Marketing

วิธีลงโฆษณา Google Ads (Google Adwords) ด้วยตัวเอง ต้องเริ่มยังไง?

Fast To Read

ในยุคปัจจุบันที่โลกออนไลน์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของผู้คนมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงจากออฟไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ มาเป็นพึ่งการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย หรือเครื่องมือที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้ทุกวันอย่าง Search Engines โดยเฉพาะกูเกิ้ลกันมากขึ้น ทำให้การทำการตลาดบนโลกออนไลน์มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ 

หากคุณกำลังเป็นอีกคนที่สนใจอยากเริ่มต้นทํา Google Ads หรือที่ในอดีตเรียกกันว่า Google Adwords ด้วยตัวเอง บอกเลยว่าไม่ควรพลาดบทความนี้ เพราะเราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ Google Ads ให้มากขึ้น จนสามารถลองเริ่มทำ Google Ads ด้วยตัวเองได้เลยหล่ะ

Google Ads คืออะไร

Google Ads คืออะไร?

Google Ads ก็คือผลิตภัณฑ์จาก Google เป็นหนึ่งในเครื่องมือทำการตลาดออนไลน์ผ่านการโฆษณา (Ads) บน Google โดยมักจะมีการทำงานร่วมกับ Google AdSense และเครือข่ายอื่นๆ ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับกูเกิ้ล 

หลักๆ แล้ว Google Ads จะช่วยลงโฆษณาสินค้าหรือบริการผ่านการแสดงผลในระบบค้นหา Search Engines เมื่อมีคนค้นหาด้วยคำ หรือคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับโฆษณาของคุณ โดยคนที่สนใจลงโฆษณากับกูเกิลจะต้องเสียเงินก็ต่อเมื่อมีคนกดคลิกโฆษณา เพื่อผ่านลิงก์ที่เชื่อมต่อไปยังหน้าเว็บไซต์ของผู้ลงโฆษณา 

การแสดงโฆษณาอาจแสดงได้หลายตำแหน่งทั้งด้านบนและด้านล่างของผลการค้นหา

Ads Serps Top
Ads Serps Bottom

รู้จักคำศัพท์เกี่ยวกับ Google Ads

เมื่อเราพอจะรู้จัก Google Ads กันไปแล้ว ก่อนจะศึกษาวิธีใช้ Google Ads เราลองมารู้จักคำศัพท์ที่จำเป็นก่อน เพราะในการทำงานหรือใช้เครื่องมือทํา Google Ads ด้วยตัวเอง จำเป็นที่จะต้องทราบคำศัพท์เหล่านี้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อไป วันนี้เรายกคำศัพท์หลักๆ มาดังนี้

Keywords 

คำที่เราใช้เสิร์ชค้นหาข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องบน Google (เช่น อยากซื้อเครื่องกรองน้ำ เราก็พิมพ์ไปว่า “เครื่องกรองน้ำ” ถ้าอยากเจาะจงเราก็จะพิมพ์ว่า “เครื่องกรองน้ำ 5 ขั้นตอน” หรือ “เครื่องกรองน้ำ ราคาถูก” เป็นต้น) 

คีย์เวิร์ดมีบทบาทต่อการทำ Google Ads สูงมาก เนื่องจากเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ลงโฆษณา และกลุ่มเป้าหมายให้มาเจอกันผ่านการเสิร์ช

Bid 

ราคาสูงสุดที่เรากำหนดเพื่อให้คนกดเข้ามาดูโฆษณาของเรา ซึ่งเราจะเสียเงินก็เฉพาะเวลาที่คนดูคลิกที่โฆษณาเท่านั้น

Quality Score 

คะแนนเพื่อประเมินระดับความมีคุณภาพและความเกี่ยวข้องของคีย์เวิร์ดกับตัว Ads ยิ่งคะแนนในส่วนนี้เยอะก็จะยิ่งทำให้ราคาค่าโฆษณาถูกลงไป มีโอกาสแสดงในตำแหน่งสูง คนเห็นง่ายมากขึ้นด้วย

Quality Score Factors Google Ads

Impressions หรือมักย่อเป็น Impr.

ตัวนี้ถือเป็นมาตรวัด (Metric) อย่างหนึ่งที่จะเป็นตัวบอกเราว่าโฆษณาของเรานั้นได้ปรากฎอยู่ในผลของการเสิร์ชไปกี่ครั้งแล้ว (มีคนเห็นกี่ครั้งแล้ว)

Click Through Rate หรือมักย่อเป็น CTR

CTR คือตัวเลขที่บ่งบอกเปอร์เซ็นต์ของคนที่คลิกที่โฆษณาเมื่อได้เห็นตัวโฆษณา วิธีคำนวณที่คือเอาจำนวนคลิกทั้งหมดมาหาด้วยจำนวน Impressions ทั้งหมดนั่นเอง (เราไม่ต้องคำนวณเอง เครื่องมือจะคำนวณให้เราอัตโนมัติ)

Cost Per Click หรือมักย่อเป็น CPC 

ตัวเลขนี้เป็นราคาต่อคลิก คำนวณด้วยการเอาราคาค่าโฆษณาทั้งหมดหารด้วยจำนวนคลิกที่ได้รับทั้งหมดของแคมเปญ

Ad Rank 

หมายถึงอันดับของโฆษณา ซึ่งจะอยู่สูงต่ำแค่ไหนอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง

Average Position หรือมักย่อเป็น Avg. Pos.

ตัวเลขนี้จะบ่งบอกตำแหน่งโดยเฉลี่ยของโฆษณาของเราเมื่อเทียบกับโฆษณาอื่นๆ โดยที่ 1 ก็คือตำแหน่งที่ดีที่สุด แต่ต่อให้เราได้ค่าเฉลี่ยเป็น 1 ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้ปรากฎอยู่อันดับหนึ่งทุกครั้ง (อย่างที่บอกว่าเป็นเพียงค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่านั้น)

Conversion 

Coversion คือเป้าหมายบางอย่างที่เราต้องการจากกลุ่มเป้าหมาย เช่น ต้องการให้มีการสั่งซื้อ การลงทะเบียนเป็นสมาชิก ยอดกดติดตาม ฯลฯ

Bounce Rate 

Bounce rate ตัวเลขนี้จะบ่งบอกสัดส่วนของผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณที่เข้ามาชม แต่ไม่ได้กดเพื่อไปทำอะไรต่อจากนั้น (กดเข้ามาแล้วก็ออก) 

อาจจะบอกยากนิดหน่อยว่าแบบไหนคือธุรกิจ แต่รวมๆ แล้วถ้าต่ำกว่า 56% จะถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์พอรับได้ มากกว่า 70% เป็นต้นไปอาจจะเริ่มสูง

สมัครบัญชี  Google Ads ยังไง

การจะทํา Google Ads ด้วยตัวเอง ต้องเริ่มต้นจากการสมัครสมาชิกสร้างบัญชี Gmail ซะก่อน แล้วจึงลงทะเบียนสมัครบัญชี Google Ads ที่เว็บ https://ads.google.com/intl/th_TH/home/ แล้วจึงค่อยเริ่มต้นสร้างแคมเปญโฆษณา

Ads Google เริ่มใช้บัญชี

องค์ประกอบของบัญชี Google Ads

การจะสร้างโฆษณาที่ดีก่อนสร้างเราต้องกำหนดเป้าหมายของเราให้ชัดเจนว่าเราอยากโฆษณาอะไร สินค้าเราคืออะไร แล้วอยากให้คนกลุ่มไหนเห็นโฆษณาของเรา อยากให้เห็นแล้วทำอะไร เป็นต้น 

เมื่อวางแผนได้ชัดเจนแล้วจึงค่อยมาสร้างโฆษณา (Ads) การที่เราชัดเจนว่าเราจะสร้างอะไรจะช่วยให้เราสามารถสร้างโฆษณาและร่างโครงสร้างของแคมเปญ (Campaign) ที่เหมาะสมได้ง่ายมากขึ้น 

หากจะมองภาพรวมของบัญชี Google Ads เราอาจจะแยกองค์ประกอบของบัญชี Google Ads เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังภาพข้างล่างนี้

Google Ads โครงสร้างแคมเปญ

การใช้งาน Keyword Planner เบื้องต้น

เริ่มจากไปที่เว็บไซต์ https://ads.google.com/home/tools/keyword-planner/ อย่าลืมลงชื่อเข้าใช้งานจากบัญชีที่ตัวเองมีอยู่ จากนั้นดูที่แถบด้านบนแล้วเลือก Tools มองหาคำว่า Keyword Planner ภายใต้หัวข้อ Planning 

Keyword Planner

จากนั้นก็ใส่คำค้นหาหรือ Keywords เบื้องต้น เพื่อดูคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง เราจะเจอทั้งคำที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราตั้งใจเสิร์ช ราคาของ Keyword และจำนวนครั้งของการค้นหาคำนั้นต่อเดือน แนวโน้มที่คนจะสนใจคำนั้น เพื่อวิเคราะห์ในการทำการตลาดต่อไป 

Keyword Research
Keyword Research

สำหรับใครที่อ่านแล้วยังไม่เห็นภาพอยากให้ลองเข้าเว็บใช้งานดูในครั้งแรก ทางเว็บจะมีคำแนะนำให้เราสามารถทำตามได้ง่ายๆ 

รู้จักประเภทของ Keywords และ Negative Keywords

การทำKeyword Research มีความสำคัญอยากมากกับการทำ Search Engine Marketing การรู้จักและเลือกใช้คีย์เวิร์ดให้ถูกประเภทจะยิ่งเพิ่มโอกาสให้คุณสามารถทำโฆษณาผ่าน Google Ads ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถบริหารและคุมการใช้ต้นทุนได้อย่างคุ้มค่า 

Google Ads Keyword Match Types

ก่อนอื่นเราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีคีย์เวิร์ดประเภทไหนบ้าง

Broad Keyword 

เป็น Keyword แบบกว้างๆ เมื่อมีคนเสิร์ช Keyword ประเภทนี้ ระบบ Search Engine จะวิเคราะห์และแสดงผลคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันมาแสดงเพิ่มเติม เหมาะกับธุรกิจที่เพิ่งเกิด เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นวงกว้าง

Broad Match Keyword 

เป็น Keyword ที่ทำงานแคบกว่าแบบแรก มักมีเครื่องหมาย (+) นำหน้า สามารถมีคำอื่นๆ หรือรูปประโยคอื่นๆ มาแทรกกับคำหลักได้ แต่จะแสดงผลลัพธ์ที่ตรงกับคำค้นหาเท่านั้น ไม่แสดงคำคล้ายอื่นๆ

Phrase Keyword 

เป็น Keyword ที่มีเครื่องหมาย ” ” ทำงานแบบเป็นกลุ่มคำห้ามมีคำอื่นมาแทรกกลาง โดยจะแสดงเฉพาะเว็บไซต์/โฆษณาที่มี Keyword นั้นประกอบอยู่ ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น

Exact Keyword 

เป็น Keyword ที่มีราคาค่า Bid ต่ำที่สุด เนื่องจากเป็นคำที่คนจะค้นหาแบบไม่มีคำอื่นมาปะปน โฆษณาที่จะแสดงผลมักจะต้องมี Keyword ที่ตรงเป๊ะเท่านั้น ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้แม่นยำที่สุด แต่ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ความชำนาญในการหา Keyword สูง

Negative Keyword 

เป็น Keyword ที่มีเครื่องหมายลบนำหน้าไว้ด้วย เพื่อให้นำ Keyword และกลุ่มคนที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงออกไป โดยการช่วยป้องกันลูกค้าที่เคยค้นหา Keyword นั้นแล้วไม่สนใจเว็บไซต์หรือการแสดงผลอื่นๆ รวมถึงโฆษณาของเรา เมื่อเขากลับมาค้นหาใหม่จะไม่เห็นโฆษณา/เว็บไซต์ของเราอีก ทำให้การทํา Google Ads ด้วยตัวเองสามารถเข้าถึงเป้าหมายที่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น

เริ่มทำ Google Ads ด้วยตัวเองโดยการสร้าง Search Campaign อย่างง่าย

หลังจากที่เรามีคำ Keyword ในใจเรียบร้อยแล้ว ก็มาลองเริ่มต้นสร้างแคมเปญโฆษณาทํา Google Ads ด้วยตัวเองกัน สร้างแคมเปญผ่าน Google Ads วิธีทําเริ่มจากคำว่า Campaign ตรงเมนูด้านซ้ายมือ 

สร้างแคมเปญ Google Ads

หลังจากที่เรากดแล้วจะแสดงเครื่องหมายเป็นวงกลมสีน้ำเงินที่มีรูปบวกอยู่ตรงกลาง แล้วกดเลือก New campaign

สร้างแคมเปญ Google Ads

จากนั้นจึงเลือกประเภทแคมเปญที่จะสร้าง เช่น การเสิร์ช ดิสเพลย์ ช้อปปิ้ง วิดีโอ หรือแอปพลิเคชัน ฯลฯ แต่ถ้าหากไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเป็นพิเศษ ขอแนะนำให้เลือกทำแคมเปญแบบไม่มีเป้าหมายไปก่อน โดยกดที่ Create a Campaign Without a Goal 

สร้างแคมเปญ Google Ads

จากนั้นก็เลือกปลายทางที่เราต้องการให้ผู้คนมาปฏิสัมพันธ์มากขึ้น เช่น เว็บไซต์ของเรา ฯลฯ 

สร้างแคมเปญ Google Ads

จากนั้นจึงเลือก Network ที่โฆษณาเราจะไปแสดง มีให้เลือกระหว่าง Search (บนหน้าค้นหาของกูเกิ้ล) และ Display Network 

สร้างแคมเปญ Google Ads

ต่อจากนั้นอาจเลือก ทั่วประเทศ Thailand หรือเลือก Enter another locations เพื่อระบุจังหวัด หรือเมืองในประเทศอื่นๆ ก็ยังได้ 

สร้างแคมเปญ Google Ads
สร้างแคมเปญ Google Ads

ถัดลงมาจะเป็นส่วน Languages แนะนำให้เลือกภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐาน และถัดลงมาก็สามารถเลือกกลุ่มผู้ชมประเภทต่างๆ 

สร้างแคมเปญ Google Ads

ในส่วนของการตั้งค่า Budget สามารถกำหนดได้ว่า ในแต่ละวัน เราต้องการใช้เงินไปเท่าไหร่ ซึ่งกูเกิ้ลอาจจะมีหักไปน้อยกว่าหรือมากกว่าที่กำหนดไว้ในแต่ละวันบ้าง แต่จะไม่เกินไปกว่างบที่ตั้งไว้ในแต่ละเดือน 

ส่วน Bidding หากคุณเป็นมือใหม่หัดลองทำ Google Ads ด้วยตัวเอง เราขอแนะนำให้คุณเลือกแบบ Manual CPC เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและเรียนรู้ต่อยอดไปยังแบบอื่นได้ง่ายขึ้น

หรือจะใช้เทคนิคในการ Bid แบบที่โนเรียเองทำบ่อยก็คือให้ตั้ง Maximise Clicks แล้วให้ตั้งค่าราคาสูงสุดต่อคลิกที่เรายอมจ่าย (Maximum CPC bid limit) เพื่อที่เราจะได้ไม่จ่ายมากไปกว่าที่กำหนดไว้ ข้อดีของ Maximise Clicks ก็คือจะเป็นการ Bid ในแบบที่พยายามทำให้เราได้จำนวน Click มากที่สุดเท่าที่ต้นทุนของเราเอื้ออำนวย

ในภายหลังหากเราเริ่มเชี่ยวชาญ เริ่มมี Conversions ที่หลากหลายและมีจำนวนมากขึ้น ก็อาจจะตั้งให้เป็น Maximise Conversions ก็ได้เช่นกัน

สร้างแคมเปญ Budget

เมื่อกำหนดวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของแคมเปญได้แล้ว สามารถมาตั้งค้า Extention ซึ่งก็คือส่วนเสริมเพิ่มเติม เช่น เบอร์โทร ที่อยู่ หรือเพจเว็บไซต์ ต่อจากนั้นก็สามารถกด Save and Continute เพื่อไปใส่คีย์เวิร์ด เขียน Ad แล้วรอให้แคมเปญเริ่มทำงานกัน

Save แคมเปญ Google Ads

รู้จัก Ad Extensions

Ad Extensions เป็นการเพิ่มส่วนขยายให้กับโฆษณาของเรามีการแสดงผลที่ละเอียดมากขึ้น ดูโดดเด่นกว่าโฆษณาอื่นได้มากยิ่งขึ้น มีประมาณ 4 แบบที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป จากทั้งหมด 10 รูปแบบ ได้แก่ Callout Extension เขียนคำเน้นย้ำเกี่ยวกับสินค้าที่เราต้องการจะสื่อ, Location Extension บอกที่ตั้งของสถานที่หน้าร้าน, Sitelinks Extension ส่งกลุ่มเป้าหมายไปยังลิงก์ปลายทาง และ Call Extension เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้

Ad Extension Example

การปรับปรุงคุณภาพของ Campaign

สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการสร้างกลุ่มโฆษณาที่มีความจำเพาะเจาะจงสูงเพื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด อย่าเลือกทำโฆษณาหลายชิ้นในหนึ่งแคมเปญ 

อย่าลืมดึงความ Creative ออกมาใช้สร้างโฆษณาที่เข้าใจง่าย และดึงดูด มีการวางเป้าหมาย (Objective) ของแคมเปญให้ดี และควรทดสอบ/ตรวจสอบคุณภาพโฆษณาอย่างสม่ำเสมอ

เทคนิคการเขียนโฆษณาให้ปัง

  1. เข้าใจในสินค้าหรือบริการของตัวเองเป็นอย่างดีจนสามารถจับจุดเด่นและคำสำคัญที่สามารถสื่อถึงสินค้าหรือบริการมาใช้ทํา Google Ads ด้วยตัวเองได้อย่างตรงจุด ชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจง่ายโดยใช้เพียงไม่กี่คำ
  1. คำที่ใช้ควรสามารถกระตุ้นอารมณ์บางอย่างให้อยากมีส่วนร่วมและคลิกไปยังลิงก์ปลายทางได้ หากแม้แต่ตัวเองลองเขียนและอ่านทวนแล้วยังรู้สึกว่าเฉยๆ แสดงว่ายังไม่ผ่าน
  1. เลือกใช้ Keyword ให้เหมาะสม และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยเฉพาะ นอกจากจะนำไปใช้ในการทำ  Google Ads แล้ว ยังอาจนำไปใช้กับการทำ SEO ควบคู่ไปด้วยเพื่อให้เว็บไซต์ติดหน้า Google ได้ยาวนานและประหยัดค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น

ได้เวลาลงมือทำ

สุดท้ายนี้ การทํา Google Ads (Google Adwords) ด้วยตัวเองไม่ได้ยากอย่างที่คิดใช่ไหมคะ และเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงการทำ SEO ก็ไม่ควรมองข้ามไปเช่นกัน ที่ Search Studio เรามีบริการ SEO full package จากทีมงานมืออาชีพพร้อมให้บริการ สนใจติดต่อมาพูดคุยกันได้ที่นี่เลยค่ะ

Written By

เริ่มเข้าสู่สายงานนี้จากการเป็น Link builder ตัวเล็กๆ ที่ร่างไม่เล็กนัก ผ่านมา 4 ปีแล้วจาก Day 1 ยังพยายามเพิ่มพูนทักษะในสายงาน Digital Marketing อยู่เสมอ ติดบ้านแบบแงะออกยาก ชอบอ่านหนังสือ แต่สะสมไฟล์ epub มากกว่าหนังสือจริง ชอบฟัง Podcast หลงใหลใน Pop culture และการเขียนเรื่องสั้น สนใจเรื่อง Productivity เพราะเชื่อว่าเมื่อเรา Productive การทำงานจะเป็นเรื่องสนุก พูดคุยกับ Gigi ที่ LinkedIn
Views
Recommend Article

รับคำปรึกษา
SEO ฟรี!

ตรวจสถานะ SEO ของเว็บไซต์ของคุณ ฟรี พร้อมคำแนะนำจาก SEO Specialist ของเรา มูลค่า 35,000 บาท

มีจำนวนจำกัด เท่านั้น ติดต่อเราเลย

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.