เมื่อการทำ Marketing Online กลายเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจยุคปัจจุบันจึงปฏิเสธไม่ได้นะคะว่าหนึ่งในกลยุทธ์ที่นักการตลาดออนไลน์จำนวนมากเลือกต้องยกให้กับ การทำ SEO หรือ Search Engine Optimization ซึ่งก็คือการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ติดอันดับดีๆ บน Google เพื่อให้มียอดเข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น ช่วยขยายฐานลูกค้าและยกระดับความก้าวหน้าให้กับธุรกิจ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ “คีย์เวิร์ด”กลายเป็นคำที่ทุกคนให้ความสนใจ เพราะ keyword คือส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการทำ SEO
อย่างไรก็ตาม ทุกคนเคยสงสัยหรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว Keyword คืออะไร มีความสำคัญสำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญในการทำ SEO รวมทั้งผู้ที่เริ่มทำ SEO มากแค่ไหน แล้วสามารถใช้โปรแกรมใดค้นหาได้บ้าง ในบทความนี้ เราได้รวบรวมข้อมูลที่ทุกคนควรรู้ในการทำ SEO โดยขอเจาะจงไปที่ keyword ลองติดตามข้อมูลกันได้เลยค่ะ 😊
ตอบข้อสงสัย "Keyword" คืออะไร
Keyword คือ คำที่มีความเฉพาะในการบ่งบอกถึงบางสิ่ง และอาจมีการเพิ่มเติมวลีสั้น ๆ ให้คำดังกล่าวตรงประเด็นเพื่อการค้นหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นของผู้ที่ใช้เว็บ Search Engine เมื่อคนกลุ่มนี้พิมพ์คำหรือวลีสั้นใด ๆ ก็ตามลงไปบนช่อง search เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องทั้งหมดโดยเฉพาะเว็บที่มีการใช้คำนั้นอย่างถูกหลักการ SEO ก็จะถูกแนะนำขึ้น
ดังนั้นหากอธิบายให้เข้าใจเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยในเชิงธุรกิจ Keyword จะเปรียบได้กับตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายให้มาเจอกันผ่านโลกออนไลน์ด้วยช่องทางเว็บไซต์ และยังสามารถบ่งบอกแนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับการทำการตลาดเพื่อให้ตอบโจทย์เทรนด์กลุ่มเป้าหมายด้วยค่ะ
ความสำคัญของ “คีย์เวิร์ด” สำหรับธุรกิจออนไลน์
อย่างที่อธิบายไปนะคะ “คีย์เวิร์ด” เปรียบเสมือนตัวกลางที่คอยเชื่อม 2 ฝ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขายให้มาเจอกันผ่านโลกออนไลน์ นั่นจึงหมายถึงโอกาสที่ธุรกิจจะได้ลูกค้าเพิ่ม กระตุ้นยอดขาย สร้างผลกำไร ไปจนถึงเพิ่มการรับรู้ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกกรณี ยิ่งหากคุณสามารถค้นหา Keywords สำหรับการทำ SEO ที่มีคุณภาพ คน Search เยอะ แต่การแข่งขันไม่สูงมากได้สำเร็จ การเติบโตของธุรกิจย่อมเดินไปสู่ทิศทางที่มั่นคงโดยใช้ต้นทุนถูกกว่าคู่แข่งรายอื่น
ประเภทของ Keywords สำหรับการทำ SEO ยอดนิยม
ต้องยอมรับว่านักการตลาดออนไลน์จำนวนมากได้พยายามสรุปประเภทของ Keywords สำหรับการทำ SEO เอาไว้ตามแนวทางที่เหมาะสม ลักษณะของชื่อเรียกหรือความหมายอาจมีการปรับบ้างเล็กน้อย แต่ถ้าสรุปประเภทที่ใช้งานกันประจำจะต้องถูกจัดอยู่กลุ่มเหล่านี้แบบไม่ต้องสงสัยเลยค่ะ
- Mass Keyword
จะเรียก Short Keyword, Head Keyword หรือ Seed Keyword ก็ถือว่าเป็นกลุ่มคีย์เวิร์ดในความหมายเดียวกันทั้งหมด นั่นคือ คำที่ระบุถึงสิ่งต่าง ๆ ในภาพรวมเป็นวงกว้าง ไม่ได้มีการเฉพาะเจาะจงถึงรุ่น แบรนด์ ประเภทสินค้า / บริการใดเป็นพิเศษ เช่น ร้านอาหาร รองเท้า รถยนต์ สปา ส่งผลให้ Volume หรือจำนวนการค้นหาของคำกลุ่มนี้จะสูง คู่แข่งเยอะ จึงไม่ค่อยนิยมใช้กันสักเท่าใดนัก
- Niche Keyword
บางคนอาจเรียก Body Keyword, Medium Tail Keyword หรือ Mid Tail Keyword ก็ได้ความหมายลักษณะเดียวกันค่ะ กลุ่มคีย์เวิร์ดนี้จะมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นจนบางครั้งอาจเปลี่ยนการเรียกจากคำมาเป็นวลีแทน สามารถนำมาใช้ในเชิง SEO เพื่อแยกหมวดหมู่หรือประเภทสินค้า / บริการที่ธุรกิจทำอยู่ ปริมาณการค้นหาและการแข่งขันมักอยู่ในระดับกลาง ใช้งานได้ดีกว่าแบบแรก เช่น รองเท้าฟุตบอล รถกระบะ 4 ประตู นวดแผนไทย ร้านอาหารตามสั่ง เป็นต้น
- Long Tail Keyword
คีย์เวิร์ดประเภทสุดท้ายจะมีการนำเอาคำมากกว่า 2-3 คำ มารวมกันให้กลายเป็นวลีที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อสิ่งเหล่านั้นสูงมาก อาจเป็นได้ทั้งการตั้งคำถาม การใช้วลีที่คนทั่วไปคุ้นเคยเพื่อต้องการค้นหาข้อมูลให้แคบลง เช่น รองเท้าผ้าใบสีขาว ยี่ห้อไหนดี รองเท้าผ้าใบสีขาวผู้ชายใส่สบาย ผ้าพันคอผู้หญิง ลายการ์ตูน โดเรมอน เป็นต้น ไปจนถึงการใช้คำเพื่อระบุตัวตนของสิ่งนั้น ๆ แบบชัดเจนไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ รุ่น ขนาด สี เช่น กีตาร์โปร่ง Yamaha F310, รถ 5 ประตู Honda City สีดำมือสอง เป็นต้น ปริมาณ Search Volume ของ Keyword ประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับเทรนด์ของสิ่งที่ค้นหาจึงมีได้ทั้งสูง กลาง และต่ำ
8 โปรแกรมหา Keyword ที่ดีที่สุดสำหรับ SEO
เรียกได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากที่สุดของการทำ SEO เลยก็ว่าได้ กับ “การทำคีย์เวิร์ดรีเสริช (Keyword Research)” เพราะการทำคีย์เวิร์ดรีเสริช (และนำคีย์เวิร์ดที่ได้ไปปรับใช้) นั้นเป็นตัวช่วยพาเว็บไซต์ของเราให้ไปปรากฎอยู่ในผลการค้นหา ทำให้ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายเจอเราบน Google
การจะเจอคีย์เวิร์ดที่กลุ่มเป้าหมายของเราใช้ค้นหาบน Google นั้นไม่ทำได้ไม่อยาก เพียงแต่ต้องมีเครื่องมือหรือโปรแกรมเข้ามาช่วยด้วย วันนี้โนเรียรวบรวมคัดสรรเอาโปรแกรมค้นหา Keyword ที่ดีที่สุด 8 โปรแกรม ซึ่งล้วนแต่เป็นโปรแกรมที่ทีมงานของเราเคยใช้งานมาแล้วทั้งนั้นค่ะ ตัวไหนดีมีข้อดีข้อด้อยต่างกันยังไง ตัวไหนเหมาะกับมือใหม่ ลองมาดูกันเลย!
โปรแกรมหา Keyword แบบจ่ายเงินสำหรับมือโปร
มาเริ่มกันที่โปรแกรมหา Keyword ที่ดีที่สุดจากบริษัทดังในวงการ SEO กันก่อน เครื่องมือบางส่วนในลิสท์นี้นอกจากการหาคีย์เวิร์ดแล้ว ยังสามารถทำอะไรได้อีกมากมาย ทำให้เป็นที่นิยมสำหรับใช้งานในกลุ่มบริษัทดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งเอเจนซี่
SEMRush
SEMrush เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีผู้ใช้มากมายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเอเจนซี่ออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง หรือธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆ เมื่อพูดถึงเครื่องมือในการค้นหาคีย์เวิร์ดทุกคนจะนึกถึงเครื่องมือนี้เป็นอับดับแรกๆ จะว่าคร่ำหวอดอยู่ในวงการนานเป็น 10 ปีก็ด้วย แต่เหตุผลสำคัญจริงๆ ก็เพราะ SEMrush เป็นเครื่องมือที่ทำอะไรได้หลายอย่างมากจริงๆ
จุดเด่น:
- มีการประเมินเว็บไซต์แบบ Quick Analysis ให้เห็นถึงภาพรวม
- ช่วยเว็บไซต์คุณเห็นว่าคู่แข่งติดอันดับด้วยคีย์เวิร์ดไหน เพื่อให้คุณวิเคราะห์คีย์เวิร์ดที่ควรใช้ในการดึงอันดับของตัวเอง
- นอกจากจะเป็นเครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดแล้ว ยังสามารถติดตามอันดับของเว็บไซต์ เพื่อดูพัฒนาการคีย์เวิร์ดที่เว็บไซต์กำลังติดอันดับด้วยได้
- สามารถเปรียบเทียบข้อมูลอันดับคีย์เวิร์ดเชิงลึกของเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ทั้งใน Google Search, Google Ads และ Google Shopping ได้
- สามารถดูประวัติของอันดับคีย์เวิร์ดย้อนหลังได้
ราคา:
SEMrush มีแพลนแบบจ่ายเงิน 4 แพลน ดังนี้
- Pro – เริ่มต้นที่ $83 ต่อเดือน
- Guru – เริ่มต้นที่ $166 ต่อเดือน
- Business – เริ่มต้นที่ $333 ต่อเดือน
- Enterprise – เป็นแบบ custom plan ได้โดยตรงกับ SEMrush
SEMrush มีแบบ Trial ให้ลองใช้ฟรีกันได้ ถ้าใช้แล้วโดนใจค่อยซื้อแพลนในแบบที่เหมาะสมกับตัวเอง
Ahrefs
ใครที่วนเวียนอยู่ในวงการดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งจะต้องคุ้นหูคุ้นตากับเครื่องมือที่มีชื่อโดดเด่นไม่เหมือนใครอย่าง Ahrefs (อ่านว่า เอชเรฟส์ หรือ เอเอชเรฟส์ ก็ได้) แน่ๆ เพราะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดติดอันดับต้นๆ มีฐานข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเครื่องมือแบบจ่ายเงินทั้งหมด เพราะมีข้อมูลคีย์เวิร์ดมากถึง 5.1 พันล้านคีย์เวิร์ด เก็บข้อมูลจากใน 200 ประเทศ ได้รับความไว้วางใจจากเอเจนซี่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะมากเป็นพิเศษสำหรับคนทำคอนเทนต์
จุดเด่น:
- คะแนนความยากของคีย์เวิร์ด หรือ Keyword Difficulty มีความเที่ยงตรงสูงมาก
- นอกเหนือจากข้อมูลจำนวนเสริชต่อเดือน (Search Volume) เครื่องมือนี้ใช้การเก็บข้อมูลที่ไม่เหมือนใคร เพื่อเน้นนำเสนอข้อมูล Click Metrics ซึ่งเป็นตัวชี้วัดฉบับของ Ahrefs ให้เราดูประกอบการพิจารณาเลือกคีย์เวิร์ด
- มีเครื่องมีที่ชื่อว่า Content Gap ช่วยวิเคราะห์ว่าเว็บของคุณ ยังสามารถทำคอนเทนต์ใดได้อีก เพื่อแข่งขันกับเว็บของคู่แข่ง
- มีฟีเจอร์ใกล้เคียงกับ SEMrush ตรงที่ช่วยติดตามอันดับของเว็บไซต์ สร้างโปรเจคได้สะดวกง่ายดาย เรียกว่าทำได้หลายอย่างในเครื่องมือเดียว
- เครื่องมือมีหน้าตาที่สวยงาม สะอาดสะอ้าน ใช้งานง่ายมาก
ราคา:
- เริ่มต้นที่ $99 ต่อเดือน สำหรับแพลนแบบ Lite
Ahrefs มีแบบ Trial ให้ลองใช้ฟรีกันได้ ถ้าใช้แล้วโดนใจค่อยซื้อแพลนในแบบที่เหมาะสมกับตัวเอง
Moz Keyword Explorer
บริษัทนี้เรียกได้ว่าคร่ำหวอดอยู่ในวงการ SEO มานานกว่าใครเพื่อน มีเครื่องไม้เครื่องมือเจ๋งๆ ที่ช่วยให้นักการตลาดที่ทำงานด้านนี้สะดวกสบายมากขึ้นมานักต่อนัก และเครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดอย่างเจ้า Moz Keyword Explorer ก็เป็นหนึ่งในนั้น
หมายเหตุ: เครื่องมือนี้จะเน้นเฉพาะการค้นหาคีย์เวิร์ด แต่ไม่ได้มีฟีเจอร์ที่จะช่วยจัดการหรือติดตามคีย์เวิร์ดแบบเครื่องมือที่กล่าวไปข้างต้นอย่าง SEMrush และ Ahrefs
จุดเด่น:
- นำเสนอข้อมูลเชิงลึกของคีย์เวิร์ดโดยเน้นที่คะแนน Organic CTR (Organic Click Through Rate) กับคะแนน Priority ที่เป็นการผสมผสานข้อมูลจำพวกอัตราการคลิก (CTR) คะแนนความยากของคีย์เวิร์ด (Keyword Difficulty) และจำนวนคนเสริชต่อเดือน (Search Volume) เพื่อให้ได้ชุดคีย์เวิร์ดที่น่าสนใจที่สุดออกมา
- สามารถหาคีย์เวิร์ดผ่าน URL ของเว็บไซต์ได้ คล้ายๆ กับเครื่องมือสองอันก่อนหน้านี้
- มีเครื่องมือ Keyword Suggestions พร้อมการ Filter ที่จะช่วยให้การค้นหาคีย์เวิร์ดทำได้สะดวกมากขึ้น
- สามารถค้นหาฟรีได้ 10 ครั้งใน 1 เดือนสำหรับคนที่ใช้บัญชีแบบฟรี
ราคา:
- เริ่มต้นที่ $99 ต่อเดือน สำหรับแพลนแบบ Standard
Moz Keyword Explorer มีแบบ Trial ให้ลองใช้ฟรีกันได้ 1 เดือนเต็ม
KWFinder
เครื่องมือนี้ก็เหมือนกับ Moz Keyword Explorer ตรงที่เน้นการค้นหาคีย์เวิร์ดโดยเฉพาะ ไม่ได้มีฟีเจอร์ในการดูแลหรือติดตามและพัฒนาการของอับดับใน Google แน่นอนว่าถ้าเทียบกับเครื่องมืออื่นๆ ข้างต้น KW Finder ดูจะเป็นน้องใหม่ที่ตลาด ไม่ได้เก๋าเกม หรืออยู่มานานแบบใคร แต่ก็นับเป็นบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเครื่องมือที่ให้บริการนั้นดีจริง
จุดเด่น:
- มีตัวเลือกให้หาแบบ Question-based Keyword Research เพื่อให้ง่ายต่อการหาคำถามที่ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายของคุณสนใจจริงๆ
- ง่ายต่อการหา Long Tail Keywords
- หน้าตาของเว็บสามารถใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
- สามารถใช้งานได้ฟรีได้ แต่จำกัดจำนวนครั้ง
- ใช้งานได้ในราคาที่เอื้อมถึง
ราคา:
- Basic – $29.90 ต่อเดือน
- Premium – $39.90 ต่อเดือน
- Agency – $79.90 ต่อเดือน
KWFinder มีแบบ Trial ให้ลองใช้ฟรีกันได้นาน 10 วัน
โปรแกรมหา Keyword แบบฟรีที่ดีที่สุด
ต่อไปมาดูกันที่โปรแกรมหา Keyword แบบที่ใช้งานได้ฟรีกันดูบ้าง ของฟรีและมีคุณภาพมีอยู่จริงๆ แถมเครื่องมือบางอันในนี้ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจาก Google เอง ทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือสูงมาก
เครื่องมือนี้เป็นของ Google โดยตรงที่ผูกอยู่กับบัญชีการใช้งาน Google Ads (หรือที่เมื่อก่อนเรียกว่า Google Adwords) ทำให้มั่นใจในความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้ และก็เป็นเครื่องมือที่เหล่านักการตลาดออนไลน์ใช้กันมานานก่อนที่จะมี tools ใหม่ๆ ผุดขึ้นมาให้เลือกกันไม่หวาดไม่ไหวอย่างในปัจจุบันนี้
จุดเด่น:
- เหมาะกับสำหรับคนที่เพิ่มเริ่มต้น ยังไม่มีงบที่จะลงทุนในเครื่องมือที่ Advanced เจ้าตัว Google Keyword Planner ถือเป็นเครื่องมือระดับ Advanced ที่เปิดให้ใช้ได้ฟรี
- มีข้อมูลจำนวนการค้นหาต่อเดือนที่แม่นยำ (Search Volume)
- สามารถใช้งานได้ฟรีได้ แต่การแสดง Search Volume ของบัญชีผู้ใช้ที่ไม่ได้มีการสร้างและใช้งานแคมเปญ Ads อยู่จะแสดงผลเป็น Range แทนที่ตัวเลขแบบเป๊ะๆ
ราคา:
- ฟรี
Google Trends
เครื่องมือนี้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือจาก Google โดยตรงที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้ฟรี แน่นอนว่าพอมาจาก Google คะแนนความน่าเชื่อถือก็ได้ไปเต็ม ตามชื่อเครื่องมือเลยก็คือจะจำเพาะเหมาะสำหรับการดูเทรนด์ของการเสริชหามากกว่าเครื่องมือแบบอื่นๆ ที่จะเป็นการเสริชแบบทั่วไปมากกว่า
จุดเด่น:
- เหมาะกับการค้นหาข้อมูลแบบเป็นคำๆ มากกว่าเป็นกรุ๊ป สามารถนำคำค้นหาหรือคีย์เวิร์ดที่ต้องการมาเปรียบเทียบความนิยมกันได้ โดยคะแนนความนิยมจาก 1-100 (100 คือความนิยมสูงสุด)
- สามารถค้นหาข้อมูลโดนเจาะลึกไปที่ภูมิภาค/เขตได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งสามารถเจาะลึกว่าเป็นการค้นหาผ่านอุปกรณ์อะไร
- มีลักษณะเป็นกราฟแบบ Responsive เห็นภาพชัดเจน
- แม้ Google Trends จะไม่มีข้อมูลจำพวก Keyword Difficulty หรือ CTR แบบเครื่องมืออื่นๆ แต่จะมีสรุปให้ด้วยว่า ณ ขณะนั้น คำเสริชอะไรที่กำลังเป็นเทรนด์อยู่บน Google ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เครื่องมืออื่นไม่มี
ราคา:
- ฟรี
Answer the Public
เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือดีๆ อีกหนึ่งอันที่เหมาะสำหรับการค้นหาคีย์เวิร์ดยาวหรือคีย์เวิร์ดแบบเป็นคำถาม (Long Tail Keywords) ได้ง่ายๆ จากการพิมพ์คีย์เวิร์ดแบบสั้นๆ ที่ต้องการลงไป
จุดเด่น:
- เหมาะสำหรับการค้นหาคีย์เวิร์ดแบบยาว คีย์เวิร์ดเชิงคำถาม ตามภูมิภาค ประเทศ และภาษา
- เหมาะสำหรับการค้นหาไอเดียกว้างๆ มากกว่าการค้นหาข้อมูลเชิงลึกแบบจริงจัง
- แบบฟรีนั้นจะค้นหาได้วันละไม่เกิน 3 ครั้ง
ราคา:
- ฟรี (แต่มีการจำกัดจำนวนครั้งในการเสริช) อยากอัปเกรดเริ่มต้นที่ $99 บาท
KeywordTool.io
เครื่องมือหน้าตาใช้งานง่ายมาก เพียงแค่เข้าไปหน้าเว็บก็สามารถเริ่มใช้งานได้เลย หน้าตาของข้อมูลที่ได้ออกมานั้นเรียกได้ว่าแทบไม่ต่างจากข้อมูลของเครื่องมือดีๆ อย่าง Google Keyword Planner เลย
จุดเด่น:
- เหมาะกับการค้นหาคีย์เวิร์ดแบบที่ต้องการข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดนั้นๆ เยอะๆ
- ใช้งานง่ายมาก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น (ง่ายกว่า Google Keyword Planner)
- เหมาะสำหรับใครที่อยากค้นหาข้อมูลคีย์เวิร์ด โดยแยกตามชนิดของเสริชเอนจิ้น เช่น Google, Bing, Yahoo, Youtube เป็นต้น
- เหมาะสำหรับใครที่อยากค้นหาข้อมูลคีย์เวิร์ด โดยแยกตามชนิดของแพลตฟอร์ม เช่น Amazon, App Store, Instagram เป็นต้น
ราคา:
- ฟรี (แต่ก็ไม่ทั้งหมด) อยากอัปเกรดเริ่มต้นที่ $69 บาท
ของดีราคาถูกที่อยากให้ทุกคนมีโอกาสได้ใช้งานกันค่ะ ความพิเศษคือฟีเจอร์สำหรับใช้ทำ SEO จัดว่าครบเครื่องมาก เพราะต้องเข้าใจว่ากลยุทธ์การตลาดประเภทนี้ไม่ใช่แค่หา Keyword ที่ดีแล้วจะเพอร์เฟกต์ แต่ทุกอย่างต้องลงตัว นั่นทำให้ตัวโปรแกรมมีการพัฒนาฟีเจอร์น่าสนใจ เช่น Traffic Analyzer, SEO Analyzer มาให้ใช้งานกันด้วย
สรุป
- โปรแกรม/เครื่องมือทำได้หลายอย่างครอบจักรวาล – SEMrush
- โปรแกรม/เครื่องมือที่เหมาะสำหรับมือใหม่ – KeywordTool.io
- โปรแกรม/เครื่องมือที่เหมาะสำหรับมือใหม่ และฟรี – Google Keyword Planner (หน้าตาโปรแกรมใช้งานยากกว่า KeywordTool.io เล็กน้อย เพราะต้องเข้าผ่านบัญชีผู้ใช้งาน Google Ads)
- โปรแกรม/เครื่องมือที่เหมาะสำหรับคนทำคอนเทนต์มืออาชีพ – Ahrefs
- โปรแกรม/เครื่องมือที่ราคาถูกที่สุด (ไม่นับแบบฟรี) – KwFinder
- โปรแกรม/เครื่องมือที่เน้นการค้นหาคีย์เวิร์ดบนหลายแพลตฟอร์ม – KeywordTool.io
- โปรแกรม/เครื่องมือที่เน้นการดูเทรนด์การเสริช – Google Trends
- โปรแกรม/เครื่องมือที่เน้นการหาคำถามและ Long Tail Keywords – KwFinder, Answer The Public
การรีวิวโปรแกรม/เครื่องมือในการค้นหา Keyword ที่ดีที่สุด ยังไม่จบเพียงเท่านี้ ฝนเชื่อว่ายังมีเครื่องมือในการทำคีย์เวิร์ดรีเสริชดีๆ อีกมากมายในท้องตลาดที่เรายังไม่ได้เอ่ยถึงในลิสท์ ฝนจะค่อยๆ ทยอยนำมาอัปเดตให้ฟังกันอีกทีหนึ่งนะคะ
จะเลือกคีย์เวิร์ดเพื่อใช้งาน สังเกตยังไงบ้าง
อีกคำถามของคนทำ SEO มือใหม่ หรือแม้แต่คนมีประสบการณ์บ่อยครั้งก็ยังอาจมีข้อผิดพลาดในการเลือกใช้คีย์เวิร์ดได้บ้างนะคะ จึงอยากอธิบายเกี่ยวกับเทคนิคดี ๆ เพื่อเลือก Keywords สำหรับการทำ SEO ให้ผลลัพธ์ออกมาตรงกับความคาดหวังและน่าพึงพอใจสูงสุด
- ต้องเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าตนเองทำธุรกิจประเภทใด มีสินค้า / บริการรุ่นไหนบ้าง ดังนั้นประเภท Keyword แรกที่ควรค้นหานั่นคือคำที่เฉพาะเจาะจงสื่อถึงธุรกิจของตนเองให้ชัดเจนค่ะ เช่น ร้านขายเครื่องดนตรี ปิ่นเกล้า, ขายกีตาร์ไฟฟ้า Fender, รับผลิตสบู่ OEM บางปู
- ปริมาณที่มีการค้นหา
เมื่อมีคำในใจเบื้องต้นแล้วว่าอยากใช้คำไหนบ้าง หลักการต่อมาให้ใช้โปรแกรมค้นหา Keyword ตามที่แนะนำไปเพื่อดูปริมาณการค้นหาของคำที่ตนเองคิดว่าเยอะมากน้อยแค่ไหน ซึ่งคีย์ที่จะตอบโจทย์ธุรกิจมากสุดต้องอยู่ตรงกลางระหว่าง ไม่เยอะเกินไปเพราะโอกาสสู้กับคู่แข่งที่ทำ SEO มาก่อนถือว่ายากและใช้เวลานาน แต่ถ้าน้อยเกินไปนั่นเท่ากับแทบไม่มีคนสนใจคำนั้นเลย ทำไปก็เสียเงิน เสียเวลาฟรีเปล่า ๆ
- คำที่กำลังเป็นเทรนด์
หากธุรกิจของคุณมีช่วงจังหวะที่ผู้คนกำลังพูดถึง ได้รับความนิยม หรือกำลังอยู่ในเทรนด์ การเลือกใช้คำที่เกี่ยวข้องอาจไม่ใช่คีย์ที่ตรงตัวกับธุรกิจก็มีสิทธิ์ได้ผลลัพธ์ที่ดีเหมือนกันนะคะ เช่น กระแสของรถยนต์ไฟฟ้า ก็ให้ใช้คีย์ “รถยนต์ไฟฟ้า” เป็น Mass Keyword หลัก จากนั้นจะเพิ่มคำไหนลงไปให้เกิดวลีที่คนมักนึกถึงก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเลย
- Long Tail Keyword เชิงคำถามหรือให้คำแนะนำ
คนยุคใหม่ก่อนตัดสินใจซื้อสิ่งใดก็ตามพวกเขามักค้นหาข้อมูลก่อนเสมอค่ะ ดังนั้นการเพิ่มเติมหางของคีย์เวิร์ดเข้าไปในลักษณะการตั้งคำถามหรือให้คำแนะนำ เช่น แว่นดำ ยี่ห้อไหนดี, มือถือซัมซุง รุ่นไหนดี, ที่พักหัวหินติดทะเล, ร้านอาหารเกาหลี ราชพฤกษ์ ฯลฯ โอกาสที่เว็บของคุณจะติดอันดับด้วยคำเหล่านี้และลูกค้าตัดสินใจซื้อก็มีอยู่ไม่น้อยเลยค่ะ
บทสรุป
ตอนนี้ทุกคนคงได้เข้าใจไปบ้างแล้วว่าสรุปแล้ว Keyword คืออะไร สำคัญอย่างไร มีโปรแกรมใดเหมาะจะใช้ค้นหา Keywords บ้าง รวมถึงเทคนิคในการคัดเลือกคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมและตอบโจทย์ด้วยข้อมูลทั้งหมดที่เรานำมาบอกต่อให้กับทุกคนเข้าใจมากขึ้นในวันนี้ เพราะ keyword มีความสำคัญมากสำหรับการที่จะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับบน search engines การเลือก keyword ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายหรือ keyword ที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจจึงสำคัญอย่างยิ่ง ลองศึกษาเกี่ยวกับ keyword และการทำ SEO แล้วลองนำไปปรับใช้กันได้เลยค่ะ
สำหรับใครที่อยากปรับปรุงเว็บไซต์ให้ SEO-friendly แต่ไม่มีเวลาทำเอง และกำลังมองหาแพ็คเกจ SEO ราคาสมเหตุสมผลในยุคเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองแบบนี้ ลองติดต่อมาคุยกับทีมงานของเราดูนะคะ พวกเราเชี่ยวชาญการทำ SEO เพื่อดึงอันดับและเพิ่ม Traffic ให้กับลูกค้าค่ะ