SEO

วิธีทําให้ Google หาเว็บเราเจอ เริ่มที่เข้าใจ Crawling กับ Indexing

Fast To Read

ทำยังไงให้ Google หาเว็บไซต์ของเราเจอ หรือทำยังไงให้เว็บไซต์ขึ้นหน้าแรกบน Google นับเป็นคำถามยอดฮิตสำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ทุกคนอยากให้ Google หาเว็บไซต์ตัวเองเจอ และอยากจะให้เจอในหน้าแรกด้วย เพราะนั่นจะเท่ากับโอกาสที่จะเกิดคลิกและมีคนเข้าเว็บ (Traffic) มากขึ้น

การที่ Google จะหาเว็บไซต์ของเราเจอหรือไม่เจอนั่น มีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย โดยที่วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟังกันตั้งแต่พื้นฐานเลย โดยบทความวันนี้จะครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้

  • ทำความเข้าใจคำว่า Indexing และ Crawling และการทำงานของมันคร่าวๆ
  • วิธีดูว่า Google เจอเว็บไซต์หรือเพจบนเว็บไซต์ของเราหรือยัง
  • ต้องทำยังไงให้ Google นั้นเจอและมีข้อมูล (Index) เว็บไซต์ของเรา

ทำความเข้าใจ Indexing และ Crawling เกี่ยวอะไรกับการทำให้ Google หาเว็บเราเจอ

ก่อนอื่นมาเข้าใจศัพท์เกี่ยวกับ SEO กับคำว่า Indexing และ Crawling กันค่ะ 

Indexing

Index แปลเป็นไทยว่า ดัชนี หรือ สารบัญ แต่ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การเก็บข้อมูลนั่นเอง ก็คือ การที่ GoogleBot หรือ สมองกลของ Google คอยมาเก็บข้อมูลของเว็บไซต์แล้วนำไปเก็บไว้ในคลังหรือฐานข้อมูล เพื่อไว้ให้ผู้ใช้งาน Google ทั่วโลกได้ค้นหาจากฐานข้อมูลอันนี้ 

ซึ่งนั้นหมายความว่าเว็บไซต์ไหนไม่ได้รับการ Index ก็จะเท่ากับว่าไม่สามารถปรากฏอยู่ใน Google ได้ไม่ว่าจะพยายามเสริชหาแค่ไหนก็ตาม

แต่ไม่ต้องกังวลมากจนเกินไปนะคะ โดยมาแล้วเว็บส่วนใหญ่จะถูก Index ได้ในที่สุด แม้ว่าอาจจะมีบ้างบางเว็บอาจจะใช้เวลามากกว่าปกติ

Crawling

Crawl แปลเป็นภาษาไทยว่า คลืบคลานหรือซอกซอน ถ้าในความหมายเชิง SEO ก็คือหมายถึงการที่ Google ส่ง Bot เข้าที่เว็บไซต์หรือเพจต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลเพจหรือเว็บใหม่ๆ 

ฟังดูเหมือน Indexing เลยใช่ไหมคะ แต่อย่าเพิ่งสับสนไปค่ะ เพราะทั้งสองคำนี้แตกต่างกันอยู่ค่ะ Index คือการบันทึกข้อมูลเอาไว้ในฐานข้อมูลของเสริชเอนจิ้น แต่การ Crawl นั้นจะอธิบายถึงกริยาของการที่ Bot ซอกซอนไปอ่านและตีความข้อมูลชุดใหม่ๆ แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเมื่อ Google Crawl เว็บเราแล้วจะ Index เว็บเราเสมอไป

สรุปง่ายๆ 

Crawl = กริยาบ่งบอกถึงการที่ Google ส่ง Bot ไปอ่านและตีความข้อมูลเพจใหม่ๆ

Index = กริยาบ่งบอกถึงการที่ Google บันทึกข้อมูลไว้ใน Data base > ทำให้ผู้ใช้งาน Google หาเราเจอผ่าน Google

การถูกบันทึกไว้ใน Google (Indexing) ≠ การติดอันดับใน Google (Ranking)

อันนี้สำคัญมากนะคะ หลังจากเข้าใจเรื่อง Index กับ Crawl ไปแล้ว ตอนนี้ต้องมาทำความเข้าใจอีกเรื่องที่อาจจะทำให้เกิดความสับสน ก็คือ การที่บางคนคิดว่า Indexing หรือการที่ Google นั้นบันทึกข้อมูลเราแล้ว จะเท่ากับว่าเราได้ติดอันดับแล้ว ซึ่งนั่นไม่จริงเลยค่ะ ทั้งการถูกบันทึกไว้ใน Google (Indexing) กับการติดอันดับ (Ranking) เป็นคนละเรื่องแยกออกจากกัน

จะรู้ได้ยังไงว่า Google เจอเว็บของเราหรือยัง

หลังจากเข้าใจคำว่า ‘Index’ กับ ‘Crawl’ กันไปแล้ว ทีนี้เราจะรู้ได้ยังไงว่า Google นั้นบันทึกข้อมูลของเราลงในฐานข้อมูล (ต่อไปนี้จะใช้คำว่า Index) เว็บเราหรือยัง อย่าลืมว่าถ้าไม่มีการ Index เกิดขึ้น จะเสริชยังไงก็ไม่เจอจริงไหมคะ 

วิธีการเช็คว่า Google นั้น Index เว็บไซต์หรือเว็บเพจของเราหรือยังมีหลายวิธีค่ะ โดยเราจะยกตัวอย่างวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การใช้ Google นี่แหล่ะค่ะ

1. ไปที่ Google แล้วพิมพ์ site: ตามด้วยชื่อเว็บเต็มไป แบบไม่มี https://

ตัวอย่าง – site:noria.co.th

ตามภาพเราจะเห็นค่ะว่ามีผลการค้นหา 103 รายการ ซึ่งนี่เท่ากับว่ามีเพจ 103 หน้า (รวม homepage) จากเว็บไซต์ของ Noria ที่ Google ได้ Index ไว้ค่ะ

2. อีกวิธีที่ง่ายยิ่งกว่าก็คือการ เสริชไปตรงๆ เลยค่ะ

ตัวอย่าง – https://noria.co.th/ways-ios-14-impacts-app-development-process/

เช่น ถ้าหากว่าต้องการดูว่าเพจนี้โดยเฉพาะเลย ได้รับการ Index หรือยังก็แค่ทำ URL ไปเสริชใน Google เพื่อดูเลยค่ะว่าหาเจอไหม

ต้องทำยังไงให้ Google นั้นเจอและมีข้อมูล (Index) เว็บไซต์ของเรา

โดยทั่วไปนั้น Google จะทำการ Crawl และ Index ข้อมูลอยู่เรื่อยๆ ไม่หยุด ทำให้ส่วนใหญ่แล้วเมื่อเราโพสเพจใหม่ๆ ออกมาจากเว็บของเรา มันจะก็ได้รับการ Index ในเวลาไม่นาน ใช้เวลานานหลักวันหรือบางทีอาจนานหลายสัปดาห์เลยก็ได้ขึ้นอย่างกับปัจจัยหลายอย่าง 

ทีนี้ถามว่าผ่านไปหลายวันแล้วไม่เห็นเพจใหม่ Index สักทีต้องทำยังไง จริงๆ มีหลายวิธีที่จะส่งสัญญาณไปบอก Google ค่ะ ไม่ว่าจะเป็น submit sitemap หรือวิธีอื่นๆ ซึ่งรายละเอียดนั้นจะออกแนวเชิงเทคนิคไปสักหน่อย

เราเลยมาแนะนำวิธีง่ายๆ ไม่ต้องใช้เครื่องมือใดๆ แต่ก็สามารถส่งข้อมูลไปเตือนให้ Google มา Crawl และ Index เพจที่เราต้องการได้ค่ะ 

วิธีนี้ไม่ต้องมีพื้นฐาน SEO ใครๆ ก็ทำได้ เป็นการ Ping ค่ะ ซึ่งวิธีการคือ

1. เอา URL เต็มของเว็บไซต์ที่เราต้องการส่งข้อมูลให้ Google ไป Index ไปใส่แทนใน < > ของ URL ข้างล่างนี้ค่ะ 

http://www.google.com/ping?sitemap=<full_URL_of_sitemap>

2. ก็อป URL ทั้งหมด ไปวางไว้ที่ Search Bar แล้วกด Enter

3. จะเจอ Text หน้าตาแบบข้างล่างนี้ค่ะ ซึ่งเป็นการบอกเราว่าได้ส่งข้อมูลไปแล้วนะ

ทิปส์สำคัญ! เมื่อทําให้ Google หาเว็บเราเจอแล้ว ต่อไปต้องทำยังไงให้ขึ้นอันดับต้นๆ

มาถึงตอนที่ทุกคนอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะ เพราะว่าสิ่งสำคัญก็คือทุกคนอยากติดอันดับดีๆ ในเมื่อการ Index เป็นแค่การเริ่มต้น เป้าหมายสูงสุดจริงๆ ก็คือการ Rank หรือติดอันดับต่างหากหล่ะ มาดูคำแนะนำสำคัญๆ จากเรากันค่ะว่าต้องทำยังไงให้ติดอันดับ

1. Title ของเพจ

ถ้าเปรียบเว็บไซต์เป็นหนังสือที่แยกเป็นหลายบท แต่ละบทเท่ากับเว็บเพจ 1 เพจ เจ้าตัว Title ของแต่ละเพจก็คือชื่อบทนั่นแหล่ะค่ะ เป็นการบอกให้รู้ว่าหน้านั้นๆ เกี่ยวกับอะไร ซึ่งต้องตั้งให้สอดคล้องกับตัวเนื้อหานะคะ

2. Description ของเพจ

ตัว Description นั้นจะอยู่ถัดลงมาจากตัว Title เป็นเหมือนพรีวิวให้เราดูว่าเป็นมีเนื้อหาประมาณไหนอยู่ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นคำโปรยของเพจ การแสดงผลของ Description อาจไม่ได้แสดงผลเหมือนกันตลอดเวลานะคะ ขึ้นอย่างกับว่าเราเจอเพจนั้นๆ ด้วยคีย์เวิร์ดหรือการเสริชแบบไหนด้วยค่ะ

คลิกเพื่ออ่านต่อเกี่ยวกับการใช้ Yoast SEO ในการปรับ Title และ Description ของเพจ

3. Keyword สัมพันธ์กับเนื้อหา

หลายคนที่คลุกคลีอยู่ในวงการ SEO หรือพอเข้าใจเกี่ยวกับการติดอันดับย้อมได้ยินเกี่ยวกับความสำคัญของคีย์เวิร์ดมาบ้าง ซึ่งเราเองเคยย้ำอยู่เสมอว่าคีย์เวิร์ด (Keyword) นั้นมีความสำคัญมากๆ ไม่ใช่ว่าต้องใช้ให้เยอะ ไม่ใช่การเน้นปริมาณเลยค่ะ แต่เป็นการเลือกคีย์เวิร์ดให้เหมาะสม แล้วก็ใช้ให้เหมาะกับเนื้อหาบนเพจด้วย

อ่านต่อ: 8 โปรแกรมค้นหาคีย์เวิร์ดที่ดีที่สุดในปี 2020

4. เนื้อหาดีแล้วหรือยัง

เนื้อหาหรือคอนเทนต์คือสิ่งที่สำคัญมากๆ ถ้าส่วนประกอบอื่นๆ เรียกได้ว่าเป็นหน้าตาและองค์ประกอบที่ช่วยให้ Google มา Crawl มาทำความเข้าใจเพจเรา มา Index เพจเรา เนื้อหาจะเป็นตัวที่ส่งผลต่ออันดับ ส่งผลต่อประสบการณ์ของผู้เข้าชมเว็บของเรา 

คอนเทนต์บนเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนซึ่งสำคัญอันดับแรกคือสอดคล้องกับ Title ของเพจไหม สัมพันธ์กับคีย์เวิร์ดไหม เป็นคอนเทนต์ที่น่าอ่านไหม อ่านแล้วคนอ่านได้ประโยชน์ไหม ไม่ใช่ทุกอย่างไปคนละทิศละทาง คนเสริชอุตส่าห์เสริชเจอเราแล้ว คลิกเข้ามาแล้ว แต่ก็ต้องคลิกออกไปแบบงงๆ เพราะเนื้อหาเราไม่ใช่สิ่งที่เค้าคาดหวังไว้ 

5. สร้างลิงก์ไปที่เว็บไซต์

การสร้างลิงก์เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Link building เป็นส่วนสำคัญของการทำ SEO ในส่วนของรายละเอียดนั้นเราจะไม่ลงลึกมากนะคะ ไว้เราจะกล่าวถึงอีกในโอกาสถัดไปแน่นอน (เพราะมีความสำคัญจริงๆ นะเออ) 

แต่ให้ระลึกไว้เลยค่ะว่า Link building นั้นเป็นหัวใจของการทำ SEO ที่ใช้ทั้งเวลาแล้วก็ความพยายามและใส่ใจในการทำอย่างมาก ในที่นี้คือถ้าเป็นการทำแบบปลอดภัยเน้นคุณภาพ ช้าๆ ได้พร้าเล่มงามนะคะ 

ถ้าหากว่าเป็นการทำแบบเน้นปริมาณ หรือการสร้างลิงก์ในแบบที่บางคนรู้จักในชื่อเล่น SEO สายดำล่ะก็ อาจจะดูง่าย ดูได้ผลเร็ว แต่ถ้า Google ตรวจเจอจะทำให้เว็บไซต์ของเราไม่ปลอดภัยได้ค่ะ เบาๆ อาจจะแค่อันดับตก แต่ร้ายแรงที่สุด Google อาจจะเลิก Index เว็บเราทั้งหมดไปเลยทุกหน้า

6. ใจเย็นๆ ทุกอย่างต้องใช้เวลา

อย่างที่เราบอกไปในข้อที่แล้วค่ะว่าการทำ SEO นั้นต้องให้เวลากับมัน เทคนิคที่ใช้ต้องปลอดภัย งานที่ได้ก็ต้องเน้นคุณภาพและความปลอดภัย ไม่ใช่ปริมาณหรือความรวดเร็ว ดังนั้น หากจะทำ SEO ต้องใจเย็นค่ะ แล้วก็ทำความเข้าใจว่ามันเป็นวิธีการที่ต้องใช้เวลา SEO ไม่เหมือนการทำ Ads หรือโฆษณาที่พอซื้อแล้วจะได้ผลทันที การทำ SEO จะต้องใช้เวลาในการเก็บเวลไปเรื่อยๆ ค่ะ ในระยะยาวพอเราติดอันดับแล้วผลก็จะอยู่ได้เรื่อยๆ ไม่ตกอันดับลงง่ายๆ 

สรุปประเด็น

  • Crawl = กริยาบ่งบอกถึงการที่ Google ส่ง Bot ไปอ่านและตีความข้อมูลเพจใหม่ๆ
  • Index = กริยาบ่งบอกถึงการที่ Google บันทึกข้อมูลไว้ใน Database ซึ่งต่อมาก็คือจะทำให้ผู้ใช้งาน Google สามารถหาเราเจอผ่านการเสริช
  • การถูกบันทึกไว้ใน Google (Indexing) ≠ การติดอันดับใน Google (Ranking) เป็นคนละเรื่องกัน
  • วิธีเช็คว่าเว็บหรือเพจของเรา Index ไหม คือการเอา URL ไปเสริชใน Google ว่าเจอเพจนั้นๆ ที่เราต้องการให้ Index ไหม
  • การที่ Google จะ Index เพจๆ หนึ่งอาจจะต้องใช้เวลาเป็นวันหรือบางทีก็สัปดาห์
  • เมื่อเว็บไซต์ของเราได้รับการ Index แล้ว การจัดติดอันดับสูงๆ ได้ต้องอาศัยการทำ SEO ซึ่งต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของ SEO ว่าเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาพอสมควร

และถ้าหากว่าคุณกำลังสนใจการโปรโมทธุรกิจด้วยการทำ SEO หรือการโฆษณาออนไลน์ผ่านช่องทางอื่น เช่น โฆษณาบน Google Ads สามารถติดต่อทีมงานเสิร์ชสตูดิโอเพื่อขอคำปรึกษาได้นะคะ

Written By

เริ่มเข้าสู่สายงานนี้จากการเป็น Link builder ตัวเล็กๆ ที่ร่างไม่เล็กนัก ผ่านมา 4 ปีแล้วจาก Day 1 ยังพยายามเพิ่มพูนทักษะในสายงาน Digital Marketing อยู่เสมอ ติดบ้านแบบแงะออกยาก ชอบอ่านหนังสือ แต่สะสมไฟล์ epub มากกว่าหนังสือจริง ชอบฟัง Podcast หลงใหลใน Pop culture และการเขียนเรื่องสั้น สนใจเรื่อง Productivity เพราะเชื่อว่าเมื่อเรา Productive การทำงานจะเป็นเรื่องสนุก พูดคุยกับ Gigi ที่ LinkedIn
Views
Related Article

รับคำปรึกษา
SEO ฟรี!

ตรวจสถานะ SEO ของเว็บไซต์ของคุณ ฟรี พร้อมคำแนะนำจาก SEO Specialist ของเรา มูลค่า 35,000 บาท

มีจำนวนจำกัด เท่านั้น ติดต่อเราเลย

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.