SEO

Search Intent คืออะไร ต้องใช้อย่างไรให้เกิดผลดีต่อ SEO!

Fast To Read

ในปัจจุบัน หลายคนในวงการ SEO อาจสงสัยว่า “Search Intent” คืออะไร มีหน้าที่และประโยชน์อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานในวงการนี้หรือแม้แต่ผู้ที่ทำงานด้าน SEO มานานแต่ยังคงใช้วิธีการเดิมๆ ในการปรับปรุง SEO มาโดยตลอด อาจไม่เคยได้ยินหรือไม่เข้าใจคำนี้มาก่อน วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับความหมาย ประเภท และวิธีการใช้งาน “Search Intent” เพื่อช่วยให้บทความหรือคอนเทนต์ของคุณปรากฏในอันดับต้นๆ ของเครื่องมือค้นหาได้ง่ายและเร็วขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการดึงดูดผู้ชมที่สนใจประเภทคอนเทนต์ของคุณมากขึ้น

เริ่มต้นไขข้อสงสัยว่า Search Intent คืออะไร

เพื่อให้ทุกอย่างง่ายขึ้น สิ่งแรกที่คุณต้องรู้คือ Search Intent หมายถึงอะไร โดยความหมายของ Search Intent คือ “เจตนาหรือความต้องการของผู้ใช้งานของ Keyword” ผ่าน Search Engine ต่างๆ เช่น Google, Yahoo, Edge ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของบทความหรือคอนเทนต์อื่นๆ เช่น ตารางราคา ผลหวย การแปลภาษา วิดีโอ รูปภาพ e-commerce เป็นต้น ผู้ประกอบการควรศึกษา Intent ของแต่ละ Keyword ก่อนเริ่มทำ Content เพื่อทำความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้สามารถผลิตคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้มากขึ้น เมื่อคอนเทนต์สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้คอนเทนต์ของคุณปรากฏอยู่ในอันดับต้นๆ ของ Search Engine ได้ง่ายขึ้น

วิธีการดู Intent ของ Google สำหรับมือใหม่แบบง่ายๆ ได้แก่

  • ค้นหาข้อมูลของ Keyword ที่ต้องการในช่องการค้นหาของ Google
  • สังเกตภาพรวมรูปแบบของคอนเทนต์ที่นำเสนอบน Google SERP ว่าเป็นประเภทใด
  • ดูว่า Featured Snippets หรืออันดับ 0 แสดงผลอย่างไร

ทำความรู้จักประเภท Search Intent

ตอนนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ 4 ประเภทของ Search Intent ว่ามีอะไรกันบ้าง พร้อมทำความเข้าใจว่าแต่ละประเภทจะจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไรกันบ้าง ดังนี้

Navigational Intent

คำว่า “Navigational” มีความหมายตรงตัวอยู่แล้ว คือต้องการให้ผู้ใช้ค้นหาโดยการถามเส้นทางทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาเส้นทางเพื่อการเดินทาง ยกตัวอย่างเช่น Google Map เช่น “ร้านขายอาหาร ใกล้ฉัน” เป็นต้น นอกจากนั้น Navigational Intent ยังหมายถึงการใช้ Search Engine เพื่อใช้เป็นตัวกลางสำหรับเข้าถึงเว็บไซต์หรือลิงก์ URL อื่น ๆ ก็ได้เหมือนกัน เช่น Youtube Microsoft สถานที่ต่าง ๆ ที่เราต้องการหาข้อมูล หรือเว็บไซต์อื่น ๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ การใช้ Search Intent แบบ Navigational ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือเว็บไซต์ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ข้อมูลทั้งหมดลงในช่องค้นหา

Informational Intent

Search Intent ประเภท Informational Intent คือการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการในเชิงลึก โดยผู้ใช้มักใช้คีย์เวิร์ดที่เจาะจงและชัดเจน ค้นหาข้อมูลด้วยคำถามหรือคีย์เวิร์ดที่มีความหมายเฉพาะ ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่ต้องการในเชิงลึกมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนคีย์เวิร์ดที่นิยมใช้ในการค้นหาข้อมูลในประเภทนี้จะอยู่ในของเครื่องหมายคำถามเกือบทั้งหมด อย่างเช่น  ใคร, ทำอะไร, ที่ไหน, ทำอย่างไร, ทำไม นำหน้าหรือต่อท้ายคีย์เวิร์ดที่ใช้ค้นหาเสมอ เช่น SEO คืออะไร หรือ ทำ SEO อย่างไรให้ปัง เป็นต้น

Commercial Intent

Commercial Intent เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของลูกค้า เมื่อลูกค้า “สนใจสินค้าและบริการ” ต่างๆ หลังจากที่ได้ค้นหาข้อมูลจาก Navigational Intent หรือ Informational Intent แล้ว จะทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการเลือกซื้อหรือใช้บริการประเภทที่พวกเขาสนใจมากขึ้น แต่ยังคงมีคำถามว่าควรเลือกซื้อจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่ไหนดี ใน Intent ประเภทนี้ ลูกค้ามักจะค้นหาข้อมูลเชิงลึกและเปรียบเทียบสิ่งที่พวกเขาต้องการจากหลายแหล่งบริการ โดยใช้คำค้นหาเช่น “ที่ไหนดี”, “อร่อยที่สุด”, “ถูกที่สุด”, “ร้านไหนดี”, “น่าเชื่อถือ” โดยตัวอย่างคำค้นหาในประเภทนี้ เช่น “ร้านก๋วยเตี๋ยวที่ไหนดี”, “รองเท้า Nike ถูกที่สุด” เป็นต้น พฤติกรรมนี้สะท้อนว่าลูกค้าต้องการหาข้อมูลที่เพียงพอก่อนทำการตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการ

Transactional Intent

Transactional Intent คือประเภทสุดท้ายของ Search Intent ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าและบริการ ผู้ใช้มักจะไม่ต้องการตัวเลือกเพิ่มเติมแล้ว เนื่องจากพวกเขามีความชัดเจนในสิ่งที่ต้องการและพร้อมที่จะดำเนินการตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการ ดังนั้น คีย์เวิร์ดที่ลูกค้าใช้ควรเป็นคำที่บ่งบอกถึงความต้องการจริงๆ ของผู้ใช้ เช่น “ร้าน”, “ซื้อ”, “เปลี่ยน”, “รีวิว”, “โปรโมชัน”, “ราคา”, “โค้ดส่วนลด” เป็นต้น การใช้คีย์เวิร์ดเหล่านี้จะช่วยให้ผลลัพธ์การค้นหาสอดคล้องกับความต้องการขั้นสุดท้ายของผู้ใช้ ซึ่งเป็นการเข้าใกล้การตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการแล้ว

วิธีใช้ Search Intent เพื่อเพิ่มการติดอันดับ

เมื่อเราได้ทำความเข้าใจความหมายและประเภทของ Search Intent ไปแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการนำความรู้นี้ไปใช้เพื่อให้เกิดผลดีต่อแบรนด์สินค้าและบริการของเรา ขั้นตอนการใช้งานในปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในวงการ SEO หรือตลาดออนไลน์ โดยสามารถปฏิบัติได้ด้วย 3 ขั้นตอนหลักดังนี้

  • เลือกคีย์เวิร์ดและหัวข้อ (Topic) ให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับสินค้าหรือบริการ รวมถึงการค้นหาข้อมูลของผู้ใช้มากที่สุด
  • วางคีย์เวิร์ดหลักและคีย์เวิร์ดรองให้มีแนวทางที่ชัดเจน เพื่อให้ Google และ Search Engine อื่นๆ มองเห็นและจัดอันดับเนื้อหาของคุณได้ง่ายขึ้น
  • วาง Meta Description และหัวข้อต่างๆ ให้สอดคล้องและเข้ากับ Search Intent ที่ต้องการ เพื่อทำให้ผู้ใช้เข้าใจได้ทันทีว่าเนื้อหาของคุณตอบสนองความต้องการของพวกเขาอย่างไร
  • เขียนเนื้อหาให้ครอบคลุม ชัดเจน และเข้าใจง่าย พร้อมตอบโจทย์ผู้อ่านได้มากที่สุด เพื่อให้เนื้อหาของคุณน่าสนใจและมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน

การทำ Search Intent มีจุดหลักสำคัญคือการทำ Keyword Mapping ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแผนการทำ Digital Marketing ของแต่ละแบรนด์ การวิเคราะห์คีย์เวิร์ดอย่างละเอียดช่วยให้การปรับและใช้คีย์เวิร์ดในแต่ละคอนเทนต์ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มโอกาสให้สินค้าและบริการของคุณเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเท่านั้น แต่ยังช่วยดึงดูดกลุ่มที่ไม่ใช่ลูกค้าโดยตรงให้สนใจในสินค้าและบริการของคุณได้เช่นกัน การทำ Keyword Mapping อย่างมีกลยุทธ์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการทำ Digital Marketing ในยุคปัจจุบัน ทำให้สามารถสร้างความโดดเด่นและแตกต่างในตลาดที่แข่งขันกันอย่างสูงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

สุดท้ายนี้ เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ Search Intent ทั้งนี้สำหรับใครที่มีเว็บไซต์ธุรกิจอยู่แล้ว และต้องการให้เว็บไซต์ติดอันดับหน้าค้นหา ที่ เอเจนซี่ SEO Search Studio ของเรา มีบริการรับทำ SEO ให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกบน Google ซึ่งช่วยให้คุณไม่ต้องเสียเวลาในการศึกษาข้อมูลให้เสียเวลา รับรองได้เลยว่าเว็บธุรกิจของคุณ สามารถเพิ่มยอดขายได้มากยิ่งขึ้น และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ได้อย่างกว้างขวาง สามารถติดต่อทีมงานของเราได้ที่ admin@searchstudio.co.th ได้เลย

Written By

เมย์เริ่มงานสาย Online Marketing มาได้มาได้มากกว่า 3 ปีแล้ว และยังคงศึกษางาน SEO และ Online Marketing ต่อไป ด้วยเป็นเด็กสายวิทย์ที่ชอบการอ่านมากกว่าฟัง ชอบวิเคราะห์ มีความขี้สงสัยและต้องค้นหาเหตุผลให้เจอ ยังคงหลงใหลในศิลปะการทำอาหาร สุดท้ายแล้วขอให้แมวจรทุกตัวมีบ้านค่ะ
Views
Related Article

รับคำปรึกษา
SEO ฟรี!

ตรวจสถานะ SEO ของเว็บไซต์ของคุณ ฟรี พร้อมคำแนะนำจาก SEO Specialist ของเรา มูลค่า 35,000 บาท

มีจำนวนจำกัด เท่านั้น ติดต่อเราเลย

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.