Marketing

Inbound Marketing คืออะไร แนวคิดที่เจ้าของธุรกิจควรเข้าใจ

Fast To Read

การที่คุณเข้ามาอ่านบทความนี้ได้ก็มีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ “ดึงดูด” ให้เข้ามาอ่าน โดยมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่องการตลาดของคุณเป็นที่ตั้ง เหตุการณ์นี้ก็ถือว่าคล้ายๆ กับ Inbound Maketing เลยหล่ะ เพราะ Inbound Marketing จะเกี่ยวข้องกับความพยายามทำให้ลูกค้าเต็มใจที่จะเดินเข้ามาหาเราเอง 

น่าสนใจใช่ไหมหล่ะ ถ้าอยากรู้มากว่านี้ เราอยากให้คุณลองอ่านบทความนี้จนจบ เพื่อที่จะเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง Inbound Marketing นั่นเอง

Inbound Marketing คืออะไร

Inbound Marketing คือการตลาดแบบดึงดูด โดยใช้วิธีส่งสารสำคัญผ่านคอนเทนต์ที่มีคุณค่าไปยังผู้รับที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสม 

Inbound Marketing

เปรียบคอนเทนต์ที่มีคุณค่าและมีประโยชน์แก่ผู้รับสารเป็นแม่เหล็กขั้วหนึ่ง เมื่อส่งออกไปเราก็รอเวลาที่เหมาะสมจะเจอกับผู้รับสารที่กำลังมองหาคอนเทนต์นั้นเหมือนเป็นแม่เหล็กอีกขั้วที่มาเจอกัน โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเป็นฝ่ายเดินเข้าไปหาหรือยัดเยียดคอนเทนต์ใส่มือกลุ่มเป้าหมาย แต่เขาจะถูกดึงดูดและเข้าหาเราเองด้วยความเต็มใจ 

และเมื่อมีการตลาดแบบแรงดึงดูดแล้ว เราก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงการตลาดแบบแรงผลักออกด้วย

Inbound Marketing vs Outbound Marketing

ในอดีตที่การเข้าถึงคอนเทนต์ของผู้รับสารหรือผู้บริโภคยังมีให้เลือกไม่มากนัก ไม่ว่าผู้ส่งสารด้วยการทำการตลาดแบบผลักออกจะส่งคอนเทนต์แนวไหนผ่านรูปแบบใด จะออฟไลน์ผ่านโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ออกบูธ ฯลฯ หรือออนไลน์ผ่านการติดแบนเนอร์เว็บไซต์ชื่อดัง ฯลฯ มาให้ผู้รับสารก็ดูจะเป็นเรื่องไม่ยากมากนัก เนื่องจากผู้รับสารหรือผู้บริโภคไม่ได้มีทางเลือกในการเสพคอนเทนต์มากเท่าไหร่ คอนเทนต์ที่ออกมาจึงเป็นสิ่งที่ทางผู้ส่งสารอยากจะพูดมากกว่าสิ่งที่ผู้รับสารอยากจะรู้ 

Inbound vs Outbound

จนกระทั่งถึงในยุคปัจจุบันที่คอนเทนต์ถูกปล่อยออกมาหลากหลายและเป็นจำนวนมหาศาลจนอำนาจไม่ได้อยู่ในมือของผู้ส่งสารอีกต่อไป อำนาจเริ่มกลับไปอยู่ในมือของผู้รับสาร โดยที่ผู้รับสารสามารถเลือกได้ว่า จะเสพคอนเทนต์แนวไหน ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ที่กดติดตาม ช่องยูทูปที่อยากติดตาม ทุกอย่างเป็นทางเลือกของผู้รับสารทั้งนั้นที่จะเลือกติดตามอะไรที่ตัวเองอยากติดตาม หากอะไรที่ไม่เหมาะกับตนหรือมีแรงดึงดูดไม่พอก็ขอเลือกที่จะปล่อยผ่านไป 

ดังนั้น ผู้ส่งสารหรือแบรนด์จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงการตลาดแบบดึงดูด และเรียนรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราต้องการอะไร หากพยายามพูดในสิ่งที่เขาสนใจมากพอก็จะสามารถสร้างแรงดึงดูดให้เขาเข้ามาหาเราเองได้แบบไม่ต้องยัดเยียด รวมถึงเรียนรู้แพลตฟอร์มที่เปลี่ยนไปก็จะยิ่งสามารถเพิ่มโอกาสให้ผู้รับสารสามารถรับสารของเราได้ดียิ่งขึ้นค่ะ 

ทำไมต้อง Inbound Marketing

อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่า อำนาจถูกเปลี่ยนมือจากผู้ส่งสารหรือแบรนด์ไปยังผู้รับสารหรือผู้บริโภคมากขึ้นกว่าในอดีต ดังนั้น หากจะยังคงใช้การตลาดแบบ Outbound ผลลัพธ์ที่ได้ก็อาจจะไม่เป็นที่ประทับใจเท่าที่ควร 

ดังนั้นเราควรเลือกที่จะเปลี่ยนด้วยการเริ่มใช้การตลาดแบบ Inbound Marketing ด้วยการให้ในสิ่งที่ผู้รับสารต้องการเพื่อสร้างความประทับใจจนอยากที่จะเดินเข้ามาหาเราเอง โดยอาจจะเลือกให้ความรู้ ข้อมูลใหม่ที่เป็นความจริงที่น่าสนใจ หรือความบันเทิงผ่านคอนเทนต์ดีๆ ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้รับสาร และสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ส่งสารได้เช่นกัน 

About Inbound Marketing

ผลลัพธ์เมื่อคุณเลือกทำการตลาดแบบ Inbound Marketing ก็คือ เปลี่ยนคนที่ใช่ให้กลายเป็นคนรู้จักจนมาเป็นลูกค้า นอกจากจะเพิ่มโอกาสปิดการขายได้ง่าย เร็ว และมีประสิทธิภาพดีขึ้นแล้ว ยังเพิ่มแรงดึงดูดให้คนที่ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายเข้ามาเจอและรู้จักกับเราผ่านช่องทางต่างๆ อีกด้วย

หลักการของ Inbound Framework (ฉบับอัปเดตปัจจุบัน)

เพื่อให้ได้เห็นภาพกันง่ายขึ้น เราจะขออธิบายประกอบเฟรมเวิร์คด้านบนนี้ จากที่เมื่อก่อนในยุคแรกได้มีการจัดทำ Inbound Framework แยกย่อยออกเป็น 4 ส่วน จนกระทั่งในปัจจุบันได้เหลือไว้ เพียง 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ Attract, Engage, Delight 

Inbound Framework

Attract 

คือ การดึงดูดให้คนแปลกหน้าเข้าหาเราโดยที่อาจจะไม่เคยรู้จักหรือรู้จักแต่ยังเป็นเหมือนคนรู้จักห่างๆ ที่ยังไม่สนิทใจกัน เข้ามาทำความรู้จักกับคุณผ่านการวางแผนและสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ดีลงในช่องทางต่างๆ เช่น การทำคอนเทนต์ SEO ลงบนเว็บบล็อกผ่านการ Search Engine Optimization เพื่อหา Keyword ที่กลุ่มเป้าหมายจะใช้เสิร์ชมาเจอ หรือการลงในสื่อ Social Media ต่างๆ

Engage 

คือ การเปลี่ยนคนแปลกหน้าที่เราสามารถดึงดูดมาได้ให้กลายเป็นคนรู้จักหรือลูกค้าด้วย Call-to-action วิธีการต่างๆ เช่น ทำความรู้จักผ่านฟอร์ม ฯลฯ แต่คุณจำเป็นที่จะต้องอาศัยกลยุทธ์สักเล็กน้อยเพื่อจะทำความรู้จักและให้ได้ข้อมูลบางอย่างจากอีกฝ่ายมาแบบที่เขาเต็มใจจะให้ เช่น สร้างฟอร์มลงทะเบียนเพื่อรับของรางวัล หรือรับบทความดีๆ ที่มีความรู้เต็มเปี่ยม ฯลฯ โดยสิ่งนั้นควรจะเป็นสิ่งที่ต่อยอดหรือเกี่ยวข้องกับคอนเทนต์หรือสิ่งที่เราสามารถดึงดูดคนแปลกหน้าให้สามารถเข้ามาหาเราได้

Delight 

คือ การเปลี่ยนจากคนรู้จักมาเป็นคนรู้ใจ ด้วยการเริ่มต้นที่จะเรียนรู้ถึงใจอีกฝ่ายก่อนว่าเขาสนใจและต้องการอะไร จากนั้นก็ค่อยๆ มอบสิ่งนั้นให้เขาเป็นประจำสม่ำเสมอ คล้ายกับการจีบคนแปลกหน้าให้กลายมาเป็นแฟนเรา เราต้องเริ่มที่จะให้ใจและสื่อสารในสิ่งที่เขาอยากรู้ เน้นให้มากกว่ารับ จนวันหนึ่งเขาจะเริ่มอยากเปลี่ยนสถานะจากคนรู้จักมาเป็นคนรู้ใจและเป็นฝ่ายเข้ามาหาเราเพื่อขอรับบริการหรือสินค้านั้นจากเราเองโดยที่เราไม่ต้องพยายามยัดใส่มือเขาแต่อย่างใด

หลักการของ Inbound Framework (ฉบับเจนแรก)

ถ้าจะพูดกันจริงๆ แล้วหลักการที่เรียกว่า Inbound Framework ตัวนี้ไม่ได้เพิ่งเริ่มมี  แต่เคยมีมาก่อนหน้านี้จนเปลี่ยน Framework เป็นในรูปแบบของหัวข้อก่อนนี้ และเดี๋ยวเรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า เจนแรกกับของปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยขนาดไหนกัน

Inbound Framework

ในส่วนของยุคแรกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกันคือ Attract, Convert, Close, และ Delight โดยเริ่มจาก

Attract 

มีความคล้ายกับในแบบปัจจุบัน คือการดึงให้คนแปลกหน้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายแต่ไม่เคยรู้จักเราให้มาเป็นผู้เข้าชม ไม่ต่างจากส่วนของ Attract ในปัจจุบัน

Convert 

การเปลี่ยนจากคนที่เคยเจอหน้าให้กลายมาเป็นคนรู้จักด้วยการ Call-to-Action (CTA) เมื่อเขาตอบสนองเราด้วยการกระทำบางอย่างเช่นกรอกฟอร์มให้เราแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องตอบแทนเขาผ่านช่องทางต่างๆ ที่เขาให้มา อาจจะเป็นการส่งมอบคอนเทนต์เฉพาะที่เหมาะสมกับตัวเขา โดยสิ่งนี้เรียกว่า Close ถ้าจะพูดกันง่ายๆ ก็เหมือนกับการรวมเอา 2 ส่วน ทั้ง Convert และ Close มามัดรวมเป็น Engagement ของในปัจจุบัน

Delight 

ในอดีตจะมีการคาดหวังที่มากกว่าในปัจจุบันเล็กน้อยคือ การหวังว่าคนรู้ใจจะเป็นคนช่วยบอกต่อให้เรา นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีบางอย่างที่เปลี่ยนไป เช่น กลุ่ม Marketing, Sales, และ Services จากที่เคยแยกกันทำงานก็ควรมีการทำงานร่วมกันเพื่อให้การตลาดสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างกลมกลืนโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และ Inbound ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องของการตลาดแต่ยังเป็นเรื่องของประสบการณ์ความประทับใจของลูกค้าอีกด้วยที่จะทำให้  Inbound สามารถขับเคลื่อนไปได้เรื่อยๆ

ธุรกิจแบบไหนที่เหมาะทำ Inbound Marketing

แน่นอนว่า ธุรกิจแรกที่ต้องพูดถึงคือธุรกิจแบบ B2B (Business to Business) เนื่องจากธุรกิจประเภทนี้มีลักษณะแบบขายสินค้าประเภทที่ลูกค้านำไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจตัวเองต่อ โดยเป็นสินค้าที่ราคาค่อนข้างสูง จำเป็นที่จะต้องเลือกสิ่งที่ตอบโจทย์กับตัวเองที่สุด การทำ Inbound Marketing จะทำให้อีกฝ่ายรู้จักกับคุณและสินค้าของคุณโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาถามให้มากมาย แถมยังได้ความเชื่อใจและความน่าเชื่อถือว่าจะสามารถตอบโจทย์เขาได้จริงๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ก็เป็นธุรกิจที่มีเพื่อตอบสนองหรือแก้ปัญหาให้คนบางกลุ่มโดยเฉพาะ โดยการทำคอนเทนต์ที่แก้ปัญหาให้เขาในแบบเบื้องต้นก่อนเพื่อให้เขาสามารถมั่นใจได้ว่าคุณคือผู้เชี่ยวชาญและการบริการหรือสินค้าจากคุณจะสามารถตอบโจทย์เขาได้จริงๆ และอีกธุรกิจหนึ่งก็คือ ธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าสูง เราจำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลเขาเพื่อให้เขาเชื่อมั่นว่าการลงทุนในมูลค่าสูงกับเราจะตอบโจทย์เขาได้และคุ้มค่าจริง

ตัวอย่างแนวทางในการทำ Inbound Marketing 

Inbound Marketing Example

1. การเขียนบล็อก

การเขียนบล็อกเป็นอะไรที่หลายๆ คนคุ้นเคยกันดี และก็เป็นแนวทางสำคัญอีกแนวทางหนึ่งของการทำ Inbound Marketing หรือมาร์เก็ตติ้งแบบสร้างแรงดึงดูด การเขียนบล็อกดีๆ สักบล็อกหนึ่งก็เหมือนการสร้างแหล่งความรู้ให้คนเข้ามาอ่านตามความสนใจ ซึ่งเป็นการสร้างแรงดึงดูดแบบธรรมชาติ และดึง Traffic เข้าเว็บไซต์นั่นเอง

2. การทำคอนเทนต์รูปแบบต่างๆ

การทำคอนเทนต์ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่แค่ในรูปแบบของการทำบทความหรือเขียนบล็อกเท่านั้น มีหนทางมากมายที่จะสร้างแหล่งความรู้และดึงคนเข้ามาอ่านอย่างไม่รู้จบ ที่นิยมกันในสมัยนี้ก็เห็นจะไม่พ้น การเขียน ebook หรือสร้างรวมทิปส์อะไรสักอย่างไว้เป็น PDF ให้คนมาโหลด เป็นต้น

3. เอสอีโอ (SEO)

การทำ SEO คือตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ทั้งการเขียนบล็อก และการทำคอนเทนต์ประสบความสำเร็จ เพราะการสร้างเนื้อหาความรู้ดีๆ ไม่ได้จบแค่ตอนที่เราเขียนเนื้อเสร็จแล้วกด Publish เราทำคอนเทนต์ดีๆ ได้ คนอื่นก็ทำได้เช่นกัน การแข่งขันเพื่อสร้างคอนเทนต์ที่ดึงดูดผู้อ่านนั้นดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้น การทำ SEO ควบคู่ไปด้วย จะช่วยให้คอนเทนต์ของเราติดอับดับที่ดี มีโอกาสที่จะเตะตาผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ง่ายมากขึ้นนั่นเอง

4. การใช้ Growth Driven Design (GDD) กับเว็บไซต์

ข้อนี้ก็คือการใช้โมเดลที่มีลักษณะของการพัฒนาเว็บไซต์ให้สามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้ดีที่สุด โดยใช้แนวคิดแบบ User-Centric และ Data-Driven ซึ่งก็คือหมายถึงการโฟกัสที่ experience ของผู้ใช้งาน และการใช้ข้อมูลต่างๆ ประกอบการวิเคราะห์

สรุป

สุดท้ายนี้ เราเชื่อมั่นว่า Inbound Marketing ที่ได้รับผลลัพธ์ที่ดี ย่อมมาจากการวางแผนที่ดี หากคุณกำลังสนใจใน Inbound Marketing แต่ยังไม่มั่นใจว่า การตลาดแนวนี้จะเหมาะสมกับธุรกิจของคุณหรือไม่ และควรจะวางแผนอย่างไรให้ผลลัพธ์ออกมาสำเร็จอย่างที่คาดไว้ เรายินดีรับปรึกษาและร่วมวางแผนเพื่อวางรากฐานให้ธุรกิจของคุณสามารถดำเนิน Inbound Marketing ได้อย่างสำเร็จ พร้อมบันทึกและประเมินผลลัพธ์เพื่อให้ธุรกิจของคุณก้าวไปได้ไกล เพียงแค่คุณมาก้าวไปด้วยกันกับเรา

Written By

เริ่มเข้าสู่สายงานนี้จากการเป็น Link builder ตัวเล็กๆ ที่ร่างไม่เล็กนัก ผ่านมา 4 ปีแล้วจาก Day 1 ยังพยายามเพิ่มพูนทักษะในสายงาน Digital Marketing อยู่เสมอ ติดบ้านแบบแงะออกยาก ชอบอ่านหนังสือ แต่สะสมไฟล์ epub มากกว่าหนังสือจริง ชอบฟัง Podcast หลงใหลใน Pop culture และการเขียนเรื่องสั้น สนใจเรื่อง Productivity เพราะเชื่อว่าเมื่อเรา Productive การทำงานจะเป็นเรื่องสนุก พูดคุยกับ Gigi ที่ LinkedIn
Views
Related Article

รับคำปรึกษา
SEO ฟรี!

ตรวจสถานะ SEO ของเว็บไซต์ของคุณ ฟรี พร้อมคำแนะนำจาก SEO Specialist ของเรา มูลค่า 35,000 บาท

มีจำนวนจำกัด เท่านั้น ติดต่อเราเลย

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.