eCommerce

เปิดโลกธุรกิจ E-Commerce พร้อมอัปเดตเทรนด์ธุรกิจที่น่าจับตามอง

Fast To Read

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายคนอาจเคยได้ยินคำนี้มาบ้าง แต่รู้หรือไม่ว่า อีคอมเมิร์ซคืออะไร มีอะไรบ้าง และทำไมถึงน่าสนใจ? บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับโลกของอีคอมเมิร์ซอย่างละเอียด พร้อมแนะนำธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่น่าจับตามอง และเทคนิคการโปรโมตธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

ธุรกิจ E-Commerce คืออะไร

what is ecommerce

E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) ย่อมาจาก Electronic Commerce คือการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้สื่อกลางอย่างอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือโซเชียลมีเดีย โดยไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านจริง เปรียบเสมือนการย้ายตลาดมาอยู่บนโลกออนไลน์ ผู้ซื้อสามารถเลือกชมสินค้า เปรียบเทียบราคา และสั่งซื้อสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต อีกทั้งยังสามารถชำระเงินง่าย ๆ ผ่านระบบออนไลน์ แล้วรอรับสินค้าที่บ้านได้เลย ทำให้การซื้อของกลายเป็นเรื่องง่าย และสะดวกมาก ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่อย่างลงตัว

สำหรับในมุมของผู้ขายหรือเจ้าของธุรกิจ อีคอมเมิร์ซช่วยให้สตาร์ทอัพ ธุรกิจขนาดเล็ก และบริษัทขนาดใหญ่สามารถขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในวงกว้างได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ลดต้นทุน และที่สำคัญคือสามารถเข้าถึงลูกค้าทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง

E-Commerce มีอะไรบ้าง

ecommerce

อีคอมเมิร์ซมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่ทำการซื้อขาย เช่น การซื้อของออนไลน์ (Online Shopping) การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) การประมูลออนไลน์ (E-Auction) และธนาคารทางอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) เป็นต้น

ประเภทของสินค้าและบริการ ที่สามารถซื้อขายผ่านธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยทั่วไปจะแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้

1. สินค้าที่จับต้องได้

คือการซื้อขายสินค้าที่สามารถจับต้องได้ เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ของใช้ในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า ทีวี เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั้งสินค้าขนาดใหญ่อย่างรถยนต์

2. สินค้าดิจิทัล

การขายสินค้าดิจิทัลจะเป็นการแลกเปลี่ยนมูลค่าทางการเงิน เพื่อซื้อสินค้าที่ไม่มีตัวตน แต่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น ไฟล์เสียง ไฟล์วิดีโอ และหนังสือ E-book เป็นต้น

3. บริการ

การซื้อขายบริการจะเป็นการแลกเปลี่ยนมูลค่าทางการเงิน เพื่อได้รับเป็นบริการที่ลูกค้าต้องการ เช่น การขนส่ง การดูแลสุขภาพ และการศึกษา เป็นต้น

ธุรกิจ E-Commerce มีกี่ประเภท

types of ecommerce

การแบ่งประเภทของ E-Commerce จะแบ่งตามรูปแบบการซื้อขาย โดยดูว่าใครเป็นผู้ขายและขายสินค้าหรือบริการนั้นให้ใคร หลัก ๆ จะมี 3 ส่วน คือ

–   ผู้บริโภค (C-Customer)

–   ธุรกิจ (B-Business)

–   รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ (G-Government)

รูปแบบธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่พบบ่อย มี 9 ประเภท ได้แก่

1. B2C (Business to Consumer) : ธุรกิจขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง เช่น ร้านค้าออนไลน์ แอปพลิเคชันสั่งอาหาร แพลตฟอร์มขายของออนไลน์ Lazada, Shopee

2. C2C (Consumer to Consumer) : ผู้บริโภคขายให้กับผู้บริโภคด้วยกันเอง เช่น เว็บไซต์ประมูลสินค้า เว็บไซต์ขายของมือสอง

3. B2B (Business to Business) : ธุรกิจขายให้กับธุรกิจ เช่น เว็บไซต์ขายสินค้าราคาส่งสำหรับร้านค้า เว็บไซต์ขายวัตถุดิบสำหรับโรงงาน

4. C2B (Consumer to Business) : ผู้บริโภคขายให้กับธุรกิจ มักจะเป็นการขายบริการ เช่น ช่างภาพ ที่ปรึกษา นักเขียน

5. B2G (Business to Government) : ธุรกิจขายให้กับภาครัฐ เช่น หน่วยงานของรัฐจ้างบริการทำความสะอาดจากผู้รับเหมาภายนอก

6. C2G (Consumer to Government) : ผู้บริโภคขายให้กับรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ เช่น ผู้รับเหมายื่นประมูลราคาต่อหน่วยงาน เพื่อปรังปรุงพื้นที่อาคารสำนักงาน

7. G2C (Government to Consumer) : รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐขายให้กับผู้บริโภค เช่น บริการยื่นภาษีออนไลน์ บริการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็ทรอนิกส์

8. G2B (Government to Business) : รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐขายให้กับธุรกิจ เช่น การจดทะเบียนทางการค้า

9. D2C (Direct to Consumer) : เจ้าของสินค้าหรือแบรนด์ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ไม่ผ่านคนกลาง แต่ใช้ช่องทางแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า เช่น Facebook, TikTok, Instagram เป็นต้น D2C เป็นอีคอมเมิร์ซรูปแบบใหม่ล่าสุดที่ได้รับความนิยมมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ธุรกิจ E-Commerce ที่น่าสนใจ ปี 2024

ecommerce-trends

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่น่าสนใจในปัจจุบัน มักเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่เน้นความง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีตัวเลือกที่หลากหลาย

ตัวอย่าง 5 ธุรกิจที่น่าจับตามอง และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

●  ธุรกิจสินค้าสุขภาพและความงาม : ผู้คนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและรูปลักษณ์มากขึ้น ทำให้ธุรกิจสินค้าประเภทนี้ได้รับความนิยมสูงขึ้น

●  ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม : ตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิดเป็นต้นมา ส่งผลให้ผู้คนนิยมสั่งอาหารทานที่บ้านมากขึ้น ทำให้บริการสั่งอาหารออนไลน์เติบโตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

●  ธุรกิจแฟชั่น : ผู้บริโภคยุคใหม่ชอบซื้อสินค้าแฟชั่นออนไลน์ ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เพราะเดี๋ยวนี้มีร้านให้เลือกมากมาย ทำให้สะดวก รวดเร็ว และมีตัวเลือกหลากหลาย

●  ธุรกิจสินค้าดิจิทัล : สินค้าดิจิทัล เช่น ภาพถ่าย เพลง สติกเกอร์ไลน์ ธีมไลน์ เทมเพลตออนไลน์ หลักสูตรออนไลน์ หนังสือ E-book ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน ทั้งหมดนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในตอนนี้ และเป็นธุรกิจที่สามารถทำเป็นรายได้เสริมได้ด้วย

●  ธุรกิจสินค้าเฉพาะกลุ่ม: สินค้าที่มีกลุ่มลูกค้าเฉพาะเจาะจง เช่น สินค้าสำหรับเด็ก สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง สินค้าออร์แกนิก ถือว่าเป็นธุรกิจที่เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายโดยตรง และมีคู่แข่งน้อย

โปรโมตธุรกิจ E-Commerce อย่างไรให้ขายดี

promote-ecommerce

การโปรโมตธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่ทันสมัยและใช้ได้ผล หากใครยังไม่รู้ว่าจะใช้กลยุทธ์อะไรดี วันนี้เรามี 10 กลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ปี 2024 มาฝาก

1. การทำ SEO (Search Engine Optimization)

●  ปรับแต่งเว็บไซต์และสินค้าให้รองรับการค้นหาบน Google จะช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าเจอได้ง่ายขึ้น

●  เขียนเนื้อหาบทความที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ

●  ใช้ Keyword ที่เหมาะสม

●  สร้าง Backlink จากเว็บไซต์อื่น ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ

2. การทำโฆษณาออนไลน์

●  ลงโฆษณาบน Google, Facebook, Instagram, TikTok, LINE และแพลตฟอร์ม E-Commerce อื่น ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

●  กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน

●  เลือกรูปแบบโฆษณาที่เหมาะสม

●  ตั้งงบประมาณโฆษณาอย่างเหมาะสม

3. การทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย

●  โปรโมตสินค้าและสร้าง engagement กับลูกค้าผ่าน Facebook, Instagram, Line Official Account, TikTok

●  แชร์เนื้อหาที่น่าสนใจ

●  พูดคุยโต้ตอบกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

●  จัดกิจกรรมและเกมต่าง ๆ เพื่อสร้าง Brand Awareness และดึงดูดลูกค้าให้มาร่วมสนุก

4. การนำเสนอโปรโมชั่นและส่วนลด

●  ดึงดูดลูกค้าด้วยโปรโมชั่นที่น่าสนใจ

●  เสนอส่วนลดพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่และลูกค้าประจำ

●  จัดโปรโมชั่น Flash Sale

●  แจกคูปองส่วนลด

5. การบริการลูกค้า

●  ให้บริการลูกค้าด้วยความจริงใจ

●  ตอบคำถามรวดเร็ว

●  แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

●  สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำเป็นลูกค้าประจำ

6. การวิเคราะห์ข้อมูล

●  วิเคราะห์ข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์

●  วิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า

●  ปรับกลยุทธ์การโปรโมตให้เหมาะสม

7. การใช้เครื่องมือออนไลน์

มีหลายเครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยในการโปรโมตธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เช่น

○  Email Marketing

○  Influencer Marketing

○  Affiliate Marketing

8. การสร้างแบรนด์

●  สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก

●  สร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์

●  สื่อสารคุณค่าของแบรนด์ออกไปให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้

9. การเข้าร่วมงานอีเวนต์

●  เข้าร่วมงานอีเวนต์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

●  นำเสนอสินค้าและบริการให้ผู้อื่นรู้จักในวงกว้าง

●  สร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการเจ้าอื่น ๆ

10. การเรียนรู้สิ่งใหม่

●  ศึกษาเทรนด์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

●  เรียนรู้กลยุทธ์การโปรโมตใหม่ ๆ

●  พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

การนำกลยุทธ์เหล่านี้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้อย่างแน่นอน

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

นอกจากกลยุทธ์การโปรโมตธุรกิจที่กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ดังนี้

●  การเลือกสินค้า: เลือกสินค้าที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด และมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน

●  การสร้างเว็บไซต์: ควรใช้งานง่าย สวยงาม รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ต่าง ๆ และมีความปลอดภัย ข้อดีของการมีเว็บไซต์คือเปรียบเสมือนมีบ้านของตัวเอง ที่ไม่ต้องขึ้นกับใคร และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้บุคคลอื่น

●  การจัดการระบบการชำระเงิน: มีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย และปลอดภัย เพื่อรองรับการใช้งานของลูกค้าได้อย่างสะดวก

●  การจัดส่งสินค้า: จัดส่งสินค้ารวดเร็ว ตรงเวลา และมีระบบติดตามสถานะสินค้า หากมีปัญหาเรื่องการจัดส่ง ก็ควรรีบติดตามและแก้ไขให้ลูกค้าอย่างเร็วที่สุด

บทส่งท้าย

ปัจจุบันการซื้อของออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติ ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีศักยภาพในการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปัจจุบันมีการแข่งขันสูงมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ หรือผู้ที่สนใจอยากเริ่มต้นทำอีคอมเมิร์ซในปี 2024 จึงควรศึกษาข้อมูลให้ดี วางแผนกลยุทธ์อย่างรอบคอบ และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อจะได้ประสบความสำเร็จ มียอดขายและกำไรเยอะ ๆ แถมยังช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้อีกด้วย

Search Studio หวังว่าเนื้อหาในบทความนี้จะมีประโยชน์และเป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปีนี้นะคะ

Written By

สาว SEO Outreach Specialist ผู้ชอบเสพย์เรื่องราวคดีฆาตกรรม และเรื่องลึกลับพิศวง เวลาว่างยังผันตัวเป็น Nail artist ที่ชอบรังสรรค์ลวดลายลงบนปลายนิ้ว(คนอื่น) อีกด้วย แม้ว่า 3 สิ่งนี้ อาจจะดูไปกันคนละทิศคนละทาง แต่เธอก็รักที่จะทำมันไปพร้อมๆกันเรื่อยๆในทุกๆวัน :)
Views
Recommend Article

รับคำปรึกษา
SEO ฟรี!

ตรวจสถานะ SEO ของเว็บไซต์ของคุณ ฟรี พร้อมคำแนะนำจาก SEO Specialist ของเรา มูลค่า 35,000 บาท

มีจำนวนจำกัด เท่านั้น ติดต่อเราเลย

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.