ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายคนอาจเคยได้ยินคำนี้มาบ้าง แต่รู้หรือไม่ว่า อีคอมเมิร์ซคืออะไร มีอะไรบ้าง และทำไมถึงน่าสนใจ? บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับโลกของอีคอมเมิร์ซอย่างละเอียด พร้อมแนะนำธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่น่าจับตามอง และเทคนิคการโปรโมตธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
ธุรกิจ E-Commerce คืออะไร
E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) ย่อมาจาก Electronic Commerce คือการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้สื่อกลางอย่างอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือโซเชียลมีเดีย โดยไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านจริง เปรียบเสมือนการย้ายตลาดมาอยู่บนโลกออนไลน์ ผู้ซื้อสามารถเลือกชมสินค้า เปรียบเทียบราคา และสั่งซื้อสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต อีกทั้งยังสามารถชำระเงินง่าย ๆ ผ่านระบบออนไลน์ แล้วรอรับสินค้าที่บ้านได้เลย ทำให้การซื้อของกลายเป็นเรื่องง่าย และสะดวกมาก ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่อย่างลงตัว
สำหรับในมุมของผู้ขายหรือเจ้าของธุรกิจ อีคอมเมิร์ซช่วยให้สตาร์ทอัพ ธุรกิจขนาดเล็ก และบริษัทขนาดใหญ่สามารถขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในวงกว้างได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ลดต้นทุน และที่สำคัญคือสามารถเข้าถึงลูกค้าทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง
E-Commerce มีอะไรบ้าง
อีคอมเมิร์ซมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่ทำการซื้อขาย เช่น การซื้อของออนไลน์ (Online Shopping) การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) การประมูลออนไลน์ (E-Auction) และธนาคารทางอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) เป็นต้น
ประเภทของสินค้าและบริการ ที่สามารถซื้อขายผ่านธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยทั่วไปจะแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้
1. สินค้าที่จับต้องได้
คือการซื้อขายสินค้าที่สามารถจับต้องได้ เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ของใช้ในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า ทีวี เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั้งสินค้าขนาดใหญ่อย่างรถยนต์
2. สินค้าดิจิทัล
การขายสินค้าดิจิทัลจะเป็นการแลกเปลี่ยนมูลค่าทางการเงิน เพื่อซื้อสินค้าที่ไม่มีตัวตน แต่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น ไฟล์เสียง ไฟล์วิดีโอ และหนังสือ E-book เป็นต้น
3. บริการ
การซื้อขายบริการจะเป็นการแลกเปลี่ยนมูลค่าทางการเงิน เพื่อได้รับเป็นบริการที่ลูกค้าต้องการ เช่น การขนส่ง การดูแลสุขภาพ และการศึกษา เป็นต้น
ธุรกิจ E-Commerce มีกี่ประเภท
การแบ่งประเภทของ E-Commerce จะแบ่งตามรูปแบบการซื้อขาย โดยดูว่าใครเป็นผู้ขายและขายสินค้าหรือบริการนั้นให้ใคร หลัก ๆ จะมี 3 ส่วน คือ
– ผู้บริโภค (C-Customer)
– ธุรกิจ (B-Business)
– รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ (G-Government)
รูปแบบธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่พบบ่อย มี 9 ประเภท ได้แก่
1. B2C (Business to Consumer) : ธุรกิจขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง เช่น ร้านค้าออนไลน์ แอปพลิเคชันสั่งอาหาร แพลตฟอร์มขายของออนไลน์ Lazada, Shopee
2. C2C (Consumer to Consumer) : ผู้บริโภคขายให้กับผู้บริโภคด้วยกันเอง เช่น เว็บไซต์ประมูลสินค้า เว็บไซต์ขายของมือสอง
3. B2B (Business to Business) : ธุรกิจขายให้กับธุรกิจ เช่น เว็บไซต์ขายสินค้าราคาส่งสำหรับร้านค้า เว็บไซต์ขายวัตถุดิบสำหรับโรงงาน
4. C2B (Consumer to Business) : ผู้บริโภคขายให้กับธุรกิจ มักจะเป็นการขายบริการ เช่น ช่างภาพ ที่ปรึกษา นักเขียน
5. B2G (Business to Government) : ธุรกิจขายให้กับภาครัฐ เช่น หน่วยงานของรัฐจ้างบริการทำความสะอาดจากผู้รับเหมาภายนอก
6. C2G (Consumer to Government) : ผู้บริโภคขายให้กับรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ เช่น ผู้รับเหมายื่นประมูลราคาต่อหน่วยงาน เพื่อปรังปรุงพื้นที่อาคารสำนักงาน
7. G2C (Government to Consumer) : รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐขายให้กับผู้บริโภค เช่น บริการยื่นภาษีออนไลน์ บริการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็ทรอนิกส์
8. G2B (Government to Business) : รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐขายให้กับธุรกิจ เช่น การจดทะเบียนทางการค้า
9. D2C (Direct to Consumer) : เจ้าของสินค้าหรือแบรนด์ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ไม่ผ่านคนกลาง แต่ใช้ช่องทางแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า เช่น Facebook, TikTok, Instagram เป็นต้น D2C เป็นอีคอมเมิร์ซรูปแบบใหม่ล่าสุดที่ได้รับความนิยมมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ธุรกิจ E-Commerce ที่น่าสนใจ ปี 2024
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่น่าสนใจในปัจจุบัน มักเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่เน้นความง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีตัวเลือกที่หลากหลาย
ตัวอย่าง 5 ธุรกิจที่น่าจับตามอง และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
● ธุรกิจสินค้าสุขภาพและความงาม : ผู้คนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและรูปลักษณ์มากขึ้น ทำให้ธุรกิจสินค้าประเภทนี้ได้รับความนิยมสูงขึ้น
● ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม : ตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิดเป็นต้นมา ส่งผลให้ผู้คนนิยมสั่งอาหารทานที่บ้านมากขึ้น ทำให้บริการสั่งอาหารออนไลน์เติบโตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
● ธุรกิจแฟชั่น : ผู้บริโภคยุคใหม่ชอบซื้อสินค้าแฟชั่นออนไลน์ ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เพราะเดี๋ยวนี้มีร้านให้เลือกมากมาย ทำให้สะดวก รวดเร็ว และมีตัวเลือกหลากหลาย
● ธุรกิจสินค้าดิจิทัล : สินค้าดิจิทัล เช่น ภาพถ่าย เพลง สติกเกอร์ไลน์ ธีมไลน์ เทมเพลตออนไลน์ หลักสูตรออนไลน์ หนังสือ E-book ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน ทั้งหมดนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในตอนนี้ และเป็นธุรกิจที่สามารถทำเป็นรายได้เสริมได้ด้วย
● ธุรกิจสินค้าเฉพาะกลุ่ม: สินค้าที่มีกลุ่มลูกค้าเฉพาะเจาะจง เช่น สินค้าสำหรับเด็ก สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง สินค้าออร์แกนิก ถือว่าเป็นธุรกิจที่เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายโดยตรง และมีคู่แข่งน้อย
โปรโมตธุรกิจ E-Commerce อย่างไรให้ขายดี
การโปรโมตธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่ทันสมัยและใช้ได้ผล หากใครยังไม่รู้ว่าจะใช้กลยุทธ์อะไรดี วันนี้เรามี 10 กลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ปี 2024 มาฝาก
1. การทำ SEO (Search Engine Optimization)
● ปรับแต่งเว็บไซต์และสินค้าให้รองรับการค้นหาบน Google จะช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าเจอได้ง่ายขึ้น
● เขียนเนื้อหาบทความที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ
● ใช้ Keyword ที่เหมาะสม
● สร้าง Backlink จากเว็บไซต์อื่น ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ
2. การทำโฆษณาออนไลน์
● ลงโฆษณาบน Google, Facebook, Instagram, TikTok, LINE และแพลตฟอร์ม E-Commerce อื่น ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
● กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
● เลือกรูปแบบโฆษณาที่เหมาะสม
● ตั้งงบประมาณโฆษณาอย่างเหมาะสม
3. การทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย
● โปรโมตสินค้าและสร้าง engagement กับลูกค้าผ่าน Facebook, Instagram, Line Official Account, TikTok
● แชร์เนื้อหาที่น่าสนใจ
● พูดคุยโต้ตอบกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
● จัดกิจกรรมและเกมต่าง ๆ เพื่อสร้าง Brand Awareness และดึงดูดลูกค้าให้มาร่วมสนุก
4. การนำเสนอโปรโมชั่นและส่วนลด
● ดึงดูดลูกค้าด้วยโปรโมชั่นที่น่าสนใจ
● เสนอส่วนลดพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่และลูกค้าประจำ
● จัดโปรโมชั่น Flash Sale
● แจกคูปองส่วนลด
5. การบริการลูกค้า
● ให้บริการลูกค้าด้วยความจริงใจ
● ตอบคำถามรวดเร็ว
● แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
● สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำเป็นลูกค้าประจำ
6. การวิเคราะห์ข้อมูล
● วิเคราะห์ข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์
● วิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า
● ปรับกลยุทธ์การโปรโมตให้เหมาะสม
7. การใช้เครื่องมือออนไลน์
มีหลายเครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยในการโปรโมตธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น
○ Email Marketing
○ Influencer Marketing
8. การสร้างแบรนด์
● สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก
● สร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์
● สื่อสารคุณค่าของแบรนด์ออกไปให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้
9. การเข้าร่วมงานอีเวนต์
● เข้าร่วมงานอีเวนต์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
● นำเสนอสินค้าและบริการให้ผู้อื่นรู้จักในวงกว้าง
● สร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการเจ้าอื่น ๆ
10. การเรียนรู้สิ่งใหม่
● ศึกษาเทรนด์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
● เรียนรู้กลยุทธ์การโปรโมตใหม่ ๆ
● พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
การนำกลยุทธ์เหล่านี้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้อย่างแน่นอน
เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
นอกจากกลยุทธ์การโปรโมตธุรกิจที่กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ดังนี้
● การเลือกสินค้า: เลือกสินค้าที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด และมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน
● การสร้างเว็บไซต์: ควรใช้งานง่าย สวยงาม รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ต่าง ๆ และมีความปลอดภัย ข้อดีของการมีเว็บไซต์คือเปรียบเสมือนมีบ้านของตัวเอง ที่ไม่ต้องขึ้นกับใคร และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้บุคคลอื่น
● การจัดการระบบการชำระเงิน: มีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย และปลอดภัย เพื่อรองรับการใช้งานของลูกค้าได้อย่างสะดวก
● การจัดส่งสินค้า: จัดส่งสินค้ารวดเร็ว ตรงเวลา และมีระบบติดตามสถานะสินค้า หากมีปัญหาเรื่องการจัดส่ง ก็ควรรีบติดตามและแก้ไขให้ลูกค้าอย่างเร็วที่สุด
บทส่งท้าย
ปัจจุบันการซื้อของออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติ ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีศักยภาพในการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปัจจุบันมีการแข่งขันสูงมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ หรือผู้ที่สนใจอยากเริ่มต้นทำอีคอมเมิร์ซในปี 2024 จึงควรศึกษาข้อมูลให้ดี วางแผนกลยุทธ์อย่างรอบคอบ และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อจะได้ประสบความสำเร็จ มียอดขายและกำไรเยอะ ๆ แถมยังช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้อีกด้วย
Search Studio หวังว่าเนื้อหาในบทความนี้จะมีประโยชน์และเป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปีนี้นะคะ