Marketing

Google Ads คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับ Google AdWords

Fast To Read

เสิร์ชสตูดิโอเคยเขียนบทความขึ้นมาชิ้นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำ Google Ads แบบคร่าวๆ กันไปแล้ว แต่บทความวันนี้จะมาเจาะลึกเกี่ยวกับ Google Ads สำหรับ Beginners หรือมือใหม่ที่เพิ่งหัดทำความเข้าใจ Google Ads มาดูกันว่ามันคืออะไร? เหมาะกับใคร? จะสามารถตอบโจทย์ธุรกิจของคุณได้หรือไม่อย่างไร?

Google Ads หรือ Google AdWords กันแน่? เกี่ยวข้องกันยังไง

จริงๆ ก็คืออย่างเดียวกันนั่นแหละค่ะ เมื่อก่อนเรียกกันว่า Google AdWords ตอนนี้เรียกว่า Google Ads เพราะ Google รีแบรนด์ตัวเองให้เป็น Google Ads ค่ะ แต่ทุกอย่างยังเหมือนเดิมก็คือเป็นตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถสร้างแคมเปญโฆษณาบน Google และทำงานร่วมกับ Google AdSense และ Google Display Network (GDN) ได้

Google Ads คืออะไร?

Google Ads ก็คือผลิตภัณฑ์จาก Google เป็นหนึ่งในเครื่องมือทำการตลาดออนไลน์ผ่านการโฆษณา (Ads) บน Google โดยมักจะมีการทำงานร่วมกับ Google AdSense และเครือข่ายอื่นๆ ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับกูเกิ้ล 

หลักๆ แล้ว Google Ads จะช่วยลงโฆษณาสินค้าหรือบริการผ่านการแสดงผลในระบบค้นหา Search Engines เมื่อมีคนค้นหาด้วยคำ หรือคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับโฆษณาของคุณ โดยคนที่สนใจลงโฆษณากับกูเกิลจะต้องเสียเงินก็ต่อเมื่อมีคนกดคลิกโฆษณา เพื่อผ่านลิงก์ที่เชื่อมต่อไปยังหน้าเว็บไซต์ของผู้ลงโฆษณา 

การแสดงโฆษณาอาจแสดงได้หลายตำแหน่งทั้งด้านบนและด้านล่างของผลการค้นหา

Ad Rank in Google

ด้านบนของผลการค้นหา

Ads Serps Bottom

ด้านล่างของผลการค้นหา

การเลือกจุดประสงค์ของ Google Ads

เมื่อต้องการเริ่มแคมเปญโฆษณา Google Ads จะให้คุณสามารถเลือกทำแคมเปญตาม Goal ต่างๆ ดังต่อไปนี้

สร้างแคมเปญ Google Ads

• Sales

เมื่อจุดประสงค์คือการเพิ่มยอดขายในช่องทางต่างๆ

• Leads

เมื่อจุดประสงค์คือเพิ่มจำนวนลูกค้าที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับโฆษณา (โดยหวังผลว่าจะสามารถเปลี่ยนเป็นการขายได้ในที่สุด)

• Website Traffic

เมื่อจุดประสงค์คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

• Product And Brand Consideration

เมื่อจุดประสงค์คือเพื่อให้ผู้คนเห็นสินค้าและแบรนด์ของคุณ เพื่อให้ธุรกิจของคุณเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจซื้อของลูกค้า

• Brand Awareness And Reach

เมื่อจุดประสงค์คือเพื่อให้ถึงผู้คนในวงกว้างและสร้างการรับรู้ของแบรนด์ให้มากขึ้น

• App Promotion

อันนี้จะเหมาะสำหรับคนที่ทำแอปพลิเคชัน จะทำเมื่อจุดประสงค์คือเพิ่มโอกาสให้ผู้คนเห็นแอปพลิเคชัน และดาวน์โหลดมาติดตั้งในสมาร์ทโฟนของตัวเองในที่สุด

• Create Campaign Without A Goal’s Guidance

จะเป็นการสร้างแคมเปญเองแบบไม่ต้องมี Guidelines ช่วยเหลือจาก Google Ads ผู้สร้างแคมเปญสามารถสร้างสรรค์แคมเปญในแบบที่ต้องการได้

รูปแบบของแคมเปญ Google Ads มีอะไรบ้าง

รูปแบบแคมเปญ Google Ads

1. Search 

จะเป็น Ads ที่อยู่ในรูปแบบของ Text หรือตัวหนังสือ เหมือนภาพ screenshot ที่เราโชว์ไว้ข้างต้น โดยเน้นที่คีย์เวิร์ดเป็นตัวละครหลัก ซึ่งนั่นก็เพราะผู้ค้นหาจะค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดต่างๆ เวลาใช้ Google Search นั่นเอง เมื่อคำค้นหาของผู้ค้นหามา Match กันกับแคมเปญ Search Ads ที่เราสร้างเอาไว้ โฆษณาของเราก็จะปรากฏอยู่ด้านบนหรือด้านล่างของหน้าแสดงผลการค้นหานั่นเอง ส่วนเรื่องที่ว่าโฆษณาของคุณจะอยู่อันดับที่เท่าไหร่ จะบนหรือล่างนั่น ต้องดูที่การประมูลอีกทีหนึ่ง

2. Google Display Network หรือ GDN

ขึ้นชื่อว่า Display แสดงว่าต้องมีอะไรให้โชว์ ไม่ใช่แค่รูปแบบเรียบง่ายแบบ Text หรือตัวอักษร แต่โฆษณาในรูปแบบนี้จะเห็นรูปภาพและตัวหนังสือ ในลักษณะของ Banner ซึ่งเจ้าแบนเนอร์ตัวนี้จะไม่ได้ปรากฏขึ้นมาบนหน้า Google Search เหมือน Search Ads แต่จะปรากฏไปยังที่ต่างๆ เช่น บนเว็บไซต์ทั่วๆ ไปที่เป็นพันธมิตรกับ Google

3. Shopping

Google Shopping Ads เป็นโฆษณาแบบที่แสดงผลคล้ายๆ Marketplace คุณสามารถใส่รูปภาพสินค้น ราคา รายละเอียดอื่นๆ เมื่อมีคนค้นหาใน Google Search เป็นชื่อสินค้า หรือลักษณะของสินค้านั้นๆ เจ้า Google Shopping ก็จะโผล่ขึ้นมา ข้อเด่นของ Google Shopping คือ ผู้ซื้อจะได้สามารถเห็นผลิตภัณฑ์แบบที่อยากได้หรือแบบที่ใกล้เคียงและคล้ายกันขึ้นมาพร้อมๆ กันจากหลายๆ แหล่ง ให้สามารถเปรียบเทียบราคาและรายละเอียดอื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อได้ 

4. Video

รูปแบบวิดีโอก็คงหนีไม่พ้นต้องเป็นการทำโฆษณาบน Youtube การทำโฆษณาบน Youtube ที่สามารถมีความยาวได้หลากหลาย เลือกการแสดงผลให้เป็นต้นคลิป กลางคลิป โดยที่รายได้จากโฆษณาเหล่านี้จะถูกแบ่งไปยัง Youtuber ด้วย ไม่ได้เข้า Google อย่างเดียว

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Youtube Ads

5. App

แน่นอนว่าตามชื่อของรูปแบบ สิ่งที่จะนำมาโฆษณาก็ต้องเป็นแอฟพลิเคชัน โดยโฆษณาในลักษณะนี้จะมีการโฆษณาในรูปแบบ GDN ไปได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็น Youtube แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์อื่นๆ (รวมทั้ง Google Play Store ด้วย)

6. Smart

แบบ Smart หมายถึงยังไง? แบบ Smart หมายถึงจะให้ตัวเราสามารถกำหนด หรือ Customise ได้เอง ว่าอยากให้มี Action อย่างไรบนเว็บไซต์ของเรา อยากที่จะ Re-marketing นอกจากนี้ยังสามารถทำให้โฆษณาโชว์ได้ทั้งบน Google Search หรือ Google Maps ก็ได้ ทั้งหมดเราสามารถกำหนดได้เอง

7. Discovery

แบบ Discovery หมายถึงยังไง? Discovery Ads เป็นรูปแบบโฆษณาแบบใหม่จากทาง Google Ads คือการรันแอดบนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Google เช่น Google Now, Gmail และ Youtube

ได้เวลาลงมือทำ

สุดท้ายนี้ สำหรับใครที่ต้องการทํา Google Ads (Google Adwords) ด้วยตัวเอง แต่ยังไม่มั่นใจว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร ยังไม่มั่นใจว่าควรจะทำดีหรือไม่ หรือมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับการทํา Google Ads ด้วยตัวเอง สามารถติดต่อมาได้ตามช่องทางการติดต่อต่างๆ ของเสิร์ชสตูดิโอได้ เรายินดีพร้อมให้คำปรึกษาและช่วยวางแผนในการทำ Google Ads ตั้งแต่เบื้องต้นไปจนถึงระดับมืออาชีพ จากผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ Google Ads ที่มีประสบการณ์หลายปีโดยเฉพาะ

Written By

เริ่มเข้าสู่สายงานนี้จากการเป็น Link builder ตัวเล็กๆ ที่ร่างไม่เล็กนัก ผ่านมา 4 ปีแล้วจาก Day 1 ยังพยายามเพิ่มพูนทักษะในสายงาน Digital Marketing อยู่เสมอ ติดบ้านแบบแงะออกยาก ชอบอ่านหนังสือ แต่สะสมไฟล์ epub มากกว่าหนังสือจริง ชอบฟัง Podcast หลงใหลใน Pop culture และการเขียนเรื่องสั้น สนใจเรื่อง Productivity เพราะเชื่อว่าเมื่อเรา Productive การทำงานจะเป็นเรื่องสนุก พูดคุยกับ Gigi ที่ LinkedIn
Views
Related Article

รับคำปรึกษา
SEO ฟรี!

ตรวจสถานะ SEO ของเว็บไซต์ของคุณ ฟรี พร้อมคำแนะนำจาก SEO Specialist ของเรา มูลค่า 35,000 บาท

มีจำนวนจำกัด เท่านั้น ติดต่อเราเลย

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.