หลักการทำ SEO ที่ดีนั้นจำเป็นต้องเริ่มจากทำความเข้าใจว่า Heading Tag ก่อน เมื่อคุณเข้าใจ Heading Tag แล้ว คุณก็จะสามารถปรับแต่ง Heading Tag ให้เหมาะสมกับคอนเทนต์ที่คุณต้องการจะใส่ลงในเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งการมี Heading Tag ก็จะทำให้หน้าเว็บของคุณดูสวยงาม มีความเป็นมืออาชีพ และยังช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้อ่านได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยดึงดูดให้ผู้อ่านอยู่บนหน้าเว็บของคุณได้นานขึ้นด้วย วันนี้เรามาดูกัน Heading Tag คืออะไร มีประเภทอะไรบ้าง และควรใช้งาน Heading Tag อย่างไรให้เป็นผลดีกับการทำ SEO ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Heading Tag คืออะไร? มาไขคำตอบไปพร้อมกัน
คำว่า ‘Heading Tag’ คือ HTML Tag ที่ช่วยให้โครงสร้างของเนื้อหาในบทความบนเว็บไซต์ดูง่ายขึ้น เพราะเป็นการใช้ Heading Tag กำหนดว่าแต่ละส่วนของบทความมีหัวข้อใดเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อใดเป็นหัวข้อรอง และหัวข้อใดเป็นหัวข้อย่อย โดยทั่วไป Heading Tag จะมีทั้งหมด 6 ระดับ นั่นคือ H1 ถึง H6 แต่ที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือ H1 ถึง H3 เนื่องจากบทความที่ดีจะต้องไม่เวิ่นเว้อหรือยาวจนเกินไปนั่นเอง Heading Tag มีความสำคัญคือการช่วยให้เครื่องมือค้นหาหรือ Search Engines อย่างเช่น Google เข้าใจโครงสร้างของเนื้อหาได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเพิ่มอัตราการคลิกบนเว็บไซต์ในหน้าผลการค้นหาอีกด้วย
ประเภทของ Heading Tag มีอะไรบ้าง
สำหรับ Heading Tag หรือ HTML header ที่ใช้ในการกำหนดหัวข้อต่างๆ นั้น เราทราบกันแล้วว่ามีทั้งหมด 6 ระดับ ตั้งแต่ H1 ถึง H6 อย่างไรก็ดี เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ H1 ถึง H6 อย่างละเอียดยิ่งขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ Heaging Tag ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงสามารถสร้างงานเขียนให้มีคุณภาพมากขึ้น ด้วยการทำความรู้จัก Heading Tag แต่ละระดับมากขึ้นดังนี้
H1 คือหัวข้อใหญ่ที่ทุกเพจต้องมี
H1 เป็นหัวข้อใหญ่ที่ทุกหน้าเว็บไซต์ควรมี เมื่อพูดถึงหลักการทำ SEO แน่นอนว่า Heading 1 หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า H1 / <h1> คือส่วนสำคัญมากที่ขาดไม่ได้ เพราะ Heading 1 ช่วยให้ทั้งผู้อ่านและอัลกอริทึมของ Google เข้าใจว่าเนื้อหาหลักของหน้าเว็บนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ซึ่งจะช่วยให้ Google จัดอันดับ SEO ให้กับเว็บไซต์ขึ้นมาอยู่ในหน้าแรกๆ มากขึ้นในภายหลัง ในแต่ละบทความ H1 ควรจะมีเพียงหนึ่งจุดเท่านั้น และต้องเป็นหัวข้อแรกของบทความเท่านั้น
H2 คือพระรองแต่มีความสำคัญไม่แพ้ H1
ส่วน Heading 2 หรือ H2 / <h2> เป็นหัวข้อที่สำคัญรองลงมาจาก H1 ซึ่งมีหน้าที่ในการขยายความหรือให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อหลัก โดยภายในหนึ่งบทความ สามารถมี H2 หลายหัวข้อได้ แต่จำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญให้ดีว่าหัวข้อไหนควรเป็นลำดับแรกและหัวข้อไหนควรตามมาในลำดับถัดไป เพื่อให้บทความเข้าใจง่าย ดูเรียบร้อย และมีข้อมูลที่ครบถ้วน
H3-H6 คือส่วนขยายเนื้อหาบทความเพิ่มเติม
สำหรับ Heading 3 ถึง Heading 6 หรือ H3-H6 / <h3>, <h4>, <h5>, <h6> เป็นหัวข้อย่อยที่ใช้เพื่อขยายความเนื้อหาบทความเพิ่มเติม เพื่อทำให้บทความมีความสมบูรณ์และละเอียดยิ่งขึ้น เหตุผลที่ต้องแยกหัวข้อเหล่านี้ออกมาเพราะหาก H2 มีความยาวเกินไป อาจทำให้ดูไม่สวยงามและพาลให้ไม่ค่อยน่าอ่าน โดยตัวอย่างการใช้งานคือ H3 จะใช้เพื่อขยายความหัวข้อ H2 ในขณะที่ H4 จะใช้ขยายความหัวข้อ H3 และขยายต่อๆ กันไปเรื่อย ๆ ตามนั้น
เทคนิคการใช้งาน Heading Tag ง่ายๆ
สำหรับนักเขียนมือใหม่ที่เริ่มต้นเข้าสู่วงการ SEO นอกจากจะต้องเข้าใจหลักการเขียนที่ดีแล้ว การมีทริคในการใช้โครงสร้างของ Heading Tag จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสให้งานเขียนออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นแล้ว อย่ารอช้า ไปดูทริคการใช้งาน Heading Tag เพื่อช่วยให้ SEO ประสบความสำเร็จในเวลาไม่นานกันดีกว่า
- 1 บทความควรมี H1 จุดเดียวเท่านั้น
- พึงระลึกเสมอว่าการสลับตำแหน่งของ Heading Tag อาจส่งผลต่อการจัดอันดับ SEO
- ใส่ Keyword ลงใน Heading Tags ให้เหมาะสม โดยเฉพาะใน H1 และ H2
- ปรับเนื้อหาและโครงสร้างให้ง่ายต่อการอ่าน เพื่อรองรับการใช้ Featured Snippets
- การสร้างคอนเทนต์จะเป็นเรื่องง่าย เมื่อคุณรู้จักและใช้ Heading Tag อย่างเหมาะสม
การเข้าใจความหมายของ Heading Tag และใช้งานอย่างถูกต้องตามโครงสร้างของ SEO หรือ HTML Tag จะช่วยเพิ่มโอกาสให้บทความหรือหน้าเว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้ง่ายขึ้น ทั้งยังส่งผลดีต่อการจัดอันดับโดย Search Engine นอกจากนี้ การเข้าใจหลักการใส่คีย์เวิร์ดใน Heading Tags อย่างเหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน หากคุณอยากให้เว็บไซต์ติดอันดับได้เร็วมากขึ้น ขอแนะนำบริการ Managed SEO service ของ Search Studio บริการที่จะดูแลและจัดการในทุกส่วนสำคัญของการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว ยั่งยืน และคุ้มค่า ติดต่อเราได้เลยวันนี้