทีเท่านั้น เจ้าของช่องสามารถเลือกได้ว่าจะเอา Ads แบบไหนใส่ตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนท้ายของวิดีโอตัวเอง และเจ้าของช่องจะได้เงินก็ต่อเมื่อ มีคนดูโฆษณาดังกล่าวเกิน 30 วินาที หรือจบวีดีโอแล้วเท่านั้น
อุปกรณ์ที่เห็น Ads: Desktop, TV Screen และ Mobile
ขนาดของ Ads: วิดีโอ (ต้องอัพโหลดลง Youtube) ยาวเกิน 12 วินาที แต่ไม่เกิน 3 นาที
ตามตัวอย่างในรูปจะเห็นว่ามีการนับถอยหลัง โดยเริ่มจาก 5 วินาทีเพื่อให้เจอปุ่ม Skip ถ้าเราไม่กดโฆษณาจะเล่นไปเรื่อยๆ จนครบเวลา 2:24 นาทีของโฆษณาเต็ม
TrueView in-display ads
วีดีโอจะไปปรากฎอยู่ข้างๆ หรือข้างล่างของตัววีดีโอหลัก ซึ่งตรงนี้เราสามารถเลือกแสดงโฆษณากับกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการให้เห็นตัวโฆษณานี้ได้ (เช่นจากคีย์เวิร์ดค้นหา เป็นต้น) นอกจากนี้แล้ว โฆษณาดังกล่าวจะคิดเงินกับคนลงโฆษณาต่อเมื่อมีการคลิกเข้าไปดูวีดีโอเท่านั้น
อุปกรณ์ที่เห็น Ads: Desktop และ Mobile
ขนาดของ Ads: วิดีโอ (ต้องอัพโหลดลง Youtube) ขนาดไฟล์ไม่เกิน 1GB
TrueView in-search ads
โฆษณารูปแบบนี้จะทำให้วีดีโอของเราไปติดอยู่ Top Rank ของการค้นหาโดยผู้ใช้งาน YouTube ซึ่งโฆษณาประเภทนี้ก็จะคล้ายกับ TrueView อื่นๆ ที่จะเก็บเงินผู้ลงโฆษณาต่อเมื่อมีการคลิกดูวีดีโอหรือคลิกที่ลิงก์โฆษณานั้นๆ เท่านั้น
อุปกรณ์ที่เห็น Ads: Desktop และ Mobile
ขนาดของ Ads: หัวข้อในรูปแบบข้อความไม่เกิน 25 ตัวอักษร (อาจแตกต่างกันไปตามอุปกรณ์) คำอธิบายไม่เกิน 2 บรรทัด
Non-Skippable in-stream ads
คล้ายๆ กับ TrueView in-stream ads ที่เป็นการแทรกอยู่ในช่วงตอน กลาง หรือท้ายของวิดีโอที่เราดู แต่มีข้อจำกัดที่โหดกว่า คือคนต้องดูวีดีโฆษณาให้จบก่อนแล้วถึงจะดูคอนเทนต์หลักได้ วิดีโอนั้นนานถึง 15 วินาที ซึ่งก็เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบโฆษณาที่ผู้ชมน่าจะหงุดหงิดมากที่สุดแล้วก็ว่าได้
อุปกรณ์ที่เห็น Ads: Desktop และ Mobile
ขนาดของ Ads: วิดีโอ (ต้องอัพโหลดลง Youtube) ยาวเกิน 15-20 วินาที
Bumper ads
วิดีโอโฆษณาแบบที่กดข้ามไม่ได้เช่นกัน แต่เป็นที่นิยมมากกว่าเนื่องจากมีความยาวที่สั้นมาก อยู่ที่ประมาณเพียง 6 วินาทีเท่านั้น จึงสร้างความรำคาญน้อยกว่าโฆษณาที่กดข้ามได้เสียอีก เพราะไม่ต้องไปกดข้ามด้วยซ้ำ เพียงทนฟัง 6 วินาทีก็จะได้รับชมวิดีโอแล้วนั่นเอง
อุปกรณ์ที่เห็น Ads: Desktop, TV Screen และ Mobile
ขนาดของ Ads: วิดีโอ (ต้องอัพโหลดลง Youtube) ความยาว 6 วินาที
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมและดูตัวอย่างจากบล็อคของเราได้
Mastheads
ตัวนี้เป็นแบนเนอร์หรือวิดีโอไร้เสียง (ระยะเวลา 30 วินาที) ขนาดใหญ่บนหน้า Homepage ขนาด 970×250 pixel ซึ่งจะเป็นแบบ Standard Size หรือจะเป็น Expandable Size ก็ได้
อุปกรณ์ที่เห็น Ads: Desktop, TV Screen และ Mobile
ขนาดของ Ads: Widescreen, 16:9, 970×250 pixel
โฆษณา Youtube แบบไหนเหมาะกับธุรกิจแบบไหน
Mastheads
มีลักษณะเป็นป้ายขนาดใหญ่ที่ส่วนหัวของ Homepage มีขนาด standard 970×250 pixel หรือจะเป็น Expandable size 970×500 pixel ซึ่งเราสามารถใส่ลูกเล่นเป็น Multi-Functionได้ จึงเหมาะกับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการจะโปรโมทสินค้าใหม่ๆ ที่ต้องการการเปิดตัวที่ยิ่งใหญ่
Display ads (Banners)
คล้ายๆ กับแบบแรก จึงเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการจะโปรโมทสินค้าของเราให้เป็นที่โดดเด่นและเห็นชัดในสายตาของลูกค้า
Overlay-in-Video ads
คือป้ายโฆษณา Banner ที่ซ่อนอยู่บนตัววิดิโอ Content ที่ให้ผู้ชมคอยกดซ่อนได้ ก็จะเหมาะกับธุรกิจทั่วๆ ไป ที่เราอยากจะให้ผู้ชมได้เห็นสินค้าของเราผ่านตาบ้าง ถ้าลูกค้าสนใจก็สามารถกดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มได้อะไรทำนองนั้น
Trueview in-streams ads
นับว่าเป็นโฆษณาที่ค่อนข้างเด่น ส่วนใหญ่จะเป็นวิดีโอเพื่อเล่นถ่ายทอดเรื่องราวของแบรนด์ ดังนั้น ถ้าเราต้องการจะขายโฆษณาให้เป็นไปในทางน่าสนใจหรือโน้มน้าวใจลูกค้าด้วยวีดีโอ รูปแบบนี้ก็น่าสนไม่แพ้กัน โดยการคิดค่าโฆษณาจะขึ้นอยู่กับการดูคลิป ซึ่งจะคิดเงินก็ต่อเมื่อดูเกิน 30 วินาทีหรือจนกว่า Video จะจบโดยไม่มีการกดข้าม
Trueview in-display ads
cost จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการคลิกเข้าชม Video ของเรา ดังนั้น ต้องนำเสนอรูปแบบโฆษณาให้ดูน่าสนใจที่สุดเพื่อล่อตาล่อใจให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกอยากจะเข้ามาดูต่อนั่นเอง
Trueview in-search ads
จะคล้ายกับการซื้อ google search network การคิด cost เกิดขึ้นเมื่อมีการคลิกที่ Link เพื่อเข้าไปดูโฆษณา
Non-Skippable in-stream ads
Video โฆษณาในคลิปหลักเหมือน Trueview in-stream ads แต่จะเป็นการบังคับให้ user ต้องดูโฆษณา Video ของเราจนจบ ก่อนที่จะเข้าถึง Video หลักได้ และต้องมีความยาวไม่เกิน 20 วินาที และจะคิดค่าโฆษณาการเห็นต่อ 1,000 ครั้ง
Bumper ads
โฆษณาในรูปแบบที่บังคับให้คนดูให้จบภายในเวลาเพียง 6 วินาที ซึ่งถือว่าเวลาน้อยกว่า Non-Skippable ads แบบปกติถึงเท่าตัว เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการเน้นการเข้าถึง (Reach) และความถี่ที่จะเข้าถึงผู้ใช้ (Frequency)
ได้เวลาลงมือทำ
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ทั้ง 7 รูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและวัตถุประสงค์ของแต่ละแบรนด์ รวมไปถึงเนื้อหาในความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำให้ผู้คนไม่กดข้ามไป ดังนั้นมันไม่ได้มีแค่เพียงจ่ายเงินเพื่อซื้อพื้นที่โฆษณาเท่านั้น แต่มันยังต้องคิดไปถึงเรื่องโปรดัคชันและการลงทุนที่อาจจะสูง ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่พร้อม หรือมีเงินทุนจำกัด เพราะมันมีรายละเอียดยิบย่อยและเรื่องของค่าใช้จ่ายในส่วนที่เรายังมองไม่เห็นอีกมากอยู่พอสมควร