SEO

Keyword Cannibalization คืออะไร ทำไมถึงส่งผลกระทบต่อ SEO

Fast To Read

Keyword Cannibalization เกิดขึ้นเมื่อคุณมีบทความที่ใช้คีย์เวิร์ดเดียวกันหรือใกล้เคียงกันมากเกินไป ซึ่งทำให้เครื่องมืออย่าง Search Engine ไม่แน่ใจว่าหน้าใดควรให้ความสำคัญกันแน่ จึงส่งผลให้อันดับ SEO ของคุณลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่เข้าใจความหมายของ Keyword Cannibalization มากนัก ซึ่งในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Keyword Cannibalization และเมื่อเข้าใจแล้ว คุณจะรับมือกับการจัด Keyword ให้กับเว็บไซต์ได้อย่างแน่นอน ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย

SEO YouTube คืออะไร?

Keyword Cannibalization คือ การที่บทความในหน้าเว็บไซต์เดียวกันกำลังแย่งชิงอันดับการค้นหาจาก Keyword ใน Google ผลที่ตามมาคือ เกิดการแข่งขันภายในเว็บไซต์ของตัวเอง ส่งผลให้การจัดอันดับทั้งหมดลดลง และอาจพลาดโอกาสในการดึงดูด Traffic ที่สำคัญ โดยปกติแล้ว Google จะแสดงผลการค้นหา Keyword เพียง 1-2 รายการจาก Domain เดียวกัน เว้นแต่ว่า Domain ของคุณจะมีคะแนนเว็บไซต์สูงมาก ๆ จึงอาจมีโอกาสแสดงผลได้ถึง 3 รายการ

ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญ Keyword Cannibalization

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า ปกติแล้ว Google จะแสดงผลการค้นหา Keyword เพียง 1-2 รายการจาก Domain เดียวกัน และเมื่อเกิดปัญหา Keyword Cannibalization ขึ้น ผลกระทบต่อการทำ SEO จึงมีหลายอย่างที่ต้องระวัง ดังต่อไปนี้

1. อันดับการค้นหา (SERP) ลดลง

เมื่อหลายหน้าภายในเว็บไซต์ใช้ Keyword เดียวกัน หน้าเหล่านั้นจะต้องแข่งขันกันเอง ส่งผลให้อันดับของแต่ละหน้าลดลง เพราะการจัด Ranking ของ Google จะกระจายไปหลาย ๆ หน้าแทนที่จะโฟกัสที่หน้าหลัก

2. สูญเสีย Traffic

การที่หลายหน้ามาแย่งกันดึง Traffic จาก Keyword เดียวกัน อาจทำให้สูญเสียโอกาสในดึง Traffic จากผู้เข้าชมใหม่ ๆ เป็นจำนวนมาก

3. ประสบการณ์ผู้ใช้ลดลง

เมื่อผู้ใช้เห็นว่ามีหลาย ๆ หน้าที่ให้เนื้อหาคล้ายกัน อาจทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกสับสนและไม่พอใจในประสบการณ์การใช้งาน ซึ่งทำให้พวกเขาออกจากเว็บไซต์ของคุณไป

4. สิ้นเปลืองทรัพยากร

ปัญหา Keyword Cannibalization ทำให้เว็บไซต์หลายหน้าแข่งขันกันเอง ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียเวลาและแรงมากแล้ว ยังทำให้คุณเสียโอกาสในการสร้างเนื้อหาใหม่ที่มีประโยชน์ต่อผู้เข้าชมอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัญหา Keyword Cannibalization ยังสามารถเกิดขึ้นได้แม้คุณจะใช้ Keyword ที่แตกต่างกัน  ยกตัวอย่างเช่น บทความ “เครื่องออกกำลังกาย” กับ “เครื่องออกกำลังกายขา” โดยใช้ Primary Keyword เดียวกัน คือ “เครื่องออกกำลังกาย” แม้ว่าจะดูแตกต่างกันในบางมุมมอง แต่ทั้งสองโพสต์ยังคงมีเนื้อหาที่คล้ายกันมาก ซึ่ง Google จะสับสนว่าควรจัดอันดับให้หน้าไหนสูงกว่า ผลที่ตามมาคือทั้งสองโพสต์อาจไม่ได้รับการจัดอันดับที่ดีจาก Google นั่นเอง

จะรู้ได้อย่างไรว่าเว็บไซต์มีปัญหา Keyword Cannibalization

ก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหา Keyword Cannibalization สิ่งแรกที่ควรทำคือ การตรวจสอบว่าเว็บไซต์กำลังประสบปัญหานี้หรือไม่ เนื่องจากหลายหน้าบนเว็บไซต์แย่งชิง Keyword เดียวกัน แน่นอนว่าจะทำให้ทั้ง Ranking และ Traffic ของเว็บไซต์ลดลง ซึ่งการรู้วิธีตรวจสอบจึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาประสิทธิภาพของ SEO และป้องกันไม่ให้เว็บไซต์เสียโอกาสในการดึงดูดผู้เข้าชม โดยมีวิธีตรวจสอบดังนี้
วิเคราะห์โครงสร้างของเว็บไซต์: ตรวจสอบว่ามีหลายหน้าในเว็บไซต์ที่เน้นใช้ Keyword เดียวกันหรือไม่

  • ตรวจสอบอันดับของหน้าเว็บ: ใช้เครื่องมือ SEO เพื่อตรวจสอบว่ามีหน้าเว็บหลายหน้าที่แย่งอันดับกันเองใน Keyword เดียวกันหรือไม่
  • วิเคราะห์ Backlink: ตรวจสอบว่ามีการกระจาย Backlink ไปยังหน้าที่ใช้ Keyword เดียวกันหรือไม่ ซึ่งอาจทำให้การจัดอันดับลดลง
  • ตรวจสอบด้วย Google Search Console: ใช้ Google Search Console เพื่อตรวจสอบว่ามีหลายหน้าที่ได้รับ Traffic จาก Keyword เดียวกันหรือไม่
  • ใช้เครื่องมือตรวจสอบคีย์เวิร์ด: ใช้เครื่องมือ SEO เช่น Ahrefs, SEMrush หรือ Moz เพื่อตรวจสอบว่ามีการใช้ Keyword ซ้ำ ๆ กันในหลายหน้าของเว็บไซต์หรือไม่
  • วิเคราะห์ Content Overlap: ตรวจสอบว่ามีเนื้อหาซ้ำ (Duplicate Content) หรือใกล้เคียงกันในหลายหน้าเว็บหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของ Keyword Cannibalization
  • ตรวจสอบ CTR และ Conversion Rate: หากพบว่า CTR หรือ Conversion Rate ลดลง อาจเป็นสัญญาณว่ามีหลายหน้าที่แข่งขันกันเองใน Keyword เดียวกัน

วิธีแก้ปัญหาเมื่อเกิด Keyword Cannibalization

  • รวมเนื้อหาที่คล้ายกัน: เมื่อมีหลายหน้าเว็บที่เนื้อหาใกล้เคียงกัน ให้พิจารณารวมเนื้อหาเหล่านั้นเข้าด้วยกันเป็นหน้าเดียวที่ครอบคลุมและแข็งแกร่งกว่า
  • ปรับเปลี่ยน Keyword และ Title: ปรับ Primary Keyword ของแต่ละหน้าให้แตกต่างกัน เพื่อให้ทุกหน้ามีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงและไม่ซ้ำซ้อน
  • ใช้การเปลี่ยนเส้นทาง (301 Redirect): หากพบว่ามีหลายหน้าเว็บไซต์แข่งขันกันเอง ให้ใช้การเปลี่ยนเส้นทาง 301 เพื่อนำ Traffic ไปยังหน้าหลักที่ต้องการให้จัดอันดับสูงสุด
  • สร้าง Internal Links ให้แนบเนียน: ใช้การเชื่อมโยงภายในเพื่อสนับสนุนหน้าเว็บที่คุณต้องการให้จัดอันดับสูงสุด โดยเชื่อมโยงจากหน้าที่เกี่ยวข้องหรือหน้าเว็บที่มีเนื้อหาคล้ายกัน
  • อัปเดตและปรับปรุงเนื้อหา: หากมีหน้าที่มีประสิทธิภาพต่ำ ให้พิจารณาปรับปรุงหรือขยายเนื้อหาให้ตรงกับ Keyword มากขึ้น
  • ตรวจสอบและติดตามผล: ใช้เครื่องมือ SEO เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์ของการแก้ไข Keyword Cannibalization และปรับปรุงตามความจำเป็น

กระจายการใช้ Keyword (Keyword Mapping): เป็นการวางแผนกระจายคีย์เวิร์ดไปยังหน้าเนื้อหาต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิด Keyword Cannibalization โดยสร้าง Content Sheet เพื่อบันทึก Keyword ที่ใช้งานแล้ว จะช่วยป้องกันการใช้ซ้ำ และทำให้การทำ On-Page SEO มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เมื่อคุณรู้แล้วว่า Keyword Cannibalization เกิดจากการที่หลายหน้าเว็บในเว็บไซต์เดียวกัน แข่งขันกันเองด้วย Keyword เดียวกัน ทำให้ประสิทธิภาพของ SEO ลดลง บางครั้งทำให้เสียโอกาสดึงดูดผู้เข้ารับชมมายังเว็บไซต์ ถือเป็นความพยายามในการทำ SEO สูญเปล่าไปเลยทีเดียว ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา Keyword Cannibalization และเพิ่มประสิทธิภาพ SEO เราขอแนะนำให้คุณเลือกใช้บริการจาก Search Studio เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ SEO ที่พร้อมช่วยคุณวางกลยุทธ์ Keyword ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตในโลกออนไลน์ได้อย่างมั่นคงและประสบความสำเร็จ

Written By

ด้วยใจรักในการพบเจอสิ่งใหม่และความสนใจในด้านการตลาด จึงกระโดดมาเข้าสายงาน SEO และพบว่า SEO เป็นเรื่องสนุกและมีสิ่งใหม่ให้ทำความเข้าใจอยู่เสมอ ทั้งกลยุทธ์การพิชิตอันดับบน Search Engine ความรู้ใหม่ๆ ที่ต้องคอยอัปเดต รวมถึง Tools ที่ช่วยในการทำงานอย่างน่าทึ่ง แต่ชีวิตก็ยังรายล้อมไปด้วยท้องฟ้าหลากสี ซีรีส์น่าติดตาม เพลงสุดโปรด และความน่ารักของสัตว์โลกที่เต็มหน้าฟีด ขอให้ทุกคนได้พบสิ่งฮีลใจในทุกเช้า :)
Views
Recommend Article

รับคำปรึกษา
SEO ฟรี!

ตรวจสถานะ SEO ของเว็บไซต์ของคุณ ฟรี พร้อมคำแนะนำจาก SEO Specialist ของเรา มูลค่า 35,000 บาท

มีจำนวนจำกัด เท่านั้น ติดต่อเราเลย

Let’s talk

Got an idea in your mind? Pop your info into our form
and we will get back to you shortly.